สถานการณ์แม่น้ำโขงและข้อเสนอนโยบายสำหรับรัฐบาลหน้า

สถานการณ์แม่น้ำโขง และนโยบายของรัฐในปี 2565 สถานการณ์ปัญหาหลักของแม่น้ำโขง คือ การเปลี่ยนแปลงการไหลที่ไม่เป็นไปตามธรรมชาติและปริมาณตะกอนหายไป จากการสร้างเขื่อนผลิตไฟฟ้าในลุ่มน้ำโขง ทั้งในแม่น้ำโขงสายหลักในจีน, ลาว และบนลำน้ำสาขาในลาว (รวมทั้งกัมพูชา ไทย และเวียดนาม) ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศแม่น้ำโขงและการใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ของชุมชน เป็นปัญหาสะสมต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2536 และรุนแรงเพิ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2550 ต่อเนื่องมาจนถึงปีปัจจุบัน อาทิเช่น น้ำขึ้นลงผิดปกติในฤดูแล้ง ชุมชนสูญเสียรายได้จากการท่องเที่ยว, น้ำโขงขึ้นไม่เต็มตลิ่ง หญ้าไม่ตาย ไม่มีตะกอนทับถม ทำให้สูญเสียพื้นที่เกษตรริมโขง และน้ำโขงไม่ไหลเข้าลำน้ำสาขา เช่น น้ำสงคราม, ตลิ่งพัง เกิดดอนใหม่ ร่องน้ำเปลี่ยน และน้ำโขงแห้ง ส่งผลกระทบต่อ บ้านเรือนริมตลิ่ง ระบบประปา การเกษตรริมโขง และปัญหาการครอบครองที่ดินเกิดใหม่, ปลาอพยพผิดฤดู ชุมชนจับปลาได้น้อยลง สูญเสียอาชีพ รายได้ และความมั่นคงทางอาหาร, พืชไม้น้ำในแม่น้ำโขงล้มตายเป็นจำนวนมาก การสูญเสียระบบนิเวศน้ำโขง ถิ่นที่อยู่อาศัยและห่วงโซ่อาหารของปลา, การออกดอกของไม้น้ำ ในแม่น้ำโขง ที่ผิดฤดูกาล เช่น ไคร้น้ำ, หว้าน้ำ เป็นต้น, ระดับน้ำโขงที่เปลี่ยนแปลงผิดปกติในฤดูแล้ง ท่วมพื้นที่วางไข่ของนกที่อาศัยทำรังวางไข่ในช่วงฤดูแล้ง, น้ำโขงใสไร้ตะกอน เกิดการระบาดของสาหร่ายแม่น้ำโขงในฤดูแล้ง และชาวบ้านจับปลาไม่ได้ เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นทันที หลังการเปิดเขื่อนไซยะบุรีเมื่อ 29 ตุลาคม 2562 และเกิดต่อเนื่องมาจนปี 2565 และต่อเนื่องด้วยปัญหาการดำน้ำยิงพ่อแม่พันธุ์ปลาในวังหรือถ้ำใต้น้ำ, การสูญเสียเครื่องมือประมง … Continue reading สถานการณ์แม่น้ำโขงและข้อเสนอนโยบายสำหรับรัฐบาลหน้า

Advertisement

หนังสือประมวลประสบการณ์ชุมชนน้ำโขง

หนังสือ "ประมวลประสบการณ์ กระบวนการฟื้นฟูตามธรรมชาติ การฟื้นฟูนิเวศและทรัพยากรประมง ของชุมชนลุ่มน้ำโขง" เกิดขึ้นได้ท่ามกลางวิกฤติปัญหาความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศแม่น้ำโขง หลายชุมชนได้นำเสนอปัญหาและเรียกร้องให้ทั้งหน่วยงานภายในประเทศและภูมิภาค เข้ามาแก้ไขปัญหาในเชิงนโยบาย เพื่อยุติการสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ และการเยียวยาผลกระทบที่เกิดขึ้นกับชุมชนและระบบนิเวศ อย่างไรก็ตามการแก้ปัญหาเชิงนโยบายระหว่างประเทศยังคงทำได้ยาก  เนื่องจากเป็นผลมาจากการบริหารจัดการน้ำในเขื่อนของจีน และสปป.ลาว ดังนั้นควบคู่กับวิกฤติการณ์นี้ ชุมชนจึงดำเนินการอย่างเต็มที่เท่าที่ศักยภาพจะเอื้ออำนวย เพื่อให้สามารถรักษาและฟื้นฟูระบบนิเวศแม่น้ำโขงไว้ให้ได้ และเพื่อเป็นต้นแบบในการดูแลและใช้ชีวิตร่วมไปกับความหลากหลายทางชีวภาพ ทั้งด้านพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ และด้านความมั่นคงทางอาหาร เพื่อให้คนในชุมชนได้ประโยชน์ร่วมกันดังที่เคยเป็นมา ด้วยภูมิปัญญา วิถีชีวิต และความใกล้ชิตกับแม่น้ำโขงทุกลมหายใจเข้าออก ชุมชนจึงสังเกตเห็นถึงรูปแบบเฉพาะตัวในการเกิดใหม่ของกล้าไม้ธรรมชาติ เช่น ต้นอ่อนไคร้น้ำ, ไคร้นุ่น เกิดบริเวณแนวตลิ่งในระดับต่ำ และบริเวณรอบบุ่ง ซึ่งเป็นผลจากการขยายพันธุ์ตามธรรมชาติของพันธุ์ไม้ต่าง ๆ ที่เมล็ดได้ลอยตามน้ำมาเกิดขึ้นในพื้นที่ที่เหมาะแก่การเจริญเติบโต ซึ่งขณะเดียวกับในห้วงเวลาที่ระบบนิเวศโดยรวมเกิดวิกฤต นิเวศของแม่น้ำโขงทั้งสายก็ได้มีกระบวนการฟื้นฟูตัวเองตามธรรมชาติอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ ปรากฏการณ์นี้เป็นจุดตั้งต้นให้ชุมชนเห็นร่วมกันว่า ชุมชนสามารถเป็นตัวแปรหนึ่งในนิเวศที่ช่วยคงกระบวนการเยียวยาตามธรรมชาตินี้ไว้ได้ เพื่อช่วยรักษาและเติมเต็มระบบนิเวศให้กลับมาสมบูรณ์เท่าที่จะทำได้อีกครั้ง การทำงานหนักของชุมชนดังกล่าวจึงเกิดขึ้นเป็นหนังสือประมวลประสบการณ์เล่มนี้ ที่ชุมชนได้ดำเนินกิจกรรมฟื้นฟูและรักษาระบบนิเวศมีทั้งชุมชนในแม่น้ำโขงสายหลักและลำน้ำสาขา แบ่งเป็น 2 กิจกรรมใหญ่ คือ  1. การฟื้นฟูระบบนิเวศ เช่น การปล่อยลูกปลา การปลูกกล้าไม้ท้องถิ่น ฯลฯ  ชุมชนย้ายกล้าไม้ธรรมชาติมาปลูกริมหนองขา พื้นที่บ้านสามผง จ.นครพนม สร้างและเติมแหล่งอาหารอาหารจากวัสดุธรรมชาติ เช่นแพลงตอน … Continue reading หนังสือประมวลประสบการณ์ชุมชนน้ำโขง

หนังสือภาพ “The Mekong Harmony”

หนังสือภาพถ่าย “แม่น้ำโขง สัมพันธ์ภาพแห่งชีวิต” (The Mekong Harmony) ส่วนหนึ่งเกิดจากความต้องการถ่ายทอดภาพอันสวยงามของแม่น้ำโขง แม่น้ำสายยาวที่ไหลผ่านนานาประเทศนับพันกิโลเมตร แต่ยังมีอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่คงค้างในใจพวกเรามายาวนาน แม้ตลอดการทำงานของพวกเราจะมีช่วงเวลาให้แทบหยุดหายใจเสมอเมื่ออยู่ท่ามกลางการโอบล้อมของทั้งแม่น้ำ ภูเขา หินผา ที่รวมเป็นทิวทัศน์และบรรยากาศอันตรึงใจ แต่เมื่อเราหยุดนิ่ง และสังเกต กลับมีอีกหลายสิ่งที่ดึงดูดเรายิ่งกว่าทิวทัศน์ เราได้เห็นมนุษย์และจังหวะการใช้ชีวิตของพวกเขา เราได้เห็นสีเขียวที่ไล่เฉดต่างกันไปของพุ่มไม้น้ำ บ้างมีดอกขาว บ้างมีผลแดงก่ำพราวทั่วต้น เราได้ยินเสียงนกต่างสายพันธุ์ร้องกระจายไปทั่วคุ้งน้ำทั้งไกลและใกล้ พร้อมเสียงกระพือปีกแยกย้ายจากดอนและแก่งยามเรือหาปลาแล่นผ่าน กลิ่นดินตะกอนหลากมาพร้อมสายน้ำ หรือหากเราเดินตามชาวประมงไป จะได้กลิ่นปลาสดใหม่ที่ดิ้นกันอยู่เต็มข้อง และแม้เราไม่ได้อยู่เป็นพยานของปรากฏการณ์ตรงนั้น แต่สิ่งเหล่านี้ก็เกิดขึ้นอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันเป็นปกติธรรมดา ผันเปลี่ยนและเวียนซ้ำตามฤดูกาลเหมือนที่ได้ดำเนินมาตลอดก่อนหน้านี้เนิ่นนาน เป็นข่ายใยชีวิตที่ล้วนประสานสอดคล้องโดยไม่อาจแยกขาดจากกันได้ คงเป็นธรรมชาติของสรรพสิ่งที่ต้องหมุนไปด้วยการพึ่งพาและเกื้อกูล เพราะสมดุลของธรรมชาตินั้นเกิดขึ้นไม่ได้จากการครอบครองกันและกัน ไม่มีสิ่งใดถือตนเป็นเจ้าของสิ่งอื่นได้ หนังสือภาพเล่มนี้จึงหวังพาผู้อ่านไปเฝ้ามองการสนทนาของธรรมชาติร่วมกับเรา ผ่านภาพถ่ายทั้งสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต ซึ่งมีวิถีของตัวเองต่างกันไปในแต่ละฤดูกาล ทั้งฤดูแล้ง ฤดูน้ำหลาก และช่วงเวลาเปลี่ยนผ่าน คัดเลือกและร้อยเรียงจากภาพถ่ายที่สะสมไว้ปีแล้วปีเล่า และการย้อนดูภาพถ่ายเหล่านี้เองที่สร้างความรู้สึกอันหนักหน่วงหลากหลายอยู่ภายใน จากทั้งภาพที่สร้างแรงบันดาลใจแก่เราเพื่อศึกษาสิ่งนั้นเพิ่มเติม ทั้งภาพที่พาเราอิ่มเอมเมื่อนึกถึงช่วงเวลาอันสวยงาม และหลายภาพที่พาเราจมกับความรู้สึกเศร้าอย่างอธิบายได้ยาก เมื่อสิ่งที่อยู่ในภาพนั้นได้สูญหาย ถูกทำลาย และเปลี่ยนแปลงไปแล้วอย่างถาวร เราคงทำใจได้ง่ายขึ้นหากการสาบสูญนั้นมาจากผลพวงของเหตุการณ์ทางธรรมชาติ แต่ที่เกิดขึ้นคือ ทั้งเกาะแก่ง นก ปลา ชุมชน วิถีชีวิตของผู้คน ฯลฯ … Continue reading หนังสือภาพ “The Mekong Harmony”

Photography book “The Mekong Harmony”

The Mekong Harmony began with our desire to show the beauty of the Mekong River, an international river covering a distance of thousands kilometres. It has been in our minds for a long time. Embraced by the river, mountains and cliffs, the spectacular landscape always left us in awe. And as we listened and observed … Continue reading Photography book “The Mekong Harmony”

รายงานการศึกษา ย้อนรอยโขงใส ไร้ตะกอน

“ตะกอนแขวนลอยในแม่น้ำโขงทั้งสายหายไปเฉย ๆ ได้อย่างไร ?” ทั้งที่เมื่อแม่น้ำโขงไหลเข้าสู่ประเทศไทยที่อำเภอเชียงแสนยังมีความขุ่นมากจากตะกอนแขวนลอย แต่หลังจากที่ไหลเข้าสู่ประเทศลาวที่แก่งผาได อำเภอเวียงแก่น และไหลกลับสู่ชายแดนไทย-ลาวอีกครั้ง ที่อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลยนั้น น้ำโขงกลับใส ไร้ตะกอนเกือบจะโดยสิ้นเชิง หน่วยงานทั้งในประเทศไทย และองค์กรระดับภูมิภาค ที่รับผิดชอบโดยตรง ดูจะไม่อินังขังขอบ กับปรากฏการณ์นี้และผลกระทบต่อระบบนิเวศและชุมชนเท่าใดนัก เพราะยังคงกล่าวอ้างผลการศึกษาว่าน้ำโขงมีคุณภาพตามเกณฑ์ในระดับดีมาก ดังนั้น “ตะกอนแขวนลอยในแม่น้ำโขงทั้งสายหายไปเฉย ๆ ได้อย่างไร” จึงเป็นคำถามตั้งต้นของการพิสูจน์ปรากฏการที่ไม่ธรรมชาติ ของภาวะน้ำโขงใสไร้ตะกอน ด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์ที่ตรงไปตรงมาโดยประชาชนในพื้นที่ริมแม่น้ำโขง ทั้งหมด 6 จุด ร่วมไปกับการประยุกต์ข้อมูลที่วิเคราะห์มาจากรายงานของกรมทรัพยากรน้ำ และสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ คือ “โครงการศึกษาและติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดนจากโครงการไฟฟ้าพลังน้ำในแม่น้ำโขงสายประธาน”  จากหลักฐานเชิงประจักษ์ก่อนหน้านี้ ทั้งจากภาพถ่าย การสังเกตอย่างต่อเนื่องของคนในพื้นที่ และปรากฏการณ์ที่ผิดปกติของแม่น้ำ จึงเป็นเรื่องที่ปฏิเสธไม่ได้ว่า การเปิดใช้งานเขื่อนไซยะบุรีอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2562 ที่ผ่านมา ซึ่งตั้งบนแม่น้ำโขงในแขวงไซยะบุรี ช่วงที่แม่น้ำโขงไหลเข้าสู่ประเทศลาว และห่างจากชายแดนไทยเหนืออำเภอเชียงคานประมาณ 200 กิโลเมตร ซึ่งเป็นช่วงเวลาของการเริ่มต้นฤดูหนาวของปี เป็นเหตุให้เกิดปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และเกิดขึ้นในทันทีหลังการเปิดใช้งานเขื่อนไซยะบุรี คือ ปรากฏการณ์น้ำโขงใสไร้ตะกอน และการแพร่ระบาดของสาหร่ายในแม่น้ำโขงตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2562 ซึ่งพบได้ตลอดแนวแม่น้ำโขงที่เป็นพรมแดนไทย-ลาว … Continue reading รายงานการศึกษา ย้อนรอยโขงใส ไร้ตะกอน

เขื่อนจีนกับ 12 ปี แห่งการขโมยน้ำโขง: อาการหน้าไหว้หลังหลอก (两面三刀) ของคนเห็นแก่ตัว (自私自利) ของจีนต่อรัฐบาลประเทศลุ่มน้ำโขงตอนล่าง

แม่น้ำโขงต้องคำสาปทรัพยากร (Resource Curse) หรือไม่ ไม่มีใครสามารถบอกได้ แต่ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและระบบนิเวศของแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นหลักประกันความมั่นคงของสรรพชีวิตทั้งปวง และการดำรงอยู่ของชุมชนลุ่มน้ำโขงหลากหลายชาติพันธุ์มาอย่างยาวนานนั้น ได้ถูกใช้ไปในมิติใหม่ นั่นคือแปรผันความอุดมสมบูรณ์ทั้งปวงที่มีอยู่ให้กลายเป็นไฟฟ้า ผ่านสิ่งก่อสร้างที่เรียกว่า “เขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ” และทำลายหลักประกันความมั่นคงของสรรพชีวิตทั้งหลายออกไป ระยะเวลาเพียงผีเสื้อกระพือปีกของประวัติศาสตร์การกำเนิดเขื่อนบนแม่น้ำโขง ตั้งแต่ปี 2536 เป็นต้นมา ที่ประเทศจีนได้เริ่มสร้างและเดินเครื่องเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนแรกคือ เขื่อนม่านวาน ที่สร้างแรงกระชากต่อวัฏจักรน้ำโขงครั้งรุนแรง นั่นคือปรากฏการณ์น้ำโขงแห้ง วัดค่าได้ต่ำมากและจนถึงวัดค่าไม่ได้ ที่สถานีเชียงแสนใน 2 ช่วงเวลาคือ ระหว่างวันที่ 19-26 เมษายน ระดับน้ำโขงอยู่ระหว่าง 0.88-1.0 เมตร และ ระหว่างวันที่ 26-28 พฤษภาคม 2536 ระดับน้ำโขงอยู่ระหว่าง 0 – 0.23 เมตร ซึ่งปรากฏการณ์นี้ทั้งคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (Mekong River Commission) และประเทศลุ่มน้ำโขงตอนล่างพร้อมใจกันเรียกว่า “ภัยแล้ง” เหมือนว่าวิกฤตินี้เป็นเพียงปรากฏการณ์ทางธรรมชาติอันธรรมดาสามัญ จนถึงปัจจุบัน ประเทศจีนได้สร้างเขื่อนบนแม่น้ำโขงแล้วเสร็จจำนวน 11 เขื่อน โดยไม่เคยแสดงเจตจำนงที่จะปรึกษาหารือใด ๆ กับประเทศลุ่มน้ำโขงตอนล่าง … Continue reading เขื่อนจีนกับ 12 ปี แห่งการขโมยน้ำโขง: อาการหน้าไหว้หลังหลอก (两面三刀) ของคนเห็นแก่ตัว (自私自利) ของจีนต่อรัฐบาลประเทศลุ่มน้ำโขงตอนล่าง

เมื่อคนโขงบุกกรุง เหยียบย่ำเดินเท้าเว้าแทนปลา (ตอนที่ 2)

เรื่องและภาพ ธีระชัย ศาลเจริญกิจถาวร คนโขงบุกทำเนียบ EP.2 ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์รัฐบาล สำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เวลาประมาณ 15.30 น. หลังจากเดินขบวน “เดินเท้าเว้าแทนปลา” จากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตัวแทนสมาคมเครือข่ายสภาองค์กรชุมชนตำบลลุ่มน้ำโขง 7 จังหวัดภาคอีสาน ได้เข้าพบตัวแทนหน่วยงานภาครัฐ 12 หน่วยงาน ทั้งระดับกรมและกระทรวงที่มีความเกี่ยวข้องกับการจัดการปัญหาแม่น้ำโขง ณ อาคารสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ระเบียบวาระการประชุมเรื่องน้ำโขง เพื่อนำไปสู่การสร้างข้อเสนอแนะที่เป็นรูปธรรมมีประเด็นการหารือทั้งสิ้น 7 ประเด็น ตามข้อเสนอ/ข้อเรียกร้อง  7 ข้อที่ทางชุมชนริมโขงแบกมาเพื่อต่อรองกับองค์กรภาครัฐ โดยมีนายเสกสกล อัตถาวงศ์ หรือ “แรมโบ้อีสาน” ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในที่ประชุม ประเด็นที่ 1 ขอให้เร่งรัดกระทรวงการต่างประเทศดำเนินการด้านทวิภาคีระหว่างไทยกับลาว ระหว่างหน่วยงานด้านพลังงานและหน่วยงานด้านทรัพยากรน้ำและสิ่งแวดล้อม เพื่อทำงานเชิงบูรณาการความร่วมมือและความช่วยเหลือด้านการบริหารจัดการน้ำ และการแบ่งปันข้อมูล โดยจัดทำเป็นประเด็นหารือระดับผู้นำระหว่างผู้นำของไทยกับลาวให้เสร็จสิ้นภายในเดือน มี.ค. 2564 และขยายผลสู่การเจรจากับจีนโดยในการเจรจาจะต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแสดงความเห็นอย่างกว้างขวางเพื่อประโยชน์ต่อทรัพยากรธรรมชาติสูงสุดของประเทศและรักษาไว้ในคนรุ่นหลังต่อไป อ้อมบุญ ทิพย์สุนา ในนามประธานสมาคมเครือข่ายสภาองค์กรชุมชน 7 จังหวัดลุ่มน้ำโขง กล่าวว่า วันนี้เรามากันเกือบร้อยชีวิตเพื่อพูดถึงปัญหาที่เกิดขึ้นกับแม่น้ำโขง เราต้องบอกว่าขณะนี้แม้จะมีกลไกระหว่างประเทศแต่นั่นก็ไม่เพียงพอในการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการสร้างเขื่อนที่ทำให้เกิดผลกระทบข้ามพรมแดน งานวิจัยของสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ … Continue reading เมื่อคนโขงบุกกรุง เหยียบย่ำเดินเท้าเว้าแทนปลา (ตอนที่ 2)

เมื่อคนโขงบุกกรุง เหยียบย่ำเดินเท้าเว้าแทนปลา (ตอนที่ 1)

เรื่องและภาพโดย ธีระชัย ศาลเจริญกิจถาวร "เดินเท้า เว้าแทนปลา" คนโขงบุกทำเนียบ พร้อมยื่นข้อเสนอ 7 ข้อ หลังการตั้งคณะกรรมการกลางเพื่อแก้ไขปัญหาแม่น้ำโขงเงียบหายไปกับสายลมนานเกือบปี นับแต่มีการก่อสร้างเขื่อนไซยะบุรีและการเดินเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ส่งขายไฟฟ้าเข้ามาในระบบการไฟฟ้าที่มีผู้รับซื้ออย่างการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เมื่อเดือนตุลาคม 2562 ความเปลี่ยนแปลงของแม่น้ำโขงเกิดขึ้นอย่างชัดเจน ยากที่จะอธิบายอย่างหลีกเลี่ยงว่าปรากฏการณ์แม่น้ำโขงสีคราม สวยใสไร้ตะกอนนั้น ไม่ได้มาจากการสร้างเขื่อนบนแม่น้ำโขงสายหลัก อาการของมหันตภัยจากเขื่อนที่กระทบต่อระบบนิเวศและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนริมโขงถูกพูดถึงบนแม่น้ำโขงผ่านสื่อหลายประเภทจนเห็นเป็นประจักษ์พยานแล้วว่าแม่น้ำโขงวิกฤตจากสาเหตุใดเป็นหลัก ก่อนวันหยุดเขื่อนโลก (14 มีนาคมของทุกปี) เพียงสามวันคนโขงในฝ่ายประเทศจาก 7 จังหวัด ประกอบด้วย เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี กว่า 50 ชีวิต จึงได้เดินทางเข้าใจกลางกรุงเทพมหานครที่หน่วยงานละแวกทำเนียบรัฐบาลเพื่อบอกเล่าปัญหาที่พวกเขาต้องพบเจอมานานนับหลายปี ไปจนถึงเสนอข้อเรียกร้องเข้าเจราจากับหน่วยงานรัฐกว่า 12 หน่วยงาน เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาด้วยการสร้างกลไกที่เป็นรูปธรรมและปฏิบัติงานได้จริง ซีรีส์บทความ “เดินเท้าเว้นแทนปลา” นี้จะเป็นการบันทึกเหตุการณ์และข้อความหรือข้อสรุปต่าง ๆ ที่ได้จากบทสนทนาระหว่างเครือข่ายภาคประชาสังคม ตัวแทนประชาชนริมโขงจากทั้ง  7 จังหวัด กับ หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการจัดการปัญหาและความสัมพันธ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมที่เกิดขึ้นบนแม่น้ำโขง โดยในบทความแรกนี้จะเป็นการสรุปบันทึกการพูดคุยและเจรจาระหว่างตัวแทนภาคประชาชนริมโขง และ … Continue reading เมื่อคนโขงบุกกรุง เหยียบย่ำเดินเท้าเว้าแทนปลา (ตอนที่ 1)

แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรม Fair Finance Thailand เรียกร้องธนาคารไทยแสดงจุดยืนต่อเขื่อนหลวงพระบาง พร้อมพิจารณายกเลิกให้สินเชื่อ

แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรม Fair Finance Thailand เรียกร้องธนาคารไทยแสดงจุดยืนต่อเขื่อนหลวงพระบาง และขอให้ธนาคารพิจารณายกเลิกสินเชื่อโครงการเขื่อนบนแม่น้ำโขงวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2564 นางสาวไพรินทร์ เสาะสาย ผู้ประสานงานองค์กรแม่น้ำนานาชาติประเทศไทย และสมาชิกแนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย (Fair Finance Thailand) เปิดเผยว่า แนวร่วมฯ ได้ส่งจดหมายถึงผู้บริหารธนาคารพาณิชย์ไทย 7 แห่ง โดยในจดหมายมีเนื้อหาเรียกร้องให้ธนาคารแสดงจุดยืนต่อโครงการเขื่อนหลวงพระบาง และขอให้พิจารณาเพิ่ม “โครงการผลิตไฟฟ้าในแม่น้ำโขงสายหลัก” ในรายการสินเชื่อต้องห้าม (exclusion list) ของธนาคาร จดหมายนี้ได้ส่งถึงผู้บริหารของ ธนาคารพาณิชย์ 7 แห่ง ได้แก่ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารไทยพานิชย์ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารทิสโก้ ธนาคารกรุงไทย และธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นธนาคารที่ให้เงินกู้ให้แก่โครงการเขื่อนไซยะบุรี นอกจากนี้จดหมายดังกล่าวยังส่งถึงสมาคมธนาคารไทย และธนาคารแห่งประเทศไทย ในฐานะหน่วยงานกำกับผู้ประสานงานกล่าวว่าก่อนหน้านี้ เมื่อเดือนกันยายน 2563  แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย และตัวแทนเครือข่ายประชาชนไทย 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขง ได้เข้าร่วมประชุมที่ธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อนำเสนอความกังวลและความเสี่ยงในการปล่อยเงินกู้แก่โครงการเขื่อนหลวงพระบาง ต่อผู้แทนธนาคารทั้ง 7 แห่ง โดยก่อนหน้านั้นในเดือนสิงหาคม … Continue reading แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรม Fair Finance Thailand เรียกร้องธนาคารไทยแสดงจุดยืนต่อเขื่อนหลวงพระบาง พร้อมพิจารณายกเลิกให้สินเชื่อ