แถลงการณ์ 46 องค์กรภาคประชาสังคมต่อกรณีที่รัฐไทยผลักดันผู้ลี้ภัยของกองกำลังปกป้องประชาชนให้กับเผด็จการทหารเมียนมา

คณะเผด็จการทหารเมียนมาที่ขึ้นสู่อำนาจโดยการรัฐประหาร ยึดอำนาจรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ทำลายการยืนยันถึงอำนาจสูงสุดของประชาชนชาวเมียนมาทั้งปวงแทนที่จะเป็นรัฐบาลเอกภาพแห่งชาติ หรือ National Unity Government: NUG ที่เป็นตัวแทนของประชาชนที่สนับสนุนอุดมการณ์ประชาธิปไตย รายงานจากสมาคมช่วยเหลือนักโทษการเมืองระบุว่า ณ วันที่ 10 เมษายน 2566 มีประชาชนถูกจับกุมคุมขัง รวมทั้งสิ้น 21,300 คน และถูกสังหารไปแล้วกว่า 3,229 นับตั้งแต่เกิดการรัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564  ประชาชนเมียนมาได้รวมกลุ่มก่อตั้งกองกำลังปกป้องประชาชน (People Defense Force :PDF) ขึ้นเพื่อต่อต้านการรัฐประหารของเผด็จการทหารเมียนมา  ต่อมาเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2566 สำนักข่าวหลายแห่งของเมียนมารายงานตรงกันว่าหน่วยงานภาครัฐ โดยสำนักงานตำรวจตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) ของไทยได้ทำการจับกุมทหารของกองกำลังปกป้องประชาชน (People Defense Force: PDF) ที่ออกมาต่อต้านการรัฐประหารของคณะเผด็จการทหารเมียนมาจำนวน 3 นาย ให้กับคณะเผด็จการทหารเมียนมาผ่านการส่งมอบตัวให้กับกองกำลังพิทักษ์ชายแดน (Border Guard Force: BGF) ที่ด่านชายแดนไทย - เมียนมา ปัจจุบันพบทราบว่าทั้ง … Continue reading แถลงการณ์ 46 องค์กรภาคประชาสังคมต่อกรณีที่รัฐไทยผลักดันผู้ลี้ภัยของกองกำลังปกป้องประชาชนให้กับเผด็จการทหารเมียนมา

727 รายชื่อยื่นฟ้อง ประยุทธ์ จัดการ PM 2.5 ไร้ประสิทธิภาพ

ประชาชน 727 คน สนับสนุนยื่นฟ้อง ‘ประยุทธ์’ ต่อศาลปกครองเชียงใหม่ กรณีการจัดการฝุ่น PM 2.5 ไร้พรมแดน ประชาสังคมชี้ ก.ล.ต. คณะกรรมการกำกับตลาดทุนต้องเร่งกำกับดูแล กำหนดมาตรการและบทลงโทษที่ชัดเจนต่อกลุ่มทุนไทย สกัดต้นตอการดำเนินธุรกิจที่ไม่เป็นมิตรกับสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อม เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2566 เครือข่ายประชาชนภาคเหนือ นักวิชาการคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นพ.รังสฤษฎ์ กาญจนะวณิชย์ สภาลมหายใจเชียงใหม่ สภาลมหายใจภาคเหนือ เด็ก และประชาชน รวม 10 ราย ได้ร่วมกันยื่นฟ้อง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และคณะกรรมการกำกับตลาดทุน โดยมีประชาชนมาร่วมลงชื่อสนับสนุนฟ้อง 727 คน ซึ่ง เป็นประชาชนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดในภาคเหนือ และจังหวัดอื่นๆ พวกเขาเห็นว่า มลพิษทางอากาศจาก PM 2.5 มีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสุขภาพ สิ่งแวดล้อม และสิทธิมนุษยชน ได้ยื่นคำฟ้องต่อศาลปกครองเชียงใหม่ แผนกคดีสิ่งแวดล้อม … Continue reading 727 รายชื่อยื่นฟ้อง ประยุทธ์ จัดการ PM 2.5 ไร้ประสิทธิภาพ

ภาคประชาสังคมประณามเหมืองแร่ไทยในเมียนมาจำกัดเสรีภาพสื่อ กรณีฟ้องหมิ่นประมาท บ.ก. GreenNews

เครือข่ายภาคประชาสังคมข้ามพรมแดนไทย-เมียนมา ออกแถลงการณ์กรณีบริษัทเหมืองแร่ไทยในเมียนมา แจ้งความดำเนินคดีต่อบรรณาธิการสำนักข่าวสิ่งแวดล้อม (GreenNews) โดยเรียกร้องให้อัยการจังหวัดนครปฐมมีคำสั่งไม่ฟ้อง เพื่อเป็นการยืนยันและสนับสนุนเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น แถลงการณ์ดังกล่าว ระบุว่า เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2563 พนักงานสอบสวน สถานีตำรวจภูธรเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม ได้ออกหมายเรียกผู้ต้องหาครั้งที่ 1 ถึง นายปรัชญ์ รุจิวนารมย์ ในฐานะบรรณาธิการสำนักข่าวสิ่งแวดล้อม (GreenNews) ในขณะนั้น โดยในหมายเรียกดังกล่าวระบุว่า นายเกรียงไกร ชวาลตันพิพัทธ์ เป็นผู้กล่าวหา และมีบรรณาธิการสำนักข่าวสิ่งแวดล้อม ถูกกล่าวหาว่าหมิ่นประมาทผู้อื่นด้วยการโฆษณา จึงส่งหมายเรียกให้ไปรับทราบข้อกล่าวหาที่ สภ.ตำรวจภูธรเมืองนครปฐม  จากนั้น นายปรัชญ์ รุจิวนารมย์ พร้อมด้วยทนายความได้เดินทางไปพบเจ้าพนักงานสอบสวน สภ.เมืองนครปฐม ตามการนัดหมายอีกหลายครั้ง รวมทั้งสิ้น 4 ครั้ง จนเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2564 เจ้าหน้าที่ตำรวจฝ่ายสอบสวน สภ.เมืองนครปฐม นัดส่งสำนวนฟ้องต่ออัยการ ณ สำนักงานอัยการ จังหวัดนครปฐม โดยในเวลาต่อมาทางผู้ถูกกล่าวหาจะดำเนินการทำหนังสือร้องขอความเป็นธรรมต่ออัยการ เพื่อให้มีการสั่งไม่ฟ้องในคดีดังกล่าวต่อศาล และให้ทางอัยการทำการสอบสวนพยานและส่งเอกสารข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมต่อไป โดยทางอัยการจังหวัดนครปฐม นัดรายงานตัวในวันที่ … Continue reading ภาคประชาสังคมประณามเหมืองแร่ไทยในเมียนมาจำกัดเสรีภาพสื่อ กรณีฟ้องหมิ่นประมาท บ.ก. GreenNews

76 ภาคประชาสังคม ไทย-เทศ ร่อนจดหมายเปิดผนึกถึง ปตท – หยุดเป็นท่อน้ำเลี้ยงทหารพม่า

20 พฤษภาคม 64 (กรุงเทพฯ) คณะทำงานติดตามความรับผิดชอบของการลงทุนข้ามพรมแดน (ETOs Watch) เปิดเผยจดหมายเปิดผนึกซึ่งส่งถึง ปตท และ ปตท.สผ. เพื่อให้ระงับและงดส่งจ่ายเงินจากก๊าซธรรมชาติให้กับกองทัพเมียนมา เพื่อยุติการละเมิดสิทธิมนุษยชนในเมียนมา 76 องค์กรพัฒนาเอกชน ภาคประชาสังคมด้านธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ทั้งไทย เมียนมา และนานาชาติร่วมลงชื่อ ชี้ชัดเงินค่าก๊าซธรรมชาติอยู่ในการควบคุมของกองทัพ หวั่นส่งเสริมการประหัตประหารประชาชน นายธีระชัย ศาลเจริญกิจถาวร ผู้ประสานงานคณะทำงาน กล่าวว่า “เราเรียกร้องให้ ปตท.งดจ่ายเงินให้กับบริษัทรัฐวิสาหกิจที่ดูแลเรื่องน้ำมันและก๊าซของพม่าในขณะเพราะแม้ว่าโดยหลักการแล้วบริษัทนี้จะเป็นของรัฐบาลเมียนมา แต่การควบคุมอำนาจในการบริหารหน่วยงานแบบเบ็ดเสร็จของคณะรัฐประหารเมียนมาทำให้บริษัทรัฐวิสาหกิจซึ่งควรจะมีรัฐบาลจากการเลือกตั้งของประชาชนเป็นเจ้าของนั้นไม่อาจรับประกันได้อีกต่อไปว่ารายได้จาก ปตท ในฐานะผู้ซื้อตามสัญญาจะถูกนำไปใช้จ่ายเพื่อกิจการพลเรือนและผลประโยชน์ต่อประชาชนชาวเมียนมาอย่างแท้จริง ความไม่โปร่งใสและการใช้อำนาจฉ้อฉล ทั้งยังดิบเถื่อนของกองทัพเมียนมาต่อประชาชนในประเทศตนเองที่เป็นอยู่ในขณะนี้นั้นทำให้เรากังวลเป็นอย่างมากว่าเงินรายได้ในส่วนนี้จะถูกแปรเป็นอาวุธหรือกระสุนปืนที่สาดใส่แก่ประชาชนผู้บริสุทธิ์” ก่อนหน้านี้ คณะกรรมการตัวแทนสภาแห่งสหภาพ หรือ Committee Representing Pyidaungsu Hluttaw: CRPH ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนชาวเมียนมา ได้ส่งหนังสือไปยังกลุ่มธุรกิจหรือรัฐวิสาหกิจจากต่างประเทศที่เข้ามาลงทุนในประเทศโดยเฉพาะในกิจการการลงทุนด้านการค้าน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ เรียกร้องให้ระงับกิจการการลงทุนและตัดสายสัมพันธ์ในการทำธุรกิจร่วมกับกองทัพเมียนมาในทันที อีกทั้งเรียกร้องให้บริษัทที่ร่วมทุนนำรายได้ที่ต้องจ่ายไปยังบริษัท Myanmar Oil and Gas Enterprise (MOGE) ซึ่งเป็นบริษัทรัฐวิสาหกิจที่ขณะนี้อยู่ภายใต้การควบคุมของคณะรัฐประหารเผด็จการกองทัพเมียนมาไปไว้ยังบัญชีที่ได้รับการปกป้อง (protected/escrow account) เนื่องจากพวกเขาเกรงว่ารายได้จากการประกอบธุรกิจนี้จะเป็นเงินที่ป้อนเข้าสู่กระเป๋าของกองทัพเมียนมาโดยตรง โดยหนังสือดังกล่าวมีข้อเรียกร้องที่อ้างไปถึง … Continue reading 76 ภาคประชาสังคม ไทย-เทศ ร่อนจดหมายเปิดผนึกถึง ปตท – หยุดเป็นท่อน้ำเลี้ยงทหารพม่า

ข้อเท็จจริง 8 ประการจากผู้เชี่ยวชาญและจากพื้นที่แม่น้ำโขง กรณีเขื่อนไซยะบุรี ที่มีการเผยแพร่ในหนังสือพิมพ์ ฉบับวันที่ 29 ตุลาคม2562

ข้อเท็จจริง 8 ประการจากผู้เชี่ยวชาญและจากพื้นที่แม่น้ำโขง กรณีเขื่อนไซยะบุรี ที่มีการเผยแพร่ในหนังสือพิมพ์ ฉบับวันที่ 29 ตุลาคม2562 โดย เครือข่ายประชาชนไทย 8 จังหวัดแม่น้ำโขง 7 พฤศจิกายน 2562 สืบเนื่องจากการเผยแพร่ข้อมูลผ่านหนังสือพิมพ์หลายฉบับในวันที่ 29 ตุลาคม 2562 ซึ่งเป็นวันที่เขื่อนไซยะบุรี เริ่มผลิตไฟฟ้าเพื่อขายอย่างเป็นทางการให้แก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) นั้น เครือข่ายประชาชนไทย 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขง ซึ่งทำงานติดตามกรณีผลกระทบจากการพัฒนาบนแม่น้ำโขงมาตลอด ขอมีข้อชี้แจง ดังนี้ 1.ข้อเท็จจริงที่อวดอ้างบนสื่อ: “โรงไฟฟ้าต้นแบบ “ฝายทดน้ำขนาดใหญ่” Run of river มีการอธิบายว่าโรงไฟฟ้าไซยะบุรี ผลิตไฟฟ้าโดยอาศัยการยกระดับน้ำ บริหารจัดการน้ำแบบ in flow = out flow  ยกระดับเท่าตลิ่งในช่วงฤดูน้ำหลาก ยกระดับเพียง 1 ครั้งตลอดอายุของโรงไฟฟ้า ไม่มีอ่างเก็บน้ำ ข้อเท็จจริงจากผู้เชี่ยวชาญและจากพื้นที่: แม้จะเรียกตัวเองว่า “ฝายทดน้ำ” แต่โครงสร้างของเขื่อนไซยะบุรีเป็นโครงสร้างขนาดใหญ่ พาดผ่านกลางลำน้ำโขง ไม่อาจปฏิเสธได้ว่า คือ … Continue reading ข้อเท็จจริง 8 ประการจากผู้เชี่ยวชาญและจากพื้นที่แม่น้ำโขง กรณีเขื่อนไซยะบุรี ที่มีการเผยแพร่ในหนังสือพิมพ์ ฉบับวันที่ 29 ตุลาคม2562

แถลงการณ์จากการประชุมเจรจากับบริษัทต้าถังกรณีโครงการเขื่อนปากแบง เครือข่ายประชาชนไทย 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขง 17 มกราคม 2561

จากการประชุมเจรจาหารือระหว่างผู้แทนบริษัทต้าถัง(ลาว) เขื่อนไฟฟ้าปากแบ่ง จำกัด และตัวแทนภาคประชาชนริมแม่น้ำโขง เมื่อวันที่ 15 มกราคม ที่ผ่านมานั้น พวกเราได้แสดงจุดยืนชัดเจนในการปกป้องแม่น้ำโขงและวิถีชีวิตของประชาชนในลุ่มน้ำ เราเรียกแม่น้ำสายนี้ว่าแม่น้ำของ และแม่น้ำโขง  คำว่าแม่ในภาษาไทย ลาว เขมร แปลว่าเป็นผู้ให้กำเนิดของพวกเรา เป็นแม่น้ำของพวกเราทุกคน ไม่ใช่เฉพาะเชียงของ ปากแบง หรือของประเทศไทย หรือประเทศใด เพราะแม่น้ำโขงเป็นทรัพยากรข้ามพรมแดน ในการเจรจาและตัดสินใจใดๆ เราต้องเคารพถึงความคิดของแต่ละฝ่าย ทั้งพี่น้องชาวบ้านที่อาศัยเป็นแหล่งหล่อเลี้ยงชีวิต ต้องคำนึงถึงทุกคนให้มีส่วนร่วม Inclusive Development และต้องเป็นการพัฒนาที่คำนึงถึงองค์ความรู้ Knowledge-based Development  เป็นฐานในการพัฒนาและการพัฒนาอย่างยั่งยืน (ขอบคุณภาพถ่ายจาก: มูลนิธิแม่น้ำนานาชาติ) ในการประชุมดังกล่าว เราได้รับการติดต่อมาว่าจะเป็นการประชุมร่วมกับบริษัทจากจีน แต่ก็พบว่ามีตัวแทนของรัฐบาลลาว นำคณะเข้าร่วมด้วย คือ ดร.จันแสวง บุนนอง อธิบดีกรมนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน สปป.ลาว และผู้เชี่ยวชาญจากบริษัทที่ปรึกษา Norconsult ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับโครงการเขื่อนปากแบง จากการประชุมครั้งนี้ พวกเรายืนยันว่า มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้ความสำคัญกับการศึกษา รวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับแม่น้ำโขงทั้งลุ่มน้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลกระทบจากการสร้างเขื่อนทางตอนบนในจีน ซึ่งสร้างความเสียหายต่อระบบนิเวศมาตลอด 2 ทศวรรษที่ผ่านมา มีความจำเป็นที่จะต้องทบทวนการพัฒนา สร้างการคิดใหม่ … Continue reading แถลงการณ์จากการประชุมเจรจากับบริษัทต้าถังกรณีโครงการเขื่อนปากแบง เครือข่ายประชาชนไทย 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขง 17 มกราคม 2561