ประชาชน 727 คน สนับสนุนยื่นฟ้อง ‘ประยุทธ์’ ต่อศาลปกครองเชียงใหม่ กรณีการจัดการฝุ่น PM 2.5 ไร้พรมแดน ประชาสังคมชี้ ก.ล.ต. คณะกรรมการกำกับตลาดทุนต้องเร่งกำกับดูแล กำหนดมาตรการและบทลงโทษที่ชัดเจนต่อกลุ่มทุนไทย สกัดต้นตอการดำเนินธุรกิจที่ไม่เป็นมิตรกับสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อม เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2566 เครือข่ายประชาชนภาคเหนือ นักวิชาการคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นพ.รังสฤษฎ์ กาญจนะวณิชย์ สภาลมหายใจเชียงใหม่ สภาลมหายใจภาคเหนือ เด็ก และประชาชน รวม 10 ราย ได้ร่วมกันยื่นฟ้อง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และคณะกรรมการกำกับตลาดทุน โดยมีประชาชนมาร่วมลงชื่อสนับสนุนฟ้อง 727 คน ซึ่ง เป็นประชาชนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดในภาคเหนือ และจังหวัดอื่นๆ พวกเขาเห็นว่า มลพิษทางอากาศจาก PM 2.5 มีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสุขภาพ สิ่งแวดล้อม และสิทธิมนุษยชน ได้ยื่นคำฟ้องต่อศาลปกครองเชียงใหม่ แผนกคดีสิ่งแวดล้อม … Continue reading 727 รายชื่อยื่นฟ้อง ประยุทธ์ จัดการ PM 2.5 ไร้ประสิทธิภาพ
Category: ลาว
ประมวลโดย มนตรี จันทวงศ์กลุ่มเสรีภาพแม่น้ำโขง (The Mekong Butterfly)5 เมษายน 2566 การเปลี่ยนแปลงระดับแม่น้ำโขงจากอ่างเก็บน้ำเขื่อนปากแบ่ง โครงการเขื่อนปากแบ่ง ที่จะสร้างกั้นแม่น้ำโขงในประเทศสปป.ลาว ห่างจากชายแดนไทยบริเวณแก่งผาได อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงรายลงไปประมาณ 90 กิโลเมตร จนถึงปัจจุบันเพียงรอขั้นตอนสุดท้าย คือการลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ก็จะเริ่มดำเนินการก่อสร้างได้ แต่จนถึงปัจจุบัน ยังไม่มีการศึกษาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ว่าระดับน้ำท่วมที่ระดับเก็บกัก 340 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง (ม.รทก.) และระดับน้ำเท้อ อันเนื่องมาจากอ่างเก็บน้ำของเขื่อนปากแบ่ง จะส่งผลต่อระดับน้ำโขงในเขตประเทศไทยอย่างไร และรวมทั้งแนวเขตแดนระหว่างประเทศในแม่น้ำโขง จะเกิดการเปลี่ยนแปลงมากน้อยเพียงใด เพื่อแลกกับการซื้อไฟฟ้าจากเขื่อนปากแบ่งเพียง 897 เมกะวัตต์ ในขณะที่ภาระไฟฟ้าสำรองในระบบสูงกว่า 50% ในปัจจุบัน เอกสารนี้จะทำการสำรวจการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบที่จะเกิดขึ้น จากอ่างเก็บน้ำเขื่อนปากแบ่ง ที่ระดับเก็บกัก 340 ม.รทก. จากการสำรวจข้อมูลเส้นระดับความสูงจากแผนที่ 1:50000 เส้นระดับความสูง 340 ม.รทก. จะเลาะขอบตลิ่งแม่น้ำโขง วกเข้าน้ำสาขา เช่น น้ำงาว (ซึ่งไม่แสดงเส้นระดับความสูงในแผนที่) และน้ำอิง (เส้นระดับความสูงไปวกกลับที่บ้านทุ่งอ่าง) และเส้นระดับความสูงในแม่น้ำโขงไปสิ้นสุดที่รอยต่อบ้านโจโก้กับบ้านดอนชัย … Continue reading การเปลี่ยนแปลงระดับแม่น้ำโขงจากอ่างเก็บน้ำเขื่อนปากแบ่ง
หนังสือภาพถ่าย “แม่น้ำโขง สัมพันธ์ภาพแห่งชีวิต” (The Mekong Harmony) ส่วนหนึ่งเกิดจากความต้องการถ่ายทอดภาพอันสวยงามของแม่น้ำโขง แม่น้ำสายยาวที่ไหลผ่านนานาประเทศนับพันกิโลเมตร แต่ยังมีอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่คงค้างในใจพวกเรามายาวนาน แม้ตลอดการทำงานของพวกเราจะมีช่วงเวลาให้แทบหยุดหายใจเสมอเมื่ออยู่ท่ามกลางการโอบล้อมของทั้งแม่น้ำ ภูเขา หินผา ที่รวมเป็นทิวทัศน์และบรรยากาศอันตรึงใจ แต่เมื่อเราหยุดนิ่ง และสังเกต กลับมีอีกหลายสิ่งที่ดึงดูดเรายิ่งกว่าทิวทัศน์ เราได้เห็นมนุษย์และจังหวะการใช้ชีวิตของพวกเขา เราได้เห็นสีเขียวที่ไล่เฉดต่างกันไปของพุ่มไม้น้ำ บ้างมีดอกขาว บ้างมีผลแดงก่ำพราวทั่วต้น เราได้ยินเสียงนกต่างสายพันธุ์ร้องกระจายไปทั่วคุ้งน้ำทั้งไกลและใกล้ พร้อมเสียงกระพือปีกแยกย้ายจากดอนและแก่งยามเรือหาปลาแล่นผ่าน กลิ่นดินตะกอนหลากมาพร้อมสายน้ำ หรือหากเราเดินตามชาวประมงไป จะได้กลิ่นปลาสดใหม่ที่ดิ้นกันอยู่เต็มข้อง และแม้เราไม่ได้อยู่เป็นพยานของปรากฏการณ์ตรงนั้น แต่สิ่งเหล่านี้ก็เกิดขึ้นอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันเป็นปกติธรรมดา ผันเปลี่ยนและเวียนซ้ำตามฤดูกาลเหมือนที่ได้ดำเนินมาตลอดก่อนหน้านี้เนิ่นนาน เป็นข่ายใยชีวิตที่ล้วนประสานสอดคล้องโดยไม่อาจแยกขาดจากกันได้ คงเป็นธรรมชาติของสรรพสิ่งที่ต้องหมุนไปด้วยการพึ่งพาและเกื้อกูล เพราะสมดุลของธรรมชาตินั้นเกิดขึ้นไม่ได้จากการครอบครองกันและกัน ไม่มีสิ่งใดถือตนเป็นเจ้าของสิ่งอื่นได้ หนังสือภาพเล่มนี้จึงหวังพาผู้อ่านไปเฝ้ามองการสนทนาของธรรมชาติร่วมกับเรา ผ่านภาพถ่ายทั้งสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต ซึ่งมีวิถีของตัวเองต่างกันไปในแต่ละฤดูกาล ทั้งฤดูแล้ง ฤดูน้ำหลาก และช่วงเวลาเปลี่ยนผ่าน คัดเลือกและร้อยเรียงจากภาพถ่ายที่สะสมไว้ปีแล้วปีเล่า และการย้อนดูภาพถ่ายเหล่านี้เองที่สร้างความรู้สึกอันหนักหน่วงหลากหลายอยู่ภายใน จากทั้งภาพที่สร้างแรงบันดาลใจแก่เราเพื่อศึกษาสิ่งนั้นเพิ่มเติม ทั้งภาพที่พาเราอิ่มเอมเมื่อนึกถึงช่วงเวลาอันสวยงาม และหลายภาพที่พาเราจมกับความรู้สึกเศร้าอย่างอธิบายได้ยาก เมื่อสิ่งที่อยู่ในภาพนั้นได้สูญหาย ถูกทำลาย และเปลี่ยนแปลงไปแล้วอย่างถาวร เราคงทำใจได้ง่ายขึ้นหากการสาบสูญนั้นมาจากผลพวงของเหตุการณ์ทางธรรมชาติ แต่ที่เกิดขึ้นคือ ทั้งเกาะแก่ง นก ปลา ชุมชน วิถีชีวิตของผู้คน ฯลฯ … Continue reading หนังสือภาพ “The Mekong Harmony”
แม่น้ำโขงต้องคำสาปทรัพยากร (Resource Curse) หรือไม่ ไม่มีใครสามารถบอกได้ แต่ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและระบบนิเวศของแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นหลักประกันความมั่นคงของสรรพชีวิตทั้งปวง และการดำรงอยู่ของชุมชนลุ่มน้ำโขงหลากหลายชาติพันธุ์มาอย่างยาวนานนั้น ได้ถูกใช้ไปในมิติใหม่ นั่นคือแปรผันความอุดมสมบูรณ์ทั้งปวงที่มีอยู่ให้กลายเป็นไฟฟ้า ผ่านสิ่งก่อสร้างที่เรียกว่า “เขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ” และทำลายหลักประกันความมั่นคงของสรรพชีวิตทั้งหลายออกไป ระยะเวลาเพียงผีเสื้อกระพือปีกของประวัติศาสตร์การกำเนิดเขื่อนบนแม่น้ำโขง ตั้งแต่ปี 2536 เป็นต้นมา ที่ประเทศจีนได้เริ่มสร้างและเดินเครื่องเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนแรกคือ เขื่อนม่านวาน ที่สร้างแรงกระชากต่อวัฏจักรน้ำโขงครั้งรุนแรง นั่นคือปรากฏการณ์น้ำโขงแห้ง วัดค่าได้ต่ำมากและจนถึงวัดค่าไม่ได้ ที่สถานีเชียงแสนใน 2 ช่วงเวลาคือ ระหว่างวันที่ 19-26 เมษายน ระดับน้ำโขงอยู่ระหว่าง 0.88-1.0 เมตร และ ระหว่างวันที่ 26-28 พฤษภาคม 2536 ระดับน้ำโขงอยู่ระหว่าง 0 – 0.23 เมตร ซึ่งปรากฏการณ์นี้ทั้งคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (Mekong River Commission) และประเทศลุ่มน้ำโขงตอนล่างพร้อมใจกันเรียกว่า “ภัยแล้ง” เหมือนว่าวิกฤตินี้เป็นเพียงปรากฏการณ์ทางธรรมชาติอันธรรมดาสามัญ จนถึงปัจจุบัน ประเทศจีนได้สร้างเขื่อนบนแม่น้ำโขงแล้วเสร็จจำนวน 11 เขื่อน โดยไม่เคยแสดงเจตจำนงที่จะปรึกษาหารือใด ๆ กับประเทศลุ่มน้ำโขงตอนล่าง … Continue reading เขื่อนจีนกับ 12 ปี แห่งการขโมยน้ำโขง: อาการหน้าไหว้หลังหลอก (两面三刀) ของคนเห็นแก่ตัว (自私自利) ของจีนต่อรัฐบาลประเทศลุ่มน้ำโขงตอนล่าง
แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรม Fair Finance Thailand เรียกร้องธนาคารไทยแสดงจุดยืนต่อเขื่อนหลวงพระบาง และขอให้ธนาคารพิจารณายกเลิกสินเชื่อโครงการเขื่อนบนแม่น้ำโขงวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2564 นางสาวไพรินทร์ เสาะสาย ผู้ประสานงานองค์กรแม่น้ำนานาชาติประเทศไทย และสมาชิกแนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย (Fair Finance Thailand) เปิดเผยว่า แนวร่วมฯ ได้ส่งจดหมายถึงผู้บริหารธนาคารพาณิชย์ไทย 7 แห่ง โดยในจดหมายมีเนื้อหาเรียกร้องให้ธนาคารแสดงจุดยืนต่อโครงการเขื่อนหลวงพระบาง และขอให้พิจารณาเพิ่ม “โครงการผลิตไฟฟ้าในแม่น้ำโขงสายหลัก” ในรายการสินเชื่อต้องห้าม (exclusion list) ของธนาคาร จดหมายนี้ได้ส่งถึงผู้บริหารของ ธนาคารพาณิชย์ 7 แห่ง ได้แก่ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารไทยพานิชย์ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารทิสโก้ ธนาคารกรุงไทย และธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นธนาคารที่ให้เงินกู้ให้แก่โครงการเขื่อนไซยะบุรี นอกจากนี้จดหมายดังกล่าวยังส่งถึงสมาคมธนาคารไทย และธนาคารแห่งประเทศไทย ในฐานะหน่วยงานกำกับผู้ประสานงานกล่าวว่าก่อนหน้านี้ เมื่อเดือนกันยายน 2563 แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย และตัวแทนเครือข่ายประชาชนไทย 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขง ได้เข้าร่วมประชุมที่ธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อนำเสนอความกังวลและความเสี่ยงในการปล่อยเงินกู้แก่โครงการเขื่อนหลวงพระบาง ต่อผู้แทนธนาคารทั้ง 7 แห่ง โดยก่อนหน้านั้นในเดือนสิงหาคม … Continue reading แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรม Fair Finance Thailand เรียกร้องธนาคารไทยแสดงจุดยืนต่อเขื่อนหลวงพระบาง พร้อมพิจารณายกเลิกให้สินเชื่อ
“หัวปี ท้ายปี กับ น้ำโขงใส ไร้ตะกอน และการระบาดของสาหร่ายแม่น้ำโขง” สถานการณ์ในปี 2563 ของแม่น้ำโขงนั้นนับว่ามีความซับซ้อนเพิ่มขึ้นอย่างมาก จากปัจจัยใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น เช่น การเปิดใช้งานของเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ ไซยะบุรี ในวันที่ 29 ตุลาคม 2562 ที่ส่งผลกระทบเชิงประจักษ์มากมาย เช่น ภาวะน้ำโขงท้ายเขื่อนลดระดับจนแห้งขอด การเกิดภาวะน้ำใสไร้ตะกอน ส่งผลให้องค์ประกอบในนิเวศเปลี่ยนอย่างรุนแรงจนหลายพื้นที่ในภาคอีสานเกิดสาหร่ายแม่น้ำโขงระบาดหนักหลายเดือน, ปัจจัยจากเขื่อนจีนที่ยังคงบริหารน้ำตามใจชอบจนเกิดวิกฤติภัยแล้งต่อเนื่องยาวนาน ทั้งยังเกิดภาวะน้ำเพิ่มระดับนอกฤดูกาล, ภาวะสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงที่ซ้ำเติมให้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมในภูมิภาคแม่น้ำโขงรุนแรงเพิ่มขึ้น และปัจจัยใหม่ที่ต้องจับตาคือภาวะโรคระบาดอันส่งผลต่อการจัดสรรและการเข้าถึงแหล่งอาหารในแต่ละพื้นที่ ไม่เพียงเท่านั้น ช่วงกระแสแห่งความทุกข์ยากของประชาชนในแม่น้ำโขงที่กำลังดำเนินไปนั้น ยังเกิดบรรยากาศทางการเมืองระหว่างประเทศมหาอำนาจ ที่ใช้แม่น้ำโขงเป็นสนามของความขัดแย้ง การเมืองระดับโลกนี้ได้เกิดขึ้นทับซ้อนกับการเมืองระหว่างประเทศสมาชิกในลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง ซึ่งเราต้องจับตาและประเมินสถานการณ์กันต่อไปทั้งสองระดับ อย่างไรก็ตามปัจจัยเรื่องเขื่อนในแม่น้ำโขงยังคงเป็นปัจจัยหลักในเกิดการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศแม่น้ำโขง อย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในทันทีที่มีการเปิดใช้งานเขื่อนไซยะบุรี ด้วยปรากฎการณ์ “น้ำโขงใส ไร้ตะกอน” ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2562 จนเข้าสู่ต้นปี 2563 จนถึงเดือนเมษายน และเมื่อเข้าสู่ช่วงปลายปี 2563 ปรากฎการณ์น้ำโขงใส ไร้ตะกอน ได้ปรากฏขึ้นอีกครั้งในช่วงกลางเดือนพฤศจิกายน 2563 นับเป็นปรากฎการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ดังนั้นปรากฎการณ์ใหม่ของแม่น้ำโขง คือ “หัวปี ท้ายปี … Continue reading สรุปสถานการณ์แม่น้ำโขง 2563
รายงานฉบับนี้สรุปโดย The Mekong Butterfly การเริ่มต้นของการเปิดใช้งานเขื่อนไซยะบุรีในวันที่ 29 ตุลาคม 2562 ที่ผ่านมา ได้สร้างจุดเปลี่ยนระบบนิเวศแม่น้ำโขงตอนล่าง พร้อม ๆ กับการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศแม่น้ำโขง อย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในทันทีที่มีการเปิดใช้งานเขื่อนไซยะบุรี ด้วยปรากฎการณ์ “น้ำโขงใส ไร้ตะกอน” ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2562 จนเข้าสู่ต้นปี 2563 จนถึงเดือนเมษายน ปรากฎการณ์นี้เห็นได้ชัดเจนในแม่น้ำโขงด้านท้ายน้ำเมื่อไหลเข้าสู่พรมแดนไทย-ลาว ในเขตอำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย ลงไปตามลำน้ำโขงจนถึงเขตอำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี รวมระยะทางกว่า 800 กิโลเมตร และเมื่อเข้าสู่ช่วงปลายปี 2563 ปรากฎการณ์น้ำโขงใส ไร้ตะกอน ได้ปรากฏขึ้นอีกครั้งในช่วงกลางเดือนพฤศจิกายน 2563 นับเป็นปรากฎการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ก่อนการเปิดใช้งานเขื่อนไซยะบุรี ชาวประมงในทุกจังหวัดติดแม่น้ำโขงของประเทศไทย ระบุตรงกันว่า สภาวะน้ำโขงใส ไร้ตะกอน ในอดีตจะเกิดในช่วงเวลาสั้น ๆ ประมาณ 2-3 เดือน คือระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายนของทุกปีเท่านั้น ดังนั้นปรากฎการณ์ใหม่ของแม่น้ำโขง คือ “หัวปี ท้ายปี กับ น้ำโขงใส ไร้ตะกอน” … Continue reading แม่น้ำโขง 2563: “หัวปี ท้ายปี กับ น้ำโขงใส ไร้ตะกอน และการระบาดของสาหร่ายแม่น้ำโขง”
ธีระชัย ศาลเจริญกิจถาวร เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา สื่อมวลชนบางสำนักได้นำเสนองานวิจัยของมหาวิทยาลัยฮ่องกงภายใต้ชื่อ "วงจรแห่งพลังงาน: ความไม่เป็นธรรมทางสิ่งแวดล้อมจากห้างสรรพสินค้าในกรุงเทพฯ ถึงเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำของลาว" (Circuits of power: Environmental injustice from Bangkok’s shopping malls to Laos’ hydropower dams') ที่ชี้ให้เห็นว่าความเจริญรุ่งเรืองของกรุงเทพฯ ที่มีห้างสรรพสินค้ายักษ์ใหญ่จำนวนมากที่มีการบริโภคไฟฟ้าอย่างมหาศาล และการใช้ไฟฟ้าของผู้คนในเมืองที่ก็อาจจะไม่ได้สนใจเลยว่าไฟฟ้าเหล่านี้มาจากไหน และสร้างผลกระทบอะไรให้ใครบ้างรายงานชิ้นนี้ชี้ว่าความมั่นคงของพลังงานไฟฟ้าของเมืองไทยนั้นส่วนหนึ่งได้มาจากการนำเข้าไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้าน หนึ่งในแหล่งที่มาหลักก็คือ เขื่อนไฟฟ้าในลาวที่มีนักลงทุนต่างชาติโดยเฉพาะนักลงทุนไทยเข้าไปสร้างเขื่อน แน่ละ เพราะไม่มีใครเห็นว่าตัวเลขไฟฟ้าบนหน้าปัดมิเตอร์ไฟฟ้าหน้าบ้าน หรือแม้กระทั่งบิลค่าไฟฟ้ารายเดือนได้ชี้แจงให้เห็นว่าไฟฟ้าที่ได้มาจากไหน และตัวมันเองก็คงบอกไม่ได้ เมื่อเข้าไปสู่ระบบโครงข่ายไฟฟ้าของรัฐวิสาหกิจต่างๆ ที่ดูแลเรื่องไฟฟ้าแล้ว งานวิจัยของมหาวิทยาลัยฮ่องกงดังกล่าวช่วยให้เราตระหนักได้ว่าไฟฟ้าที่เราใช้นั้นสร้างผลกระทบอะไรต่อสภาพแวดล้อมและวิถีชีวิตของคนอื่นได้บ้าง เพราะไม่มีอะไรได้มาฟรี ๆ นอกจากต้นทุนชีวิตของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม และชีวิตผู้คนแล้ว ใกล้ตัวสุดก็คงเป็นค่าไฟนี่แหละที่อาจทำให้เราคนไทยผู้ใช้ไฟเข้าใจมากขึ้น และถ้าเราไม่ได้อ่านแผนพัฒนาพลังงานไฟฟ้าหรือ PDP กันอย่างจริงจังก็จะไม่รู้ว่า จริง ๆ แล้วประเทศไทยไม่จำเป็นต้องนำเข้าไฟฟ้าหรือสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มแต่อย่างใด นั่นก็เพราะไทยมีกำลังไฟฟ้าสำรองล้นเกินอยู่ในระบบเป็นจำนวนมาก กำลังการผลิตไฟฟ้าสำรองที่ล้นเกินและราคาที่ต้องจ่าย เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2563 โปรเจกเสวนาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Project SEVANA … Continue reading การเมืองของกำลังไฟฟ้าสำรองสู่การเป็นร้านขายแบตเตอรี่แห่งเอเชียของไทย และค่าความไม่พร้อมก็ต้องจ่าย
ชวนอ่านรายงานการศึกษาล่าสุดของ The Mekong Butterfly "ต้นทุนที่ถูกซ่อนภายใต้ข้อจำกัดด้านธรรมาภิบาลและความรับผิดชอบ ของโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำบนแม่น้ำโขง: 9 ปีของประวัติศาสตร์ที่ซ้ำรอยจากโครงการไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนไซยะบุรี" (The hidden cost of hydropower dams in the Mekong river basin: 9 years of repeated history of lack of Governance and Accountability) รายงานฉบับนี้มีความมุ่งหวังที่จะวิเคราะห์ให้เห็นถึง ต้นทุนจากโครงการสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำที่ถูกซ่อน และเป็นภาระต่อชุมชน สิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ ตั้งแต่การสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำบนแม่น้ำโขงตอนล่างแห่งแรก คือเขื่อนไซยะบุรี เมื่อ 9 ปีที่ผ่านมา และติดตามมาด้วยแผนการสร้างอื่นตัวอื่น ๆ อีก 3 แห่ง คือ โครงการเขื่อนดอนสะโฮง, เขื่อนปากแบ่ง และเขื่อนปากลาย โดยเขื่อนไซยะบุรีจะมีกำหนดจ่ายไฟฟ้าอย่างเป็นทางการให้แก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ในวันที่ 29 ตุลาคม 2562 ความเสียหายจากเขื่อนไซยะบุรีที่เกิดขึ้นกับชุมชน สิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศแม่น้ำโขง … Continue reading 9 ปีของประวัติศาสตร์ที่ซ้ำรอยจากโครงการไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนไซยะบุรี
จากเอกสารของบริษัท ซีเค พาวเวอร์ ที่เผยแพร่ให้สื่อมวลชนในการไปดูเขื่อนไซยะบุรี ระหว่างวันที่ 21-23 กรกฎาคม 2562มีจำนวน 8 หน้า นับเป็นเอกสารที่แปลก ตรงที่ไม่มีการระบุชื่อเรื่องเอกสาร แต่เมื่ออ่านแล้วก็เข้าใจได้ว่า บริษัทฯต้องการบอกว่า เขื่อนไซยะบุรี เป็นเขื่อนผลิตไฟฟ้าแบบน้ำไหลเข้าเท่ากับน้ำไหลออก ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องใด ๆ กับสถานการณ์น้ำโขงแห้งในภาคอีสานของไทย สาเหตุมาจาก เขื่อนจีนปล่อยน้ำมาน้อยประกอบกับปริมาณฝนที่ตกน้อยในรอบ 100 ปี พร้อมด้วยชุดข้อมูลอ้างอิงเรื่องน้ำโขง, น้ำฝน อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลในเอกสารทั้ง 8 หน้า ไม่ได้มีข้อมูลตัวเลขอัตราการไหลของน้ำโขง ที่ระบุให้เห็นอย่างปราศจากข้อสงสัยว่า น้ำโขงไหลเข้าเท่ากับน้ำโขงไหลออกและมีข้อมูลหลายประการในเอกสารนี้ที่มีมุมมองในด้านที่แตกต่างออกไป ดังที่จะได้กล่าวถึงต่อไปนี้ น้ำโขงมาจากไหน? เอกสารฉบับนี้ ยอมรับโดยดุษฎีว่ามองจากจุดยืนบนสันเขื่อนไซยะบุรีว่า น้ำโขงไม่ได้มาจากแหล่งน้ำตามธรรมชาติเท่านั้น แต่ยังยอมรับด้วยว่า “น้ำโขงที่มาจากการปล่อยน้ำจากเขื่อนในจีนที่ส่งผลกระทบมากที่สุด” ในจุดยืนเดียวกันกับคนที่แก่งคุดคู้ อ.เชียงคาน จ.เลย หรือที่หาดจอมมณี อ.เมือง จ.หนองคาย ก็ย่อมมองว่า “น้ำโขงที่มาจากการปล่อยน้ำจากเขื่อนในจีนและเขื่อนไซยะบุรีที่ส่งผลกระทบมากที่สุด” ได้เช่นกัน เพราะเป็นเขื่อนที่อยู่ใกล้ประเทศไทยมากที่สุด สาระสำคัญคือ บริษัทฯได้ยอมรับว่า “เขื่อน” เป็นปัจจัยสำคัญของการระบายน้ำมากหรือน้อย ซึ่งเขื่อนไซยะบุรีก็ไม่ได้มีข้อยกเว้นแต่อย่างใด Natural … Continue reading ดูน้ำโขงกันทีละหยด ไหลเข้า-ไหลออก ที่เขื่อนไซยะบุรี