รายงานฉบับนี้สรุปโดย The Mekong Butterfly
การเริ่มต้นของการเปิดใช้งานเขื่อนไซยะบุรีในวันที่ 29 ตุลาคม 2562 ที่ผ่านมา ได้สร้างจุดเปลี่ยนระบบนิเวศแม่น้ำโขงตอนล่าง พร้อม ๆ กับการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศแม่น้ำโขง อย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในทันทีที่มีการเปิดใช้งานเขื่อนไซยะบุรี ด้วยปรากฎการณ์ “น้ำโขงใส ไร้ตะกอน” ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2562 จนเข้าสู่ต้นปี 2563 จนถึงเดือนเมษายน ปรากฎการณ์นี้เห็นได้ชัดเจนในแม่น้ำโขงด้านท้ายน้ำเมื่อไหลเข้าสู่พรมแดนไทย-ลาว ในเขตอำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย ลงไปตามลำน้ำโขงจนถึงเขตอำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี รวมระยะทางกว่า 800 กิโลเมตร และเมื่อเข้าสู่ช่วงปลายปี 2563 ปรากฎการณ์น้ำโขงใส ไร้ตะกอน ได้ปรากฏขึ้นอีกครั้งในช่วงกลางเดือนพฤศจิกายน 2563 นับเป็นปรากฎการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ก่อนการเปิดใช้งานเขื่อนไซยะบุรี ชาวประมงในทุกจังหวัดติดแม่น้ำโขงของประเทศไทย ระบุตรงกันว่า สภาวะน้ำโขงใส ไร้ตะกอน ในอดีตจะเกิดในช่วงเวลาสั้น ๆ ประมาณ 2-3 เดือน คือระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายนของทุกปีเท่านั้น
ดังนั้นปรากฎการณ์ใหม่ของแม่น้ำโขง คือ “หัวปี ท้ายปี กับ น้ำโขงใส ไร้ตะกอน” จะสร้างผลกระทบต่อนิเวศแม่น้ำโขงที่มีความซับซ้อนมากขึ้น เมื่อพิจารณาร่วมกับผลกระทบที่เกิดจากการปล่อยน้ำของเขื่อนในจีนและเขื่อนบนลำน้ำสาขา รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงด้านสภาพภูมิอากาศ
กลุ่มเสรีภาพแม่น้ำโขงได้ติดตามการเปลี่ยนแปลงของนิเวศแม่น้ำโขง และผลกระทบต่อเนื่องที่เกิดขึ้นกับแม่น้ำโขงและชุมชมที่อาศัยอยู่ริมน้ำโขงและน้ำสาขา รวมทั้งการติดตามสถานการณ์การจัดการน้ำของเขื่อนต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลโดยตรงต่อการเปลี่ยนแปลงนิเวศแม่น้ำโขง โดยสรุปได้ดังนี้
- ภาพรวมของระบบนิเวศแม่น้ำโขง และการพึ่งพาของชุมชน
- ภาพรวมการเปลี่ยนแปลงการไหลของแม่น้ำโขงปี 2563
- ผลกระทบแม่น้ำโขงปี 2563
- เขื่อนไซยะบุรี: ความเสี่ยงยังอยู่กับระบบนิเวศและชุมชน จากการพยากรณ์น้ำโขงผิดพลาด
- แนวโน้มสถานการณ์ต่อระบบนิเวศและชุมชนลุ่มน้ำโขง ในปี 2564
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ลิ้งค์ด้านล่าง