เหตุผล 3 ประการที่สหรัฐฯ ล้มเหลวในการดำเนินการเมื่ออุตสาหกรรมเชื้อเพลิงฟอสซิลได้ให้การสนับสนุนเงินทุนอาชญากรรมร้ายแรงต่อมวลมนุษยชาติครั้งใหญ่ในเมียนมา

แปลและเรียงเรียงโดย ธีระชัย ศาลเจริญกิจถาวร จากบทความ "THREE REASONS THE U.S. FAILS TO ACT AS THE FOSSIL FUEL INDUSTRY BANKROLLS MASS ATROCITIES IN MYANMAR" เขียนโดย เคิร์ก เฮอร์เบิร์ตสัน (Kirk Herbertson) https://earthrights.org/blog/three-reasons-the-u-s-fails-to-act-as-the-fossil-fuel-industry-bankrolls-mass-atrocities-in-myanmar/ "เหตุผล 3 ประการที่สหรัฐฯ ล้มเหลวในดำเนินการเมื่ออุตสาหกรรมเชื้อเพลิงฟอสซิลได้ให้การสนับสนุนเงินทุนอาชญากรรมร้ายแรงต่อมวลมนุษยชาติครั้งใหญ่ในเมียนมา" 20 มีนาคม 2566 เคิร์ก เฮอร์เบิร์ตสัน เดเร็ก โชเลต ที่ปรึกษากระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ เดินทางเยือนไทยในสัปดาห์นี้ "เพื่อจัดการกับวิกฤตการณ์ที่เลวร้ายลงในเมียนมา" ในขณะที่คณะเผด็จการทหารหันไปใช้การโจมตีทางอากาศและการโจมตีด้วยปืนใหญ่ต่อพลเรือนมากขึ้น ที่ปรึกษาโชเลต รู้ดีว่าชาวเมียนมายังคงประท้วงการระดมทุนของอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงฟอสซิลจากรัฐบาลทหารที่โหดร้ายของเมียนมา และเรียกร้องให้รัฐบาลสหรัฐฯ ลงโทษการเข้าถึงรายได้จากก๊าซของรัฐบาลทหาร ผู้ประท้วงเหล่านี้เสี่ยงออกไปตามท้องถนนในภูมิภาคสะกาย เพียงไม่กี่วันหลังจากพบศพ 16 คนที่ถูกคณะเผด็จการทหารลักพาตัวไปโดยมีร่องรอยของการข่มขืนและการทรมาน ที่ปรึกษาโชเลตควรฟังพวกเขา นอกจากนี้ คณะเผด็จการทหารยังได้เพิ่มการโจมตีทางอากาศและการโจมตีด้วยปืนใหญ่ต่อพลเรือน ในขณะเดียวกัน อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงฟอสซิลระหว่างประเทศยังคงชำระเงินรายเดือนหลายร้อยล้านดอลลาร์สหรัฐไปยังบัญชีธนาคารที่ถูกยึดครองโดยคณะเผด็จการทหาร … Continue reading เหตุผล 3 ประการที่สหรัฐฯ ล้มเหลวในการดำเนินการเมื่ออุตสาหกรรมเชื้อเพลิงฟอสซิลได้ให้การสนับสนุนเงินทุนอาชญากรรมร้ายแรงต่อมวลมนุษยชาติครั้งใหญ่ในเมียนมา

Advertisement

ความกระทบกระเทือนเพียงน้อยนิด: ผลกระทบต่อความมั่นคงด้านพลังงานของไทยจากการขัดขวางการนำเข้าก๊าซจากเมียนมา

**เแปลจากรายงานสรุปของ EarthRights Internaional (ERI) ชื่อ “MINIMAL IMPACT: THE EFFECTS ON THAILAND’S ENERGY SECURITY OF DISRUPTING MYANMAR GAS IMPORTS” ความกระทบกระเทือนเพียงน้อยนิด: ผลกระทบต่อความมั่นคงด้านพลังงานของไทยจากการขัดขวางการนำเข้าก๊าซจากเมียนมา สหรัฐอเมริกายังไม่ได้ดำเนินการคว่ำบาตรแหล่งที่มาเงินตราต่างประเทศของคณะเผด็จการทหารเมียนมา รายได้จากโครงการก๊าซนอกชายฝั่งของเมียนมา ส่วนหนึ่งเพราะกลัวว่าจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางพลังงานของไทย การวิเคราะห์ของเรายืนยันว่าสิ่งที่พวกเขาหวาดกลัวจะไม่เกิดขึ้น ในปี 2566 ประเทศไทยตั้งเป้าว่าพวกเขาจะสร้างความมั่นคงทางพลังงานได้มากกว่าปี 2565 ที่ผ่านมา ตรงกันข้ามกับข้อมูลที่บิดเบือนที่แพร่กระจายโดยบริษัทน้ำมันและก๊าซที่ดำเนินงานในเมียนมาร์ แม้ว่าการคว่ำบาตรรายได้จากก๊าซจะนำไปสู่การยุติราคาไฟฟ้าก็ตาม การเพิ่มขึ้นนี้จะเป็นเพียงเศษเสี้ยวของค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการที่ประเทศต่างๆ เลิกใช้ก๊าซจากรัสเซียเพื่อหลีกเลี่ยงการระดมทุนอย่างโหดร้ายในยูเครน รายได้จากก๊าซถือเป็นแหล่งที่มาของเงินตราต่างประเทศที่ใหญ่ที่สุดที่คณะเผโจการทหารสามารถใช้จ่ายและเข้าถึงได้ ในช่วงต้นของการรัฐประหารเดือนกุมภาพันธ์ 2564 คณะเผด็จการทหารได้เข้าควบคุมการไหลของรายได้ในบริษัทน้ำมันและก๊าซแห่งเมียนมา หรือ MOGE ที่ซึ่งรัฐบาลเมียนมาได้เก็บจัดเก็บรายได้จากโครงการก๊าซนอกชายฝั่งของประเทศที่สามารถสร้างกำไรได้อย่างมหาศาลและขณะนี้คณะเผด็จการทหารกำลังใช้รายได้เหล่านี้เพื่อผลประโยชน์ของตนเอง รายได้ส่วนใหญ่จากโครงการก๊าซเหล่านี้มาจากการส่งออกก๊าซไปยังประเทศไทยและจีน สหรัฐอเมริกาตระหนักดีว่ารายได้จากก๊าซได้สร้างความมั่งคั่งให้กับคณะเผด็จการทหารที่นำไปสู่การปราบปรามประชาชนชาวเมียนมาจนถึงแก่ชีวิต การพุ่งสูงขึ้นของราคาพลังงานที่เกิดขึ้นทั่วโลกได้ทำให้ราคาก๊าซต่อหน่วยที่ ปตท. ในฐานะผู้ซื้อก๊าซจ่ายให้กับเมียนมานั้นเพิ่มสูงขึ้นประมาณร้อยละ 65 สิ่งนี้ชี้ให้เห็นว่ารายได้จากก๊าซที่ถูกยึดมาอย่างผิดกฎหมายโดยคณะรัฐประหารนั้นอาจเพิ่มขึ้นเป็น 2.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี บริษัทก๊าซข้ามชาติหลายแห่งรวมทั้ง กลุ่ม ปตท. เชฟรอน และพอสโคยังคงเพิกเฉยต่อทางเลือกในทางปฏิบัติในการกำจัดเพื่อเบี่ยงเบนรายได้เหล่านี้ แทนที่จะปฏิบัติต่อคณะรัฐประหารเมียนมาในฐานะรัฐบาลที่ได้รับการยอมรับและมีสิทธิในการเป็นผู้รับเงินรายได้เหล่านี้โดยถูกต้องชอบธรรม … Continue reading ความกระทบกระเทือนเพียงน้อยนิด: ผลกระทบต่อความมั่นคงด้านพลังงานของไทยจากการขัดขวางการนำเข้าก๊าซจากเมียนมา

“พม่าที่ผลิกผัน”: วันวาน วันนี้ วันหน้า หน้าตาของพม่าจะเป็นอย่างไร และเราทำอะไรได้มากกว่านี้หรือไม่

ธีระชัย ศาลเจริญกิจถาวร เรียบเรียงรัศมิ์ลภัส กวีวัจน์ ภาพ หลังเกิดการรัฐประหารในเมียนมาก็ได้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างกว้างขวางจนเรียกได้ว่าเป็นวิกฤตมนุษยธรรมและถือเป็นอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ งานเสวนา “พม่าที่พลิกผัน” (Unpredictable Myanmar) ในครั้งนี้มีวิทยากรร่วมเสวนา จำนวน 5 ท่าน ที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับประเทศพม่าและความรู้เกี่ยวกับกฎหมายระหว่างประเทศ รวมถึงผู้เชี่ยวชาญเฉพาะกรณี โดยมีกฤษณ์พชร โสมณวัตร เป็นผู้ดำเนินการเสวนา นอกจากนั้นแล้วบริดวณด้านหน้าของงานยังได้มีการจัดแสดงนิทรรศการภาพถ่ายที่สะท้อนถึงปัญหาผู้พลัดถิ่นภายในประเทศเมียนมาและผู้ลี้ภัยจากประเทศเมียนมาด้วย พรสุข เกิดสว่าง จากมูลนิธิเพื่อนไร้พรมแดน กล่าวว่า ประเทศพม่าก่อนรัฐประหารก็ไม่ได้สันติมากนัก เพราะการละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศก็ยังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งการสู้รบชายแดน และเสรีภาพสื่อ ความพลิกผันในพม่าหลังเกิดการรัฐประหารคือการทำให้ประเทศกระโดดพลิกกลับไปข้างหลัง แม้ว่าก่อนหน้านี้กระบวนการสันติภาพจะยังไม่เกิดขึ้นในพม่ามากนัก แต่ที่ผ่านมาสิทธิมนุษยชนก็เริ่มมีทิศทางและก้าวไปข้างหน้าได้ การเข้าสู่โลกอินเทอร์เน็ตมากขึ้นทำให้ประชาชนพม่ารู้จักโลกภายนอกและความเป็นไปของสังคมโลกมากกว่าที่เคยเป็น การใช้ความรุนแรงปราบปรามประชาชน หลังการรัฐประหาร เป็นการโจมตีที่ไม่ได้มีการแยกแยะระหว่างคนที่ถืออาวุธหรือไม่ถืออาวุธ เป็นการโจมตีที่ไม่แยกแยะว่าสถานที่นั้นเป็นสถานที่สำคัญอย่างโรงพยาบาล โรงเรียน หรือบ้านเรือนประชาชนทั่วไป นอกจากความรุนแรงแล้ว ยังมีปัญหาที่เกิดขึ้นตามมาอื่น ๆ เช่น การควบคุมโรคติดต่อ การขาดแคลนอุปกรณ์และบุคลากรทางการแพทย์ เกิดภาวะทุพภิกขภัย การปิดกั้นการเข้าถึงแหล่งอาหาร ประชาชนอดอยาก ทำมาหากินไม่ได้ เพาะปลูกไม่ได้ เพราะต้องหนีอยู่ตลอดเวลา นอกจากนั้นยังมีการใช้ทหารเด็ก บังคับเกณฑ์ทหาร และบังคับใช้แรงงานอย่างกว้างขวาง ซ้ำร้ายยังมีการเกิดขึ้นอย่างมากของธุรกิจมืดตามแนวชายแดน “ดังนั้นโดยส่วนตัวจึงมองว่าวิกฤตของพม่าก็คือวิกฤตของเรา (ไทย)” … Continue reading “พม่าที่ผลิกผัน”: วันวาน วันนี้ วันหน้า หน้าตาของพม่าจะเป็นอย่างไร และเราทำอะไรได้มากกว่านี้หรือไม่

“ก๊าซพม่า – ไฟฟ้าไทย : ความสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจและความสำนึกคิดถึงสิทธิมนุษยชนภายใต้วิกฤตมนุษยธรรมหลังรัฐประหารเมียนมาในโครงการยาดานา” (ตอนที่ 1)

ช่วงกลางเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เกิดข่าวใหญ่ในแวดวงพลังงานที่เชื่อมโยงถึงสถานการณ์ในเมียนมาอย่างมาก หลังจากที่บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท. สผ. ประกาศซื้อหุ้นเพิ่มและเข้าเป็นผู้ดำเนินงานในโครงการขุดเจาะและขนส่งก๊าซธรรมชาติในแหล่งยาดานา ประเทศเมียนมา จากการที่ บริษัท TotalEnergies บิ๊กพลังงานระดับโลกจากฝรั่งเศส ประกาศถอนการลงทุนจากโครงการนี้ด้วยเหตุผลด้านการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรงของกองทัพเมียนมาต่อประชาชนตั้งแต่เกิดการรัฐประหาร ซึ่งทาง Total และ Chevron ได้ออกมาประกาศเมื่อปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา  แหล่งข่าวหลายสำนักระบุว่า ปตท. สผ. จำกัด (มหาชน) หรือ PTTEP จะเข้าทำการควบคุมการดำเนินงานในแหล่งก๊าซยาดานา บริเวณอ่าวเมาะตะมะ ซึ่งเป็น 1 ใน 3 แหล่งก๊าซสำคัญในเมียนมาที่บริษัท ปตท.สผ. เข้าร่วมลงทุน (อีก 2 แห่ง ได้แก่ แหล่งเยตากุนและแหล่งซอติก้า) ในวันที่ 20 กรกฎาคมที่จะถึงนี้แทน Total โดยคำนึงถึงความต่อเนื่องการบริโภคด้านพลังงานเป็นหลัก ก๊าซธรรมชาติที่ผลิตได้ในโครงการยาดานาจะถูกส่งขายให้กับ ปตท. ในฐานะผู้จัดหาพลังงาน ซึ่งก๊าซในส่วนนี้ราว 550 ล้านลูกบาศก์ฟุตจะถูกส่งผ่านท่อก๊าซจากฝั่งเมียนมาเข้ามายังฝั่งไทย ป้อนเข้าสู่โรงไฟฟ้าทั้งขนาดใหญ่และเล็ก … Continue reading “ก๊าซพม่า – ไฟฟ้าไทย : ความสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจและความสำนึกคิดถึงสิทธิมนุษยชนภายใต้วิกฤตมนุษยธรรมหลังรัฐประหารเมียนมาในโครงการยาดานา” (ตอนที่ 1)

ถอดรหัสขบวนการประชาธิปไตยไทย – พม่า สู่การผลักดันแรงบันดาลใจข้ามรัฐ – ข้ามพรมแดน

ธีระชัย ศาลเจริญกิจถาวร ชวนถอดบทเรียนการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยกว่า 365 วัน ของประชาชนชาวเมียนมาผ่านวงเสวนาแลกเปลี่ยนพูดคุยระหว่างนักกิจกรรมไทยรุ่นใหม่ที่ออกมาขับเคลื่อนประเด็นประชาธิปไตยและความเท่าเทียมอย่างต่อเนื่อง วงเสวนานี้จัดขึน ณ Documentary Club & Pub เป็นส่วนหนึ่งในกิจกรรมของนิทรรศการ “365 Days after…” ที่ร่วมจัดโดยเสมสิกขาลัย (พม่า) และ Documentary Club Thailand ซึ่งเป็นนิทรรศการที่ใช้ศิลปะหลากแขนงทั้งภาพถ่าย ภาพวาด ศิลปะการจัดวาง ศิลปะแสดงสด และการแสดงดนตรี เพื่อบอกเล่าเรื่องราวของประชาชนทุกภาคส่วนและทุกชาติพันธุ์ตลอดระยะเวลากว่าหนึ่งปีที่ผ่านมาหลังเกิดการรัฐประหารในประเทศพม่าเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 ภาพถ่ายบางส่วนจากนิทรรศการ "365 Days after..." ภาพถ่ายบางส่วนจากนิทรรศการ "365 Days after..." การต่อสู้ที่อึดถึกทนและน่าประทับใจของประชาชนในและนอกประเทศพม่าในครั้งนี้ถือเป็นแรงบันดาลใจที่สำคัญต่อขบวนการประชาธิปไตยทั่วทั้งเอเชีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อนบ้านอย่างไทย ที่ตลอด 2-3 ปีที่ผ่านมานี้ขบวนการเคลื่อนไหวในไทยเติบโตในเชิงความคิดที่รื้อถอนเบื้องหลังโครงสร้างอำนาจทางการเมืองไทยอย่างตรงไปตรงมามากกว่าที่เคยเป็นมาในอดีตแต่ก็ถูกกดปราบอย่างหนักที่ถึงแม้อาจจะไม่เท่ากับในกรณีของพม่า แต่ก็ถือได้ว่าเป็นกรณีการต่อสู้กับอำนาจเผด็จการเฉกเช่นเดียวกัน...บทเรียนการต่อสู้ของประชาชนพม่าจึงควรค่าแก่การนำมาแลกเปลี่ยน ถกเถียง สกัด ถอดรหัส ไปจนถึงการนำมาปรับใช้และต่อยอดการต่อสู้ของขบวนการภาคประชาชนไทยและอาจรวมถึงในประเทศอื่น ๆ ด้วย ขบวนการประชาธิปไตยในไทยรู้สึกอย่างไร และติดตามอย่างไร และมองการต่อสู้ในครั้งนี้ของชาวพม่าอย่างไร? โตโต้ … Continue reading ถอดรหัสขบวนการประชาธิปไตยไทย – พม่า สู่การผลักดันแรงบันดาลใจข้ามรัฐ – ข้ามพรมแดน

“เมียนมากับกระบวนการพัฒนาแบบย้อนกลับ : แนวโน้มโครงการพัฒนาขนาดใหญ่หลังรัฐประหารที่อาจส่งผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม”  (ตอนที่ 2)

รัฐประหารเมียนมาทำโครงการขนาดใหญ่รุกรานประชาชนและสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น – ด้าน รมช. พลังงาน NUG ชี้เมียนมาอาจเป็นประเทศแรกที่มีผู้อพยพจากวิกฤติสภาพภูมิอากาศ ประชาสังคมกะเหรี่ยงชี้เขื่อนฮัตจีเตรียมเดินหน้า แรงงานจีนเข้าพื้นที่แม้มี COVID – 19 ทหารเมียนมาบังคับใช้แรงงานผู้พลัดถิ่นสร้างถนนด้านนักวิชาการ ชี้เมียนมาเผชิญวิกฤติ 2C ต้องแก้ด้วย 4R   วันที่ 26 กันยายน เวลา 9.30 – 11.30 น. องค์กรเสมสิกขาลัย (SEM) กลุ่มเสรีภาพแม่น้ำโขง (The Mekong Butterfly) และคณะทำงานติดตามความรับผิดชอบการลงทุนข้ามพรมแดน (ETOs Watch Coalition) ได้ร่วมกันจัดเวทีอภิปราย ในหัวข้อ"เมียนมากับกระบวนการพัฒนาแบบย้อนกลับ : แนวโน้มโครงการพัฒนาขนาดใหญ่หลังรัฐประหารที่อาจส่งผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม" ซึ่งเป็นกิจกรรมส่วนหนึ่งในงานสัปดาห์สิ่งแวดล้อมแม่โขง – อาเซียน ประจำปี 2564 หรือ Mekong – ASEAN Environmental Week 2021: MAEW2021 ขึ้นเพื่อวิเคราะห์ถึงผลกระทบที่เกิดจากโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่อประชาชน สังคมและสิ่งแวดล้อมทั้งในอดีต … Continue reading “เมียนมากับกระบวนการพัฒนาแบบย้อนกลับ : แนวโน้มโครงการพัฒนาขนาดใหญ่หลังรัฐประหารที่อาจส่งผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม”  (ตอนที่ 2)

เมียนมากับกระบวนการพัฒนาแบบย้อนกลับ: แนวโน้มโครงการพัฒนาขนาดใหญ่หลังรัฐประหารที่อาจส่งผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ตอนที่ 1)

ผ่านมากว่า 8 เดือน นับแต่มีการรัฐประหารโดยกองทัพเมียนมา เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 เพื่อล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง บรรดารัฐต่าง ๆ ของประชาคมโลกโดยเฉพาะกลุ่มประเทศตะวันตกอย่างสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกาก็ได้มีการประณามและแสดงออกถึงความไม่เห็นด้วยต่อการรัฐประหารและใช้วิธีถอนการลงทุนและระงับการลงทุนเพื่อกดดันกองทัพเมียนมา แนวโน้มการลงทุนจากต่างชาติในเมียนมาเริ่มชะลอตัวตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ เมื่อกองทัพเมียนมาเข้ายึดอำนาจจากรัฐบาลพลเรือน ซึ่งได้กระตุ้นให้เกิดความรู้สึกเชิงลบในทันทีและสร้างความไม่แน่นอนทั้งในและนอกประเทศ ประชาชนชาวเมียนมาทั่วประเทศออกมาเดินขบวนประท้วงทั่วประเทศ เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ของสาธารณชนอย่างล้นหลาม รวมถึงการรณรงค์อารยะขัดขืน หรือ Civil Disobedience Movement: CDM การต่อต้านการปกครองของทหารมีแนวโน้มที่จะยังคงต่อเนื่องและบานปลาย ทั้งในเมืองและในพื้นที่รัฐชาติพันธุ์ จนขณะนี้การต่อต้านกองทัพเมียนมาแผ่ขยายออกไปในทุกมิติทั้งการเมืองและการทหาร สะท้อนให้เห็นถึงสถานการณ์ที่ไม่เอื้ออำนวย ซึ่งอาจทำให้เกิดความท้าทายในการดำเนินธุรกิจและการลงทุนในเมียนมา จากรายงานของสำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติระบุว่ากลุ่มบริษัทวิสาหกิจของกองทัพ 2 แห่ง ได้แก่ บริษัท Myanmar Economic Corporation (MEC) และ บริษัท Union of Myanmar Economic Holding Limited (MEHL) เป็นกลุ่มบริษัทที่กองทัพเมียนมาครอบครองผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจอันมหาศาลของเมียนมาไว้ ที่ผ่านมา กองทัพเป็นสถาบันอิสระปราศจากการควบคุมหรือแม้กระทั่งการตรวจสอบจากรัฐบาลพลเรือน อีกทั้งไม่ได้อยู่ภายใต้กฎหมายรัฐวิสาหกิจของเมียนมา มีบรรดานายพลของกองทัพซึ่งเลือกแต่งตั้งกันมาเอง มานั่งดูแลผลประโยชนทางเศรษฐกิจอันมหาศาล โดยทั้งสองวิสาหกิจมีความเกี่ยวพันและโยงใยกับธุรกิจแทบทุกประเภท … Continue reading เมียนมากับกระบวนการพัฒนาแบบย้อนกลับ: แนวโน้มโครงการพัฒนาขนาดใหญ่หลังรัฐประหารที่อาจส่งผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ตอนที่ 1)

สรุปสถานการณ์และข้อเสนอแนะ: การดำเนินการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการจัดการปัญหาของประชาชนจากประเทศเมียนมาที่เป็นผู้พลัดถิ่นภายในประเทศเมียนมา และที่กลายมาเป็นผู้ลี้ภัยในประเทศไทย

คณะทำงานภาคประชาสังคมติดตามการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยจากประเทศเมียนมา สรุปสถานการณ์และข้อเสนอแนะ: การดำเนินการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม และการจัดการปัญหาของประชาชนจากประเทศเมียนมา[1] ที่เป็นผู้พลัดถิ่นภายในประเทศเมียนมา และที่กลายมาเป็นผู้ลี้ภัย[2]ในประเทศไทย 1. ภาพรวมตัวเลขผู้พลัดถิ่นภายในประเทศและสถานการณ์ผู้ลี้ภัยภายหลังการรัฐประหารในเมียนมา ความขัดแย้งทางอาวุธในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา (ประเทศเมียนมา) การพยายามโจมตีพื้นที่กลุ่มชาติพันธ์ต่าง ๆ ของกองทัพเมียนมาภายหลังการก่อรัฐประหารวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 ได้ส่งผลให้มีประชาชนจำนวนมากมีความหวาดกลัวต่อภัยประหัตประหาร ต้องหนีภัยประหัตประหารและกลายเป็นผู้พลัดถิ่นภายในประเทศ (Internally Displaced Persons) และกลายมาเป็นผู้ลี้ภัย ในประเทศไทยจากรายงานล่าสุดสถานการณ์ฉุกเฉินในเมียนมา วันที่ 1 กรกฎาคม 2564 (Myanmar Emergency Update as of 01 July 2021) โดยสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) ระบุว่า ความรุนแรงและความไม่มั่นคงที่เกิดจากการสู้รบนับแต่ตั้งเหตุรัฐประหาร ส่งผลให้ประชาชนกว่า 211,000 คน กลายเป็นผู้พลัดถิ่นภายในประเทศเมียนมา โดยกระจายอยู่ในพื้นที่ต่าง ๆ ของรัฐคะฉิ่นราว 10,200 คน รัฐฉานมากกว่า 30,200 คน รัฐชินราว 10,000 คน[1] ทั้งนี้ จากข้อมูลล่าสุด … Continue reading สรุปสถานการณ์และข้อเสนอแนะ: การดำเนินการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการจัดการปัญหาของประชาชนจากประเทศเมียนมาที่เป็นผู้พลัดถิ่นภายในประเทศเมียนมา และที่กลายมาเป็นผู้ลี้ภัยในประเทศไทย

ประชาสังคม – นักวิชาการ ตามเร่งรัฐแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัย หลังเหตุการณ์ปะทะระหว่างกองทัพพม่ากับกองกำลังชาติพันธุ์ในเมียนมาระอุหนักรายวัน

"เครือข่ายภาคประชาสังคมและนักวิชาการยื่นเอกสารต่อ กมธ.ความมั่นคงแห่งรัฐ และกิจการชายแดนฯ - พิธา ในฐานะสมาชิกรัฐสภาอาเซียนเสนอ 9 ข้อ แก้ไขวิกฤตมนุษยธรรมผู้ลี้ภัยชายแดนและผู้ลีเภัยในเขตเมือง" 8 ก.ค. 2564 เวลาประมาณ 14.30 น. เครือข่ายองค์กรภาคประชาสังคมและนักวิชาการในนามคณะทำงานภาคประชาสังคมติดตามการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยจากประเทศเมียนมาได้ยื่นเอกสารข้อเสนอแนะเพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤตมนุษยธรรมแก่ผู้พลัดถิ่นภายในประเทศและผู้ลี้ภัยในเขตเมืองจากประเทศเมียนมา ณ อาคารรัฐสภา (เกียกกาย) ต่อ พล.ต.ต. สุพิศาล ภักดีนฤนาถ ในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ และนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ในฐานะสมาชิกรัฐสภาอาเซียนเพื่อสิทธิมนุษยชน (ASEAN Parliamentarians for Human Rights: APHR) ศ.สุริชัย หวันแก้ว ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาสันติภาพและความขัดแย้ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การมายื่นเอกสารในครั้งนี้เป็นการมาเพื่อติดตามการแก้ไขปัญหาด้านมนุษยธรรมต่อผู้ลี้ภัยชาวเมียนมาในเขตชายแดนไทยและผู้ลี้ภัยในเขตเมือง โดยก่อนหน้านี้ทางเครือข่ายฯ เคยยื่นจดหมายลักษณะนี้ไปแล้วหลายครั้งนับตั้งแต่เดือนเมษายนแต่ยังไม่มีความคืบหน้าใด ๆ วิชัย จันทวาโร เจ้าหน้าที่มูลนิธิเสมสิกขาลัย ได้สรุปสถานการณ์ สภาพปัญหา และจำนวนผู้พลัดถิ่นภายในประเทศเมียนมาอันเกิดจากการสู้รบระหว่างกองทัพเมียนมาและกองกำลังชาติพันธุ์ โดยนับแต่มีการรัฐประหาร เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ว่าขณะนี้ทั่วประเทศเมียนมามีผู้พลัดถิ่นภายในประเทศเมียนมาแล้วกว่า … Continue reading ประชาสังคม – นักวิชาการ ตามเร่งรัฐแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัย หลังเหตุการณ์ปะทะระหว่างกองทัพพม่ากับกองกำลังชาติพันธุ์ในเมียนมาระอุหนักรายวัน

รายงานการศึกษา ย้อนรอยโขงใส ไร้ตะกอน

“ตะกอนแขวนลอยในแม่น้ำโขงทั้งสายหายไปเฉย ๆ ได้อย่างไร ?” ทั้งที่เมื่อแม่น้ำโขงไหลเข้าสู่ประเทศไทยที่อำเภอเชียงแสนยังมีความขุ่นมากจากตะกอนแขวนลอย แต่หลังจากที่ไหลเข้าสู่ประเทศลาวที่แก่งผาได อำเภอเวียงแก่น และไหลกลับสู่ชายแดนไทย-ลาวอีกครั้ง ที่อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลยนั้น น้ำโขงกลับใส ไร้ตะกอนเกือบจะโดยสิ้นเชิง หน่วยงานทั้งในประเทศไทย และองค์กรระดับภูมิภาค ที่รับผิดชอบโดยตรง ดูจะไม่อินังขังขอบ กับปรากฏการณ์นี้และผลกระทบต่อระบบนิเวศและชุมชนเท่าใดนัก เพราะยังคงกล่าวอ้างผลการศึกษาว่าน้ำโขงมีคุณภาพตามเกณฑ์ในระดับดีมาก ดังนั้น “ตะกอนแขวนลอยในแม่น้ำโขงทั้งสายหายไปเฉย ๆ ได้อย่างไร” จึงเป็นคำถามตั้งต้นของการพิสูจน์ปรากฏการที่ไม่ธรรมชาติ ของภาวะน้ำโขงใสไร้ตะกอน ด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์ที่ตรงไปตรงมาโดยประชาชนในพื้นที่ริมแม่น้ำโขง ทั้งหมด 6 จุด ร่วมไปกับการประยุกต์ข้อมูลที่วิเคราะห์มาจากรายงานของกรมทรัพยากรน้ำ และสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ คือ “โครงการศึกษาและติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดนจากโครงการไฟฟ้าพลังน้ำในแม่น้ำโขงสายประธาน”  จากหลักฐานเชิงประจักษ์ก่อนหน้านี้ ทั้งจากภาพถ่าย การสังเกตอย่างต่อเนื่องของคนในพื้นที่ และปรากฏการณ์ที่ผิดปกติของแม่น้ำ จึงเป็นเรื่องที่ปฏิเสธไม่ได้ว่า การเปิดใช้งานเขื่อนไซยะบุรีอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2562 ที่ผ่านมา ซึ่งตั้งบนแม่น้ำโขงในแขวงไซยะบุรี ช่วงที่แม่น้ำโขงไหลเข้าสู่ประเทศลาว และห่างจากชายแดนไทยเหนืออำเภอเชียงคานประมาณ 200 กิโลเมตร ซึ่งเป็นช่วงเวลาของการเริ่มต้นฤดูหนาวของปี เป็นเหตุให้เกิดปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และเกิดขึ้นในทันทีหลังการเปิดใช้งานเขื่อนไซยะบุรี คือ ปรากฏการณ์น้ำโขงใสไร้ตะกอน และการแพร่ระบาดของสาหร่ายในแม่น้ำโขงตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2562 ซึ่งพบได้ตลอดแนวแม่น้ำโขงที่เป็นพรมแดนไทย-ลาว … Continue reading รายงานการศึกษา ย้อนรอยโขงใส ไร้ตะกอน