โครงการวิจัยและพัฒนาชุมชนต้นแบบด้านสุขภาวะ บนฐานความมั่นคงทรัพยากรทางอาหารและทรัพยากรธรรมชาติ ในลุ่มน้ำโขง และความสามารถในการปรับตัวจากปัจจัยเสี่ยงด้านภัยพิบัติ

โครงการวิจัยและพัฒนาชุมชนต้นแบบด้านสุขภาวะ บนฐานความมั่นคงทรัพยากรทางอาหารและทรัพยากรธรรมชาติ ในลุ่มน้าโขง และความสามารถในการปรับตัวจากปัจจัยเสี่ยงด้านภัยพิบัติ ได้ดำเนินงานมาตั้งแต่เดือนมกราคม 2562 และสิ้นสุดโครงการในเดือนธันวาคม 2563 โครงการนี้ดำเนินการร่วมกับชุมชนริมแม่น้ำโขงและแม่น้ำสงครามจำนวน 22 ชุมชน (และมีคณะที่ปรึกษาในระดับจังหวัดได้ให้การสนับสนุนในกระบวนการทางาน) ภายใต้งานวิจัยเชิงปฏิบัติการที่เป็นความร่วมมือร่วมใจของทีมวิจัยชุมชนในทุก ๆ พื้นที่ โดยมีสถานการณ์ใหญ่ที่ต้องเผชิญหน้าร่วมกันคือ การเปลี่ยนแปลงของแม่น้ำโขงที่ผิดธรรมชาติและความแปรปรวนของฤดูกาล งานวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้เป็นส่วนหนึ่งการค้นหาคาตอบของโดยชุมชนเอง ในการน้ำความรู้ของชุมชน และผสานความรู้และการสนับสนุนจากภาคีต่าง ๆ มากำหนดแนวทางการปรับตัวให้สอดคล้องกับศักยภาพที่เป็นจริงของชุมชนในเวลานั้น และได้ปรากฏเป็น “แผนปฏิบัติการชุมชนต้นแบบ” ที่มีความหลากหลายไปตามแต่ละพื้นที่ ซึ่งมีชุมชนที่มีเงื่อนไขพร้อมดำเนินการตามแผนปฏิบัติการชุมชนต้นแบบต่อเนื่องในปี 2563 รวม 17 ชุมชน  การดำเนินงานตลอดระยะเวลา 2 ปีนี้ โครงการฯ ขอขอบคุณหน่วยงานที่เป็นผู้สนับสนุนหลักคือ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และ มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน นอกจากนี้ยังมีภาคีเครือข่าย ที่ได้สนับสนุนการทำงานในโอกาสต่าง ๆ ได้แก่ สมาคมเครือข่ายสภาองค์กรชุมชนลุ่มน้าโขง 7 จังหวัดภาคอีสาน, สำนักบริหารนโยบายของนายกรัฐมนตรี (สบนร.), กรมประมง, องค์การบริหารส่วนตำบลพระกลางทุ่ง อ.ธาตุพนม จ.นครพนม, องค์การบริหารส่วนตาบลป่งขาม อ.หว้านใหญ่ จ.มุกดาหาร, … Continue reading โครงการวิจัยและพัฒนาชุมชนต้นแบบด้านสุขภาวะ บนฐานความมั่นคงทรัพยากรทางอาหารและทรัพยากรธรรมชาติ ในลุ่มน้ำโขง และความสามารถในการปรับตัวจากปัจจัยเสี่ยงด้านภัยพิบัติ

Mekong Crinum Lily Fates on Nursery Trays (EP.1)

“Plab Plueng Than” (Mekong Crinum Lily or Crinum viviparum) is what some Mekong riparian locals refer to as “Bua” (waterlily). This waterlily or crinum lily is prevalent in Thailand and is also endemic to other areas in Asia, for example, the Indian subcontinent and the Southeast Asia e.g. Laos, Burma, etc. They are found in … Continue reading Mekong Crinum Lily Fates on Nursery Trays (EP.1)

ศาลจังหวัดนครปฐมสืบพยานครั้งสุดท้าย คดีบริษัทเหมืองไทยในพม่าฟ้อง อดีต บก. GreenNews เสร็จสิ้น – นัดฟังคำพิพากษา 12 ก.ค. นี้

"ศาลจังหวัดนครปฐมสืบพยานครั้งสุดท้าย คดีบริษัทเหมืองไทยในพม่าฟ้อง อดีต บก. สำนักสิ่งแวดล้อม GreenNews เสร็จสิ้น - นัดฟังคำพิพากษา 12 ก.ค. นี้ " เมื่อวันที่ 10-11 พ.ค. 2566 ที่ผ่านมา นายปรัชญ์ รุจิวนารมย์ พร้อมด้วยทนายความ ได้เดินทางไปยังศาลจังหวัดนครปฐม ในเวลา 9.00 น. เพื่อให้คำเบิกความในขั้นตอนการสืบพยานฝ่ายจำเลย หลังจากที่ก่อนหน้านี้ได้มีการสืบพยานฝ่ายโจทก์คืออัยการจังหวัดนครปฐม และโจทก์ร่วมคือตัวแทนบริษัทเมียนมา พงษ์พิพัทธ์ จำกัด โดยคดีนี้มีที่มาจากการที่“บริษัท เมียนมาร์ พงษ์พิพัทธ์ จำกัด” ซึ่งเป็นบริษัทเหมืองแร่ไทยในเมียนมาได้แจ้งความต่อ “นายปรัชญ์ รุจิวนารมย์” บรรณาธิการสำนักข่าวสิ่งแวดล้อมในขณะนั้น ในข้อกล่าวหาหมิ่นประมาทผู้อื่นโดยการโฆษณา อันเกี่ยวข้องกับการรายงานข่าวเรื่อง ‘ศาลพม่าสั่งบริษัทเหมืองแร่ไทยชดใช้ชาวบ้านทวาย 2.4 ล้านบาท เหตุเหมืองดีบุกทำสิ่งแวดล้อมพัง’ เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2563 ซึ่งเผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ของทางสำนักข่าว โดยมีอัยการจังหวัดนครปฐมเป็นโจทก์ และทางบริษัทเป็นโจทก์ร่วม ในการสืบพยานครั้งนี้ ศาลจังหวัดนครปฐมได้สืบพยานฝ่ายจำเลยทั้งสิ้น 4 ราย … Continue reading ศาลจังหวัดนครปฐมสืบพยานครั้งสุดท้าย คดีบริษัทเหมืองไทยในพม่าฟ้อง อดีต บก. GreenNews เสร็จสิ้น – นัดฟังคำพิพากษา 12 ก.ค. นี้

Plights in the Mekong River and Policy Recommendations

1. Mekong River’s Plights There are several critical issues in the Mekong River such as unseasonal water currents and the disappearance of sediment loads caused by hydropower dam constructions in the Mekong Basin. These constructions in the mainstream river, throughout China and Laos and its tributaries in Laos (including Cambodia, Thailand, and Vietnam), have negatively … Continue reading Plights in the Mekong River and Policy Recommendations

ชะตากรรมบนถาดเพาะเลี้ยงของพลับพลึงธารแม่น้ำโขง (ตอน 2)

พลับพลึงธารแม่น้ำโขง(Crinum viviparum) เป็นพืชที่เกิดในนิเวศแบบจำเพาะ คือบริเวณโขดหินริมน้ำโขงที่มีทรายปน สามารถอยู่ใต้น้ำได้ตลอดฤดูน้ำหลาก ดอกพลับพลึงธารจะบานตลอดฤดูแล้ง 1 กอ สามารถออกดอกได้มากกว่า 1 ช่อ และเกินกว่า 1 รอบ เมื่อดอกผลัดแรกเหี่ยวไป ดอกผลัดใหม่ก็พร้อมบาน จนฤดูน้ำหลากมาถึง กอพลับพลึงธารจะจมอยู่ใต้น้ำอีกครั้ง  การสำรวจและรวบรวมข้อมูล พลับพลึงธารแม่น้ำโขง เบื้องต้น ในระหว่างเดือนธันวาคม 2563 ถึง เดือนมกราคม 2566 ในเขตอำเภอเชียงคาน ปากชม จังหวัดเลย และอำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย ได้พบพลับพลึงธารแม่น้ำโขงเกิดกระจาย ตั้งแต่บ้านห้วยซวก อ.เชียงคาน ขึ้นไปจนถึงบ้านม่วง อ.สังคม ในพื้นที่รวม 8 แห่งได้แก่ หาดจอมนาง, แก่งฟ้า, คกไผ่, แก่งจันทร์, แก่งหัวดอน, ก้อนบ่อง-ก้อนขอนค้าง, หนองปลาบึก และก้อนเล้าข้าว (ดูตำแหน่งได้ในแผนที่ประกอบ) พบกอพลับพลึงธารแม่น้ำโขงรวมกันอย่างน้อย 391 กอ ในแต่ละกอ อาจจะมีตั้งแต่ต้นเดียวไปจนถึง 50 ต้นในกอเดียวกัน ขึ้นกับอายุและความสมบูรณ์ของแต่ละกอ ความหลากหลายของลักษณะรูปร่างภายนอกได้ปรากฏให้เห็น 2 ประการ คือ จำนวนหลอดกลีบดอกที่มีจำนวนแตกต่างกัน (แม้ว่าจะเกิดในกอเดียวกันก็ตาม) … Continue reading ชะตากรรมบนถาดเพาะเลี้ยงของพลับพลึงธารแม่น้ำโขง (ตอน 2)

PPA รีดเลือดกับปู: หนึ่งร้อยปีแห่งความโดดเดี่ยวของปูที่ต้องจ่าย

ตลอดระยะเวลาของการลงนามซื้อไฟฟ้าของไทย จากเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำบนแม่น้ำโขงในสปป.ลาว ตั้งแต่ เขื่อนไซยะยุรี, เขื่อนหลวงพระบาง และเขื่อนปากลายนั้น เกิดขึ้นท่ามกลางคำถามถึงความจำเป็นด้านพลังงานไฟฟ้าของไทย และความสูญเสียต่อระบบนิเวศแม่น้ำโขงและชุมชนลุ่มน้ำโขง เพราะทุกครั้งของการลงนาม ไทยมีไฟฟ้าสำรองในระบบเกินมาตรฐาน 15% ไปมากถึง 40-50% ประกอบกับกระบวนการตัดสินใจคัดเลือก และการเจรจาเงื่อนไขการรับซื้อไฟฟ้า จนได้มาซึ่ง “สัญญาซื้อขายไฟฟ้า” นั้น (หรือ PPA: Power Purchase Agreement) ไม่ได้อิงกฏหมายจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ไม่ได้อิงกับระเบียบว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และไม่ได้อิงกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญหมวดสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทยและหน้าที่ของรัฐ  แม้กระทั่งกลไกถ่วงดุลตรวจสอบของรัฐสภา ยังไม่สามารถเข้าถึงและตรวจสอบกระบวนการตัดสินใจหรือข้อมูลในสัญญาซื้อขายไฟฟ้านี้ได้ จึงส่งผลให้การลงนาม PPA ทั้งสามครั้งที่ผ่านมา เป็นการตัดสินใจของภาครัฐเพียงฝ่ายเดียวโดยสมบูรณ์  แม้บริษัทต่าง ๆ ของไทย จะเป็นผู้ได้รับสัมปทานก่อสร้างเขื่อนและได้เงินกู้จากธนาคารของไทย จนสามารถลงนามขายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้นั้น แต่จุดเริ่มของกระบวนการนี้นั้น บริษัททั้งหลายของไทย ไม่สามารถยื่นข้อเสนอขายไฟฟ้าให้กับ กฟผ. ได้โดยตรง ต้องอาศัยรัฐบาลสปป.ลาว เป็นผู้เสนอขายไฟฟ้า ภายใต้กรอบบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding: MOU) เรื่องความร่วมมือในการพัฒนาไฟฟ้าในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (บันทึกความเข้าใจฯ) ซึ่งมีการลงนามเป็นลำดับดังนี้ 1.  ครั้งที่หนึ่ง วันที่ 6 มิถุนายน 2536 กำหนดจำหน่ายไฟฟ้าให้ไทยในปริมาณ 1,500เมกะวัตต์  2.  ครั้งที่สอง วันที่ 19 มิถุนายน 2539 กำหนดจำหน่ายไฟฟ้าให้ไทยในปริมาณ 3,000เมกะวัตต์  3.  ครั้งที่สาม วันที่ 18 ธันวาคม 2549 กำหนดจำหน่ายไฟฟ้าให้ไทยในปริมาณ 5,000เมกะวัตต์  4. ครั้งที่สี่ วันที่ 22 ธันวาคม 2550 กำหนดจำหน่ายไฟฟ้าให้ไทยในปริมาณ 7,000 เมกะวัตต์ ต่อมามีการลงนาม PPA ซื้อไฟฟ้าจากเขื่อนไซยะยุรี ในวันที่ 29 ตุลาคม 2554 และเริ่มจ่ายไฟฟ้าให้ไทยเป็นทางการเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2562 5.  ครั้งที่ห้า วันที่ 6 กันยายน 2559 กำหนดจำหน่ายไฟฟ้าให้ไทยในปริมาณ 9,000 เมกะวัตต์ 6.  ครั้งที่หก มติคณะรัฐมนตรี … Continue reading PPA รีดเลือดกับปู: หนึ่งร้อยปีแห่งความโดดเดี่ยวของปูที่ต้องจ่าย

แถลงการณ์ 46 องค์กรภาคประชาสังคมต่อกรณีที่รัฐไทยผลักดันผู้ลี้ภัยของกองกำลังปกป้องประชาชนให้กับเผด็จการทหารเมียนมา

คณะเผด็จการทหารเมียนมาที่ขึ้นสู่อำนาจโดยการรัฐประหาร ยึดอำนาจรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ทำลายการยืนยันถึงอำนาจสูงสุดของประชาชนชาวเมียนมาทั้งปวงแทนที่จะเป็นรัฐบาลเอกภาพแห่งชาติ หรือ National Unity Government: NUG ที่เป็นตัวแทนของประชาชนที่สนับสนุนอุดมการณ์ประชาธิปไตย รายงานจากสมาคมช่วยเหลือนักโทษการเมืองระบุว่า ณ วันที่ 10 เมษายน 2566 มีประชาชนถูกจับกุมคุมขัง รวมทั้งสิ้น 21,300 คน และถูกสังหารไปแล้วกว่า 3,229 นับตั้งแต่เกิดการรัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564  ประชาชนเมียนมาได้รวมกลุ่มก่อตั้งกองกำลังปกป้องประชาชน (People Defense Force :PDF) ขึ้นเพื่อต่อต้านการรัฐประหารของเผด็จการทหารเมียนมา  ต่อมาเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2566 สำนักข่าวหลายแห่งของเมียนมารายงานตรงกันว่าหน่วยงานภาครัฐ โดยสำนักงานตำรวจตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) ของไทยได้ทำการจับกุมทหารของกองกำลังปกป้องประชาชน (People Defense Force: PDF) ที่ออกมาต่อต้านการรัฐประหารของคณะเผด็จการทหารเมียนมาจำนวน 3 นาย ให้กับคณะเผด็จการทหารเมียนมาผ่านการส่งมอบตัวให้กับกองกำลังพิทักษ์ชายแดน (Border Guard Force: BGF) ที่ด่านชายแดนไทย - เมียนมา ปัจจุบันพบทราบว่าทั้ง … Continue reading แถลงการณ์ 46 องค์กรภาคประชาสังคมต่อกรณีที่รัฐไทยผลักดันผู้ลี้ภัยของกองกำลังปกป้องประชาชนให้กับเผด็จการทหารเมียนมา

727 รายชื่อยื่นฟ้อง ประยุทธ์ จัดการ PM 2.5 ไร้ประสิทธิภาพ

ประชาชน 727 คน สนับสนุนยื่นฟ้อง ‘ประยุทธ์’ ต่อศาลปกครองเชียงใหม่ กรณีการจัดการฝุ่น PM 2.5 ไร้พรมแดน ประชาสังคมชี้ ก.ล.ต. คณะกรรมการกำกับตลาดทุนต้องเร่งกำกับดูแล กำหนดมาตรการและบทลงโทษที่ชัดเจนต่อกลุ่มทุนไทย สกัดต้นตอการดำเนินธุรกิจที่ไม่เป็นมิตรกับสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อม เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2566 เครือข่ายประชาชนภาคเหนือ นักวิชาการคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นพ.รังสฤษฎ์ กาญจนะวณิชย์ สภาลมหายใจเชียงใหม่ สภาลมหายใจภาคเหนือ เด็ก และประชาชน รวม 10 ราย ได้ร่วมกันยื่นฟ้อง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และคณะกรรมการกำกับตลาดทุน โดยมีประชาชนมาร่วมลงชื่อสนับสนุนฟ้อง 727 คน ซึ่ง เป็นประชาชนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดในภาคเหนือ และจังหวัดอื่นๆ พวกเขาเห็นว่า มลพิษทางอากาศจาก PM 2.5 มีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสุขภาพ สิ่งแวดล้อม และสิทธิมนุษยชน ได้ยื่นคำฟ้องต่อศาลปกครองเชียงใหม่ แผนกคดีสิ่งแวดล้อม … Continue reading 727 รายชื่อยื่นฟ้อง ประยุทธ์ จัดการ PM 2.5 ไร้ประสิทธิภาพ

การเปลี่ยนแปลงระดับแม่น้ำโขงจากอ่างเก็บน้ำเขื่อนปากแบ่ง

ประมวลโดย มนตรี จันทวงศ์กลุ่มเสรีภาพแม่น้ำโขง (The Mekong Butterfly)5 เมษายน 2566 การเปลี่ยนแปลงระดับแม่น้ำโขงจากอ่างเก็บน้ำเขื่อนปากแบ่ง โครงการเขื่อนปากแบ่ง ที่จะสร้างกั้นแม่น้ำโขงในประเทศสปป.ลาว ห่างจากชายแดนไทยบริเวณแก่งผาได อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงรายลงไปประมาณ 90 กิโลเมตร จนถึงปัจจุบันเพียงรอขั้นตอนสุดท้าย คือการลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ก็จะเริ่มดำเนินการก่อสร้างได้ แต่จนถึงปัจจุบัน ยังไม่มีการศึกษาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ว่าระดับน้ำท่วมที่ระดับเก็บกัก 340 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง (ม.รทก.) และระดับน้ำเท้อ อันเนื่องมาจากอ่างเก็บน้ำของเขื่อนปากแบ่ง จะส่งผลต่อระดับน้ำโขงในเขตประเทศไทยอย่างไร และรวมทั้งแนวเขตแดนระหว่างประเทศในแม่น้ำโขง จะเกิดการเปลี่ยนแปลงมากน้อยเพียงใด เพื่อแลกกับการซื้อไฟฟ้าจากเขื่อนปากแบ่งเพียง 897 เมกะวัตต์ ในขณะที่ภาระไฟฟ้าสำรองในระบบสูงกว่า 50% ในปัจจุบัน เอกสารนี้จะทำการสำรวจการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบที่จะเกิดขึ้น จากอ่างเก็บน้ำเขื่อนปากแบ่ง ที่ระดับเก็บกัก 340 ม.รทก. จากการสำรวจข้อมูลเส้นระดับความสูงจากแผนที่ 1:50000 เส้นระดับความสูง 340 ม.รทก. จะเลาะขอบตลิ่งแม่น้ำโขง วกเข้าน้ำสาขา เช่น น้ำงาว (ซึ่งไม่แสดงเส้นระดับความสูงในแผนที่) และน้ำอิง (เส้นระดับความสูงไปวกกลับที่บ้านทุ่งอ่าง) และเส้นระดับความสูงในแม่น้ำโขงไปสิ้นสุดที่รอยต่อบ้านโจโก้กับบ้านดอนชัย … Continue reading การเปลี่ยนแปลงระดับแม่น้ำโขงจากอ่างเก็บน้ำเขื่อนปากแบ่ง

เหตุผล 3 ประการที่สหรัฐฯ ล้มเหลวในการดำเนินการเมื่ออุตสาหกรรมเชื้อเพลิงฟอสซิลได้ให้การสนับสนุนเงินทุนอาชญากรรมร้ายแรงต่อมวลมนุษยชาติครั้งใหญ่ในเมียนมา

แปลและเรียงเรียงโดย ธีระชัย ศาลเจริญกิจถาวร จากบทความ "THREE REASONS THE U.S. FAILS TO ACT AS THE FOSSIL FUEL INDUSTRY BANKROLLS MASS ATROCITIES IN MYANMAR" เขียนโดย เคิร์ก เฮอร์เบิร์ตสัน (Kirk Herbertson) https://earthrights.org/blog/three-reasons-the-u-s-fails-to-act-as-the-fossil-fuel-industry-bankrolls-mass-atrocities-in-myanmar/ "เหตุผล 3 ประการที่สหรัฐฯ ล้มเหลวในดำเนินการเมื่ออุตสาหกรรมเชื้อเพลิงฟอสซิลได้ให้การสนับสนุนเงินทุนอาชญากรรมร้ายแรงต่อมวลมนุษยชาติครั้งใหญ่ในเมียนมา" 20 มีนาคม 2566 เคิร์ก เฮอร์เบิร์ตสัน เดเร็ก โชเลต ที่ปรึกษากระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ เดินทางเยือนไทยในสัปดาห์นี้ "เพื่อจัดการกับวิกฤตการณ์ที่เลวร้ายลงในเมียนมา" ในขณะที่คณะเผด็จการทหารหันไปใช้การโจมตีทางอากาศและการโจมตีด้วยปืนใหญ่ต่อพลเรือนมากขึ้น ที่ปรึกษาโชเลต รู้ดีว่าชาวเมียนมายังคงประท้วงการระดมทุนของอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงฟอสซิลจากรัฐบาลทหารที่โหดร้ายของเมียนมา และเรียกร้องให้รัฐบาลสหรัฐฯ ลงโทษการเข้าถึงรายได้จากก๊าซของรัฐบาลทหาร ผู้ประท้วงเหล่านี้เสี่ยงออกไปตามท้องถนนในภูมิภาคสะกาย เพียงไม่กี่วันหลังจากพบศพ 16 คนที่ถูกคณะเผด็จการทหารลักพาตัวไปโดยมีร่องรอยของการข่มขืนและการทรมาน ที่ปรึกษาโชเลตควรฟังพวกเขา นอกจากนี้ คณะเผด็จการทหารยังได้เพิ่มการโจมตีทางอากาศและการโจมตีด้วยปืนใหญ่ต่อพลเรือน ในขณะเดียวกัน อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงฟอสซิลระหว่างประเทศยังคงชำระเงินรายเดือนหลายร้อยล้านดอลลาร์สหรัฐไปยังบัญชีธนาคารที่ถูกยึดครองโดยคณะเผด็จการทหาร … Continue reading เหตุผล 3 ประการที่สหรัฐฯ ล้มเหลวในการดำเนินการเมื่ออุตสาหกรรมเชื้อเพลิงฟอสซิลได้ให้การสนับสนุนเงินทุนอาชญากรรมร้ายแรงต่อมวลมนุษยชาติครั้งใหญ่ในเมียนมา