ประชาชน 727 คน สนับสนุนยื่นฟ้อง ‘ประยุทธ์’ ต่อศาลปกครองเชียงใหม่ กรณีการจัดการฝุ่น PM 2.5 ไร้พรมแดน ประชาสังคมชี้ ก.ล.ต. คณะกรรมการกำกับตลาดทุนต้องเร่งกำกับดูแล กำหนดมาตรการและบทลงโทษที่ชัดเจนต่อกลุ่มทุนไทย สกัดต้นตอการดำเนินธุรกิจที่ไม่เป็นมิตรกับสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อม เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2566 เครือข่ายประชาชนภาคเหนือ นักวิชาการคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นพ.รังสฤษฎ์ กาญจนะวณิชย์ สภาลมหายใจเชียงใหม่ สภาลมหายใจภาคเหนือ เด็ก และประชาชน รวม 10 ราย ได้ร่วมกันยื่นฟ้อง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และคณะกรรมการกำกับตลาดทุน โดยมีประชาชนมาร่วมลงชื่อสนับสนุนฟ้อง 727 คน ซึ่ง เป็นประชาชนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดในภาคเหนือ และจังหวัดอื่นๆ พวกเขาเห็นว่า มลพิษทางอากาศจาก PM 2.5 มีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสุขภาพ สิ่งแวดล้อม และสิทธิมนุษยชน ได้ยื่นคำฟ้องต่อศาลปกครองเชียงใหม่ แผนกคดีสิ่งแวดล้อม … Continue reading 727 รายชื่อยื่นฟ้อง ประยุทธ์ จัดการ PM 2.5 ไร้ประสิทธิภาพ
Category: กัมพูชา
แม่น้ำโขงต้องคำสาปทรัพยากร (Resource Curse) หรือไม่ ไม่มีใครสามารถบอกได้ แต่ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและระบบนิเวศของแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นหลักประกันความมั่นคงของสรรพชีวิตทั้งปวง และการดำรงอยู่ของชุมชนลุ่มน้ำโขงหลากหลายชาติพันธุ์มาอย่างยาวนานนั้น ได้ถูกใช้ไปในมิติใหม่ นั่นคือแปรผันความอุดมสมบูรณ์ทั้งปวงที่มีอยู่ให้กลายเป็นไฟฟ้า ผ่านสิ่งก่อสร้างที่เรียกว่า “เขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ” และทำลายหลักประกันความมั่นคงของสรรพชีวิตทั้งหลายออกไป ระยะเวลาเพียงผีเสื้อกระพือปีกของประวัติศาสตร์การกำเนิดเขื่อนบนแม่น้ำโขง ตั้งแต่ปี 2536 เป็นต้นมา ที่ประเทศจีนได้เริ่มสร้างและเดินเครื่องเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนแรกคือ เขื่อนม่านวาน ที่สร้างแรงกระชากต่อวัฏจักรน้ำโขงครั้งรุนแรง นั่นคือปรากฏการณ์น้ำโขงแห้ง วัดค่าได้ต่ำมากและจนถึงวัดค่าไม่ได้ ที่สถานีเชียงแสนใน 2 ช่วงเวลาคือ ระหว่างวันที่ 19-26 เมษายน ระดับน้ำโขงอยู่ระหว่าง 0.88-1.0 เมตร และ ระหว่างวันที่ 26-28 พฤษภาคม 2536 ระดับน้ำโขงอยู่ระหว่าง 0 – 0.23 เมตร ซึ่งปรากฏการณ์นี้ทั้งคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (Mekong River Commission) และประเทศลุ่มน้ำโขงตอนล่างพร้อมใจกันเรียกว่า “ภัยแล้ง” เหมือนว่าวิกฤตินี้เป็นเพียงปรากฏการณ์ทางธรรมชาติอันธรรมดาสามัญ จนถึงปัจจุบัน ประเทศจีนได้สร้างเขื่อนบนแม่น้ำโขงแล้วเสร็จจำนวน 11 เขื่อน โดยไม่เคยแสดงเจตจำนงที่จะปรึกษาหารือใด ๆ กับประเทศลุ่มน้ำโขงตอนล่าง … Continue reading เขื่อนจีนกับ 12 ปี แห่งการขโมยน้ำโขง: อาการหน้าไหว้หลังหลอก (两面三刀) ของคนเห็นแก่ตัว (自私自利) ของจีนต่อรัฐบาลประเทศลุ่มน้ำโขงตอนล่าง
เรื่องและภาพ โดย ธีระชัย ศาลเจริญกิจถาวร ศูนย์ปฏิบัติการวิชาการ ถุงปุ๋ยชีวภาพ และกองขวดสารเคมีเกลื่อนกลาด ที่มีข้อความกำกับและอธิบายเป็นภาษาไทยนี้ข้ามเขตแดนไทยมาปรากฏอยู่บนพื้นที่กว้างไกลสุดลูกหูลูกตา ที่แต่เดิมเต็มไปด้วยอ้อยจำนวนมากมายมหาศาลกว่าเกือบ 20,000 เฮกตาร์ ในพื้นที่อำเภอสเรอัมเบล จังหวัดเกาะกง ประเทศกัมพูชา ซึ่งเป็นพื้นที่สัมปทานเพื่อปลูกอ้อยและจัดตั้งโรงงานน้ำตาลของบริษัท เกาะกงการเกษตร จำกัด (Koh Kong Plantation Company Limited : KPT) และ บริษัท น้ำตาลเกาะกง จำกัด (Koh Kong Sugar Industry Company Limited : KSI) บริษัทย่อยของบริษัท น้ำตาลขอนแก่น จำกัด (มหาชน) ทุนน้ำตาลที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของไทย ซึ่งเข้ามาปักหลักลงทุนในพื้นที่นี้ตั้งแต่ปี 2549 จนถึงปัจจุบัน โดยมีมูลค่าการลงทุนรวมกว่า 2,000 ล้านบาท แต่น่าแปลกที่สภาพของอาคารศูนย์ปฏิบัติการ และสิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ เช่น อาคารสำนักงาน บ้านพักคนงาน … Continue reading โรงงานร้าง ศูนย์ปฏิบัติการฯ อันว่างเปล่า และความรับผิดชอบที่ตกค้างของทุนน้ำตาลไทยในเกาะกง
ชวนอ่านรายงานการศึกษาล่าสุดของ The Mekong Butterfly "ต้นทุนที่ถูกซ่อนภายใต้ข้อจำกัดด้านธรรมาภิบาลและความรับผิดชอบ ของโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำบนแม่น้ำโขง: 9 ปีของประวัติศาสตร์ที่ซ้ำรอยจากโครงการไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนไซยะบุรี" (The hidden cost of hydropower dams in the Mekong river basin: 9 years of repeated history of lack of Governance and Accountability) รายงานฉบับนี้มีความมุ่งหวังที่จะวิเคราะห์ให้เห็นถึง ต้นทุนจากโครงการสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำที่ถูกซ่อน และเป็นภาระต่อชุมชน สิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ ตั้งแต่การสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำบนแม่น้ำโขงตอนล่างแห่งแรก คือเขื่อนไซยะบุรี เมื่อ 9 ปีที่ผ่านมา และติดตามมาด้วยแผนการสร้างอื่นตัวอื่น ๆ อีก 3 แห่ง คือ โครงการเขื่อนดอนสะโฮง, เขื่อนปากแบ่ง และเขื่อนปากลาย โดยเขื่อนไซยะบุรีจะมีกำหนดจ่ายไฟฟ้าอย่างเป็นทางการให้แก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ในวันที่ 29 ตุลาคม 2562 ความเสียหายจากเขื่อนไซยะบุรีที่เกิดขึ้นกับชุมชน สิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศแม่น้ำโขง … Continue reading 9 ปีของประวัติศาสตร์ที่ซ้ำรอยจากโครงการไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนไซยะบุรี
จากเอกสารของบริษัท ซีเค พาวเวอร์ ที่เผยแพร่ให้สื่อมวลชนในการไปดูเขื่อนไซยะบุรี ระหว่างวันที่ 21-23 กรกฎาคม 2562มีจำนวน 8 หน้า นับเป็นเอกสารที่แปลก ตรงที่ไม่มีการระบุชื่อเรื่องเอกสาร แต่เมื่ออ่านแล้วก็เข้าใจได้ว่า บริษัทฯต้องการบอกว่า เขื่อนไซยะบุรี เป็นเขื่อนผลิตไฟฟ้าแบบน้ำไหลเข้าเท่ากับน้ำไหลออก ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องใด ๆ กับสถานการณ์น้ำโขงแห้งในภาคอีสานของไทย สาเหตุมาจาก เขื่อนจีนปล่อยน้ำมาน้อยประกอบกับปริมาณฝนที่ตกน้อยในรอบ 100 ปี พร้อมด้วยชุดข้อมูลอ้างอิงเรื่องน้ำโขง, น้ำฝน อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลในเอกสารทั้ง 8 หน้า ไม่ได้มีข้อมูลตัวเลขอัตราการไหลของน้ำโขง ที่ระบุให้เห็นอย่างปราศจากข้อสงสัยว่า น้ำโขงไหลเข้าเท่ากับน้ำโขงไหลออกและมีข้อมูลหลายประการในเอกสารนี้ที่มีมุมมองในด้านที่แตกต่างออกไป ดังที่จะได้กล่าวถึงต่อไปนี้ น้ำโขงมาจากไหน? เอกสารฉบับนี้ ยอมรับโดยดุษฎีว่ามองจากจุดยืนบนสันเขื่อนไซยะบุรีว่า น้ำโขงไม่ได้มาจากแหล่งน้ำตามธรรมชาติเท่านั้น แต่ยังยอมรับด้วยว่า “น้ำโขงที่มาจากการปล่อยน้ำจากเขื่อนในจีนที่ส่งผลกระทบมากที่สุด” ในจุดยืนเดียวกันกับคนที่แก่งคุดคู้ อ.เชียงคาน จ.เลย หรือที่หาดจอมมณี อ.เมือง จ.หนองคาย ก็ย่อมมองว่า “น้ำโขงที่มาจากการปล่อยน้ำจากเขื่อนในจีนและเขื่อนไซยะบุรีที่ส่งผลกระทบมากที่สุด” ได้เช่นกัน เพราะเป็นเขื่อนที่อยู่ใกล้ประเทศไทยมากที่สุด สาระสำคัญคือ บริษัทฯได้ยอมรับว่า “เขื่อน” เป็นปัจจัยสำคัญของการระบายน้ำมากหรือน้อย ซึ่งเขื่อนไซยะบุรีก็ไม่ได้มีข้อยกเว้นแต่อย่างใด Natural … Continue reading ดูน้ำโขงกันทีละหยด ไหลเข้า-ไหลออก ที่เขื่อนไซยะบุรี
เรื่องและกราฟิกโดย มนตรี จันทวงศ์ เสียงของหมาป่าจากต้นน้ำหลานชางเจียง[1] ข่าวคำแถลงของโฆษกสถานเอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทย ว่าด้วยคำวิพากษ์วิจารณ์ที่เกี่ยวกับจีนในปัญหาน้ำแม่น้ำโขง เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม[2] ประกอบกับข่าวการแจ้งเตือนของ MRC เกี่ยวกับการลดการระบายน้ำของเขื่อนจินฮง ในวันที่ 3 กรกฎาคมที่ผ่านมา[3] ย่อมไม่ใช่เหตุบังเอิญ แต่เป็นการวางจังหวะให้คำแถลงของสถานฑูตจีนในไทย ให้อยู่ในช่วงเวลาเดียวกัน เพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับการลดการระบายน้ำของเขื่อนจินฮง โดยอ้างผลประโยชน์ที่คนลุ่มน้ำโขงตอนล่างจะได้รับ และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ดี โดยเฉพาะการอ้างว่า “ฝ่ายจีนสร้างเขื่อนแบบขั้นบันไดตามแม่น้ำล้านช้าง เป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของอากาศ สถานีกำเนิดไฟฟ้าแบบขั้นบันไดนั้นปล่อยน้ำในหน้าแล้ง กักเก็บน้ำในหน้าฝน ซึ่งจะเป็นการ “ปรับลดน้ำท่วม เพิ่มน้ำหน้าแล้ง” ต่อแม่น้ำโขง หลังการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ปริมาณน้ำที่ไหลออกนอกประเทศของแม่น้ำล้านช้างได้เพิ่ม 70% ในหน้าแล้ง และลดลง 30% ในหน้าฝนเมื่อเทียบกับสภาพแบบธรรมชาติเดิม ซึ่งได้ลดค่าเสียหายทางเศรษฐกิจของมวลประชาชนสองฟากฝั่งอันเกิดจากระดับน้ำแม่น้ำโขงเปลี่ยนแปลงผิดปกติ” และอ้างถึง “เพื่อสร้างสรรค์สิ่งที่ดีงามให้กับประชาชนในภูมิภาค เพื่อความร่วมมืออันดีในอนุภูมิภาคฯ” รวมทั้งถ้อยแถลงที่ผ่าน MRC ยังระบุว่า การลดการระบายน้ำของเขื่อนจินฮง จะไม่สร้างผลกระทบที่สำคัญต่อลุ่มน้ำโขงตอนล่าง ผู้เขียนใคร่ขอแสดงทัศนะไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง ต่อคำแถลงของทางการจีนทั้งที่ผ่านสถานฑูตและMRC ซึ่งเป็นการแถลงเข้าข้างตนเองเพียงฝ่ายเดียว ไม่ต่างกับนิทานหมาป่ากับลูกแกะ ด้วยเหตุผลดังนี้ ประการที่หนึ่ง จีนได้สร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำบนแม่น้ำโขงเขื่อนแรกคือเขื่อนม่านวาน มาตั้งแต่ปี 2536 … Continue reading เสียงของหมาป่าจากต้นน้ำหลานชางเจียง
วันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๔๖๑ ระหว่างเวลา ๐๙.๓๐-๑๖.๐๐ น. ณ ห้องประชุม ออดิทอเรียม The Conecion ๐๙.๓๐ เริ่มด้วยการนำเสนอในหัวข้อ “โครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย: มองอดีต ก่อนเดินหน้า” Thant Zin (ภาคประชาสังคมเมียนมา) ในทวายตอนนี้นอกจากจะมีโรดลิ้งค์แล้วเรายังมีโครงการเหมืองขนาดใหญ่อีกสองแห่งซึ่งไฟฟ้าที่ได้ทั้งหมดจะส่งให้ประเทศไทย และการตั้งเป้าหมายด้านเศรษฐกิจเป็นหลักของรัฐบาลก็ส่งผลให้ชาวบ้านโดยเฉพาะในพื้นที่กะเหรี่ยงต้องถูกแย่งยึดที่ดิน ซึ่งปัจจุบันที่ดินกว่า ๘๐,๐๐๐ เอเคอร์ของชาวบ้านต้องถูกรัฐบาลยึดไป และในพื้นที่ตะนาวศรีซึ่งจะเป็นที่รองรับโครงการขนาดใหญ่ที่ใช้ที่ดินถึง ๑.๘ ล้านเอเคอร์ ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นก็มีตั้งแต่ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและการสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติ ไปจนถึงผลกระทบทางด้านสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งหากจะยกตัวอย่างโครงการที่ได้รับผลกระทบในทุกๆ ด้านนั่นก็คือโครงการเหมืองแร่เฮงดา ชาวบ้านในพื้นที่ได้พยายามต่อสู้เรียกร้องมาอย่างยาวนาน สิ่งที่เราได้ทำไปแล้วก็คือ เราได้ยื่นข้อร้องเรียนกรณีโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติประเทศไทย จนได้มีมติคณะรัฐมนตรีออกมา และยังได้ทำงานร่วมกับ ETO Watch Coalition ในการติดตามประเด็นเงินกู้สร้างถนนเชื่อมต่อ ซึ่งสิ่งที่เราจะวางแผนทำต่อไปในอนาคตอันใกล้คือการสร้างความเข้าใจและและผลักดันศักยภาพของภาคประชาชน เช่นที่หมู่บ้านกาโลนท่า ซึ่งเป็นหมู่บ้านสำคัญอันเป็นจุดเริ่มต้นของผลกระทบจากโครงการต่อแหล่งน้ำธรรมชาติ และอีกเป้าหมายหนึ่งคือจะช่วยสนับสนุนการท่องเที่ยวในท้องถิ่น ซึ่งเป็นการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติและวัฒนธรรม ธีรชัย ศาลเจริญกิจถาวร (The Mekong Butterfly) ให้ข้อมูลเรื่องโครงการถนนเชื่อมต่อสองช่องทางและข้อมูลที่ได้จากการลงพื้นที่พูดคุยกับชาวบ้านและภาคประชาสังคมซึ่งจะจัดทำเป็นรายงานการศึกษาว่า เมื่อ วันที่ ๒๙ … Continue reading รายงานการประชุม “การพัฒนาธรรมาภิบาลข้ามพรมแดนสู่อาเซียน: เสียงสะท้อนจากชุมชน”
Press Release: Displaced farmers from Cambodia filed a lawsuit against Mitrphol, the Sugar Giant for remedy and justice The statement is submitted during the official visit of Mr. Dante Pesce and Professor Surya Deva, Member of the United Nations Working Group on Business and Human Rights, Mr. Robert Vaughan and Mr. Ulrik Halsteen to … Continue reading Press Release: Displaced farmers from Cambodia filed a lawsuit against Mitrphol, the Sugar Giant for remedy and justice