รอยต่อระหว่างทุ่งนา ป่าชายเลน และทะเล โดยมุมมองจากเทือกเขาพะลึน, เมืองเย, รัฐมอญ, ประเทศเมียนมา
ด้านหลังของทุ่งนาคือเทือกเขาพะลึน โดยฤดูการดำนาจะเริ่มช่วงเดือนสิงหาคมของทุกปี
ข้าวที่ชาวบ้านนิยมปลูกที่สุดคือข้าวท้องถิ่นเมล็ดใหญ่ นอกจากนั้นยังมีข้าวท้องถิ่นเมล็ดเล็ก ข้าวเหนียวจากประเทศไทย และปัจจุบันเริ่มปลูกข้าวหอมมะลิอีกด้วย
“ปึ๊ก” คือภาชนะคล้ายกระบุง ใช้เพื่อบรรจุข้าว โดยการใช้ปึ๊กตวงข้าวจะได้ 1 ปึ๊ก เท่ากับข้าว 40 ลิตร หรือ 2 ปี๊บ
ลานตากหมากที่มีผลหมากหลากสีสันสะดุดตาราวลูกกวาด ผลผลิตจากสวนหมากในหมู่บ้านอันแตง
ลานอนุบาลต้นหมากอ่อน จะอยู่บริเวณลานโล่งข้างบ้านเพื่อให้ต้นหมากโดนแดดรำไร เมื่อรากแข็งแรงขึ้นจะนำไปปลูกในสวนที่เตรยมไว้ต่อไป
ชาวบ้านกำลังผ่าหมากตากแห้งในหมู่บ้านอันแตง
การเก็บหมากตากแห้งในเรือนพัก ส่วนหนึ่งเพื่อบรโภค และอีกส่วนเพื่อนำออกขาย นับได้ว่าหมากเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของหมู่บ้านอันแตง
ป่าชายเลนที่มีพืชพรรณหนาแน่น, เมืองเย, รัฐมอญ, ประเทศเมียนมา
พื้นที่หาดเลนติดทะเลอันดามัน, เมืองเย, รัฐมอญ, ประเทศเมียนมา
การทำประมงพื้นบ้านในบริเวณเทือกเขาพะลึน, เมืองเย, รัฐมอญ, ประเทศเมียนมา
ชาวประมงในหมู่บ้านหนึ่งบริเวณเทือกเขาพะลึนกำลังนำปลาที่จับได้มาตากแห้ง, เมืองเย, รัฐมอญ, ประเทศเมียนมา
ราวตากปลาหัวยุ่งบริเวณชุมชนชาวประมงหมู่บ้านกว๊านตะมอปึย
ลานตากปลาโดยกลุ่มผู้หญิงที่มีหน้าที่คัดแยกเพื่อนำไปขายเป็นปลาแห้งได้ในราคาสูงกว่าปลาสด
ลานและราวตากปลาบริเวณชายฝั่งหมู่บ้านกว๊านตะมอปึย
การหาปลาน้ำจืดบริเวณเทือกเขาพะลึน
Like this:
Like Loading...
Related