แม่น้ำโขงต้องคำสาปทรัพยากร (Resource Curse) หรือไม่ ไม่มีใครสามารถบอกได้ แต่ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและระบบนิเวศของแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นหลักประกันความมั่นคงของสรรพชีวิตทั้งปวง และการดำรงอยู่ของชุมชนลุ่มน้ำโขงหลากหลายชาติพันธุ์มาอย่างยาวนานนั้น ได้ถูกใช้ไปในมิติใหม่ นั่นคือแปรผันความอุดมสมบูรณ์ทั้งปวงที่มีอยู่ให้กลายเป็นไฟฟ้า ผ่านสิ่งก่อสร้างที่เรียกว่า “เขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ” และทำลายหลักประกันความมั่นคงของสรรพชีวิตทั้งหลายออกไป ระยะเวลาเพียงผีเสื้อกระพือปีกของประวัติศาสตร์การกำเนิดเขื่อนบนแม่น้ำโขง ตั้งแต่ปี 2536 เป็นต้นมา ที่ประเทศจีนได้เริ่มสร้างและเดินเครื่องเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนแรกคือ เขื่อนม่านวาน ที่สร้างแรงกระชากต่อวัฏจักรน้ำโขงครั้งรุนแรง นั่นคือปรากฏการณ์น้ำโขงแห้ง วัดค่าได้ต่ำมากและจนถึงวัดค่าไม่ได้ ที่สถานีเชียงแสนใน 2 ช่วงเวลาคือ ระหว่างวันที่ 19-26 เมษายน ระดับน้ำโขงอยู่ระหว่าง 0.88-1.0 เมตร และ ระหว่างวันที่ 26-28 พฤษภาคม 2536 ระดับน้ำโขงอยู่ระหว่าง 0 – 0.23 เมตร ซึ่งปรากฏการณ์นี้ทั้งคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (Mekong River Commission) และประเทศลุ่มน้ำโขงตอนล่างพร้อมใจกันเรียกว่า “ภัยแล้ง” เหมือนว่าวิกฤตินี้เป็นเพียงปรากฏการณ์ทางธรรมชาติอันธรรมดาสามัญ จนถึงปัจจุบัน ประเทศจีนได้สร้างเขื่อนบนแม่น้ำโขงแล้วเสร็จจำนวน 11 เขื่อน โดยไม่เคยแสดงเจตจำนงที่จะปรึกษาหารือใด ๆ กับประเทศลุ่มน้ำโขงตอนล่าง … Continue reading เขื่อนจีนกับ 12 ปี แห่งการขโมยน้ำโขง: อาการหน้าไหว้หลังหลอก (两面三刀) ของคนเห็นแก่ตัว (自私自利) ของจีนต่อรัฐบาลประเทศลุ่มน้ำโขงตอนล่าง
Category: เวียดนาม
ชวนอ่านรายงานการศึกษาล่าสุดของ The Mekong Butterfly "ต้นทุนที่ถูกซ่อนภายใต้ข้อจำกัดด้านธรรมาภิบาลและความรับผิดชอบ ของโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำบนแม่น้ำโขง: 9 ปีของประวัติศาสตร์ที่ซ้ำรอยจากโครงการไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนไซยะบุรี" (The hidden cost of hydropower dams in the Mekong river basin: 9 years of repeated history of lack of Governance and Accountability) รายงานฉบับนี้มีความมุ่งหวังที่จะวิเคราะห์ให้เห็นถึง ต้นทุนจากโครงการสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำที่ถูกซ่อน และเป็นภาระต่อชุมชน สิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ ตั้งแต่การสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำบนแม่น้ำโขงตอนล่างแห่งแรก คือเขื่อนไซยะบุรี เมื่อ 9 ปีที่ผ่านมา และติดตามมาด้วยแผนการสร้างอื่นตัวอื่น ๆ อีก 3 แห่ง คือ โครงการเขื่อนดอนสะโฮง, เขื่อนปากแบ่ง และเขื่อนปากลาย โดยเขื่อนไซยะบุรีจะมีกำหนดจ่ายไฟฟ้าอย่างเป็นทางการให้แก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ในวันที่ 29 ตุลาคม 2562 ความเสียหายจากเขื่อนไซยะบุรีที่เกิดขึ้นกับชุมชน สิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศแม่น้ำโขง … Continue reading 9 ปีของประวัติศาสตร์ที่ซ้ำรอยจากโครงการไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนไซยะบุรี
เรื่องและกราฟิกโดย มนตรี จันทวงศ์ เสียงของหมาป่าจากต้นน้ำหลานชางเจียง[1] ข่าวคำแถลงของโฆษกสถานเอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทย ว่าด้วยคำวิพากษ์วิจารณ์ที่เกี่ยวกับจีนในปัญหาน้ำแม่น้ำโขง เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม[2] ประกอบกับข่าวการแจ้งเตือนของ MRC เกี่ยวกับการลดการระบายน้ำของเขื่อนจินฮง ในวันที่ 3 กรกฎาคมที่ผ่านมา[3] ย่อมไม่ใช่เหตุบังเอิญ แต่เป็นการวางจังหวะให้คำแถลงของสถานฑูตจีนในไทย ให้อยู่ในช่วงเวลาเดียวกัน เพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับการลดการระบายน้ำของเขื่อนจินฮง โดยอ้างผลประโยชน์ที่คนลุ่มน้ำโขงตอนล่างจะได้รับ และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ดี โดยเฉพาะการอ้างว่า “ฝ่ายจีนสร้างเขื่อนแบบขั้นบันไดตามแม่น้ำล้านช้าง เป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของอากาศ สถานีกำเนิดไฟฟ้าแบบขั้นบันไดนั้นปล่อยน้ำในหน้าแล้ง กักเก็บน้ำในหน้าฝน ซึ่งจะเป็นการ “ปรับลดน้ำท่วม เพิ่มน้ำหน้าแล้ง” ต่อแม่น้ำโขง หลังการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ปริมาณน้ำที่ไหลออกนอกประเทศของแม่น้ำล้านช้างได้เพิ่ม 70% ในหน้าแล้ง และลดลง 30% ในหน้าฝนเมื่อเทียบกับสภาพแบบธรรมชาติเดิม ซึ่งได้ลดค่าเสียหายทางเศรษฐกิจของมวลประชาชนสองฟากฝั่งอันเกิดจากระดับน้ำแม่น้ำโขงเปลี่ยนแปลงผิดปกติ” และอ้างถึง “เพื่อสร้างสรรค์สิ่งที่ดีงามให้กับประชาชนในภูมิภาค เพื่อความร่วมมืออันดีในอนุภูมิภาคฯ” รวมทั้งถ้อยแถลงที่ผ่าน MRC ยังระบุว่า การลดการระบายน้ำของเขื่อนจินฮง จะไม่สร้างผลกระทบที่สำคัญต่อลุ่มน้ำโขงตอนล่าง ผู้เขียนใคร่ขอแสดงทัศนะไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง ต่อคำแถลงของทางการจีนทั้งที่ผ่านสถานฑูตและMRC ซึ่งเป็นการแถลงเข้าข้างตนเองเพียงฝ่ายเดียว ไม่ต่างกับนิทานหมาป่ากับลูกแกะ ด้วยเหตุผลดังนี้ ประการที่หนึ่ง จีนได้สร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำบนแม่น้ำโขงเขื่อนแรกคือเขื่อนม่านวาน มาตั้งแต่ปี 2536 … Continue reading เสียงของหมาป่าจากต้นน้ำหลานชางเจียง