เขื่อนจีนกับ 12 ปี แห่งการขโมยน้ำโขง: อาการหน้าไหว้หลังหลอก (两面三刀) ของคนเห็นแก่ตัว (自私自利) ของจีนต่อรัฐบาลประเทศลุ่มน้ำโขงตอนล่าง

แม่น้ำโขงต้องคำสาปทรัพยากร (Resource Curse) หรือไม่ ไม่มีใครสามารถบอกได้ แต่ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและระบบนิเวศของแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นหลักประกันความมั่นคงของสรรพชีวิตทั้งปวง และการดำรงอยู่ของชุมชนลุ่มน้ำโขงหลากหลายชาติพันธุ์มาอย่างยาวนานนั้น ได้ถูกใช้ไปในมิติใหม่ นั่นคือแปรผันความอุดมสมบูรณ์ทั้งปวงที่มีอยู่ให้กลายเป็นไฟฟ้า ผ่านสิ่งก่อสร้างที่เรียกว่า “เขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ” และทำลายหลักประกันความมั่นคงของสรรพชีวิตทั้งหลายออกไป ระยะเวลาเพียงผีเสื้อกระพือปีกของประวัติศาสตร์การกำเนิดเขื่อนบนแม่น้ำโขง ตั้งแต่ปี 2536 เป็นต้นมา ที่ประเทศจีนได้เริ่มสร้างและเดินเครื่องเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนแรกคือ เขื่อนม่านวาน ที่สร้างแรงกระชากต่อวัฏจักรน้ำโขงครั้งรุนแรง นั่นคือปรากฏการณ์น้ำโขงแห้ง วัดค่าได้ต่ำมากและจนถึงวัดค่าไม่ได้ ที่สถานีเชียงแสนใน 2 ช่วงเวลาคือ ระหว่างวันที่ 19-26 เมษายน ระดับน้ำโขงอยู่ระหว่าง 0.88-1.0 เมตร และ ระหว่างวันที่ 26-28 พฤษภาคม 2536 ระดับน้ำโขงอยู่ระหว่าง 0 – 0.23 เมตร ซึ่งปรากฏการณ์นี้ทั้งคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (Mekong River Commission) และประเทศลุ่มน้ำโขงตอนล่างพร้อมใจกันเรียกว่า “ภัยแล้ง” เหมือนว่าวิกฤตินี้เป็นเพียงปรากฏการณ์ทางธรรมชาติอันธรรมดาสามัญ จนถึงปัจจุบัน ประเทศจีนได้สร้างเขื่อนบนแม่น้ำโขงแล้วเสร็จจำนวน 11 เขื่อน โดยไม่เคยแสดงเจตจำนงที่จะปรึกษาหารือใด ๆ กับประเทศลุ่มน้ำโขงตอนล่าง … Continue reading เขื่อนจีนกับ 12 ปี แห่งการขโมยน้ำโขง: อาการหน้าไหว้หลังหลอก (两面三刀) ของคนเห็นแก่ตัว (自私自利) ของจีนต่อรัฐบาลประเทศลุ่มน้ำโขงตอนล่าง

Deserted factory; empty operation center and residual responsibility of Thai sugar investor in Koh Kong

Story and Photos by Teerachai Sanjaroenkijthaworn   The academic operation center; biofertilizer bags as well as piles of chemical bottles labeled and explained in Thai language had been crossed the border and scattered over a vast area.  Almost 20,000 hectares of land located in Sre Ambel district, Koh Kong Province in Cambodia was originally full … Continue reading Deserted factory; empty operation center and residual responsibility of Thai sugar investor in Koh Kong

โรงงานร้าง ศูนย์ปฏิบัติการฯ อันว่างเปล่า และความรับผิดชอบที่ตกค้างของทุนน้ำตาลไทยในเกาะกง

เรื่องและภาพ โดย ธีระชัย ศาลเจริญกิจถาวร ศูนย์ปฏิบัติการวิชาการ ถุงปุ๋ยชีวภาพ และกองขวดสารเคมีเกลื่อนกลาด ที่มีข้อความกำกับและอธิบายเป็นภาษาไทยนี้ข้ามเขตแดนไทยมาปรากฏอยู่บนพื้นที่กว้างไกลสุดลูกหูลูกตา ที่แต่เดิมเต็มไปด้วยอ้อยจำนวนมากมายมหาศาลกว่าเกือบ 20,000 เฮกตาร์ ในพื้นที่อำเภอสเรอัมเบล จังหวัดเกาะกง ประเทศกัมพูชา ซึ่งเป็นพื้นที่สัมปทานเพื่อปลูกอ้อยและจัดตั้งโรงงานน้ำตาลของบริษัท เกาะกงการเกษตร จำกัด (Koh Kong Plantation Company Limited : KPT) และ บริษัท น้ำตาลเกาะกง จำกัด (Koh Kong Sugar Industry Company Limited : KSI) บริษัทย่อยของบริษัท น้ำตาลขอนแก่น จำกัด (มหาชน) ทุนน้ำตาลที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของไทย ซึ่งเข้ามาปักหลักลงทุนในพื้นที่นี้ตั้งแต่ปี 2549 จนถึงปัจจุบัน โดยมีมูลค่าการลงทุนรวมกว่า 2,000 ล้านบาท แต่น่าแปลกที่สภาพของอาคารศูนย์ปฏิบัติการ และสิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ เช่น อาคารสำนักงาน บ้านพักคนงาน … Continue reading โรงงานร้าง ศูนย์ปฏิบัติการฯ อันว่างเปล่า และความรับผิดชอบที่ตกค้างของทุนน้ำตาลไทยในเกาะกง

ดูน้ำโขงกันทีละหยด ไหลเข้า-ไหลออก ที่เขื่อนไซยะบุรี

จากเอกสารของบริษัท ซีเค พาวเวอร์ ที่เผยแพร่ให้สื่อมวลชนในการไปดูเขื่อนไซยะบุรี ระหว่างวันที่ 21-23 กรกฎาคม 2562มีจำนวน 8 หน้า นับเป็นเอกสารที่แปลก ตรงที่ไม่มีการระบุชื่อเรื่องเอกสาร แต่เมื่ออ่านแล้วก็เข้าใจได้ว่า บริษัทฯต้องการบอกว่า เขื่อนไซยะบุรี เป็นเขื่อนผลิตไฟฟ้าแบบน้ำไหลเข้าเท่ากับน้ำไหลออก ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องใด ๆ กับสถานการณ์น้ำโขงแห้งในภาคอีสานของไทย สาเหตุมาจาก เขื่อนจีนปล่อยน้ำมาน้อยประกอบกับปริมาณฝนที่ตกน้อยในรอบ 100 ปี พร้อมด้วยชุดข้อมูลอ้างอิงเรื่องน้ำโขง, น้ำฝน อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลในเอกสารทั้ง 8 หน้า ไม่ได้มีข้อมูลตัวเลขอัตราการไหลของน้ำโขง ที่ระบุให้เห็นอย่างปราศจากข้อสงสัยว่า น้ำโขงไหลเข้าเท่ากับน้ำโขงไหลออกและมีข้อมูลหลายประการในเอกสารนี้ที่มีมุมมองในด้านที่แตกต่างออกไป ดังที่จะได้กล่าวถึงต่อไปนี้ น้ำโขงมาจากไหน? เอกสารฉบับนี้ ยอมรับโดยดุษฎีว่ามองจากจุดยืนบนสันเขื่อนไซยะบุรีว่า น้ำโขงไม่ได้มาจากแหล่งน้ำตามธรรมชาติเท่านั้น แต่ยังยอมรับด้วยว่า “น้ำโขงที่มาจากการปล่อยน้ำจากเขื่อนในจีนที่ส่งผลกระทบมากที่สุด” ในจุดยืนเดียวกันกับคนที่แก่งคุดคู้ อ.เชียงคาน จ.เลย หรือที่หาดจอมมณี อ.เมือง จ.หนองคาย ก็ย่อมมองว่า “น้ำโขงที่มาจากการปล่อยน้ำจากเขื่อนในจีนและเขื่อนไซยะบุรีที่ส่งผลกระทบมากที่สุด” ได้เช่นกัน เพราะเป็นเขื่อนที่อยู่ใกล้ประเทศไทยมากที่สุด  สาระสำคัญคือ บริษัทฯได้ยอมรับว่า “เขื่อน” เป็นปัจจัยสำคัญของการระบายน้ำมากหรือน้อย ซึ่งเขื่อนไซยะบุรีก็ไม่ได้มีข้อยกเว้นแต่อย่างใด Natural … Continue reading ดูน้ำโขงกันทีละหยด ไหลเข้า-ไหลออก ที่เขื่อนไซยะบุรี

เสียงของหมาป่าจากต้นน้ำหลานชางเจียง

เรื่องและกราฟิกโดย มนตรี จันทวงศ์ เสียงของหมาป่าจากต้นน้ำหลานชางเจียง[1] ข่าวคำแถลงของโฆษกสถานเอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทย ว่าด้วยคำวิพากษ์วิจารณ์ที่เกี่ยวกับจีนในปัญหาน้ำแม่น้ำโขง เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม[2] ประกอบกับข่าวการแจ้งเตือนของ MRC เกี่ยวกับการลดการระบายน้ำของเขื่อนจินฮง ในวันที่ 3 กรกฎาคมที่ผ่านมา[3]  ย่อมไม่ใช่เหตุบังเอิญ แต่เป็นการวางจังหวะให้คำแถลงของสถานฑูตจีนในไทย  ให้อยู่ในช่วงเวลาเดียวกัน เพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับการลดการระบายน้ำของเขื่อนจินฮง โดยอ้างผลประโยชน์ที่คนลุ่มน้ำโขงตอนล่างจะได้รับ และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ดี โดยเฉพาะการอ้างว่า “ฝ่ายจีนสร้างเขื่อนแบบขั้นบันไดตามแม่น้ำล้านช้าง เป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของอากาศ สถานีกำเนิดไฟฟ้าแบบขั้นบันไดนั้นปล่อยน้ำในหน้าแล้ง กักเก็บน้ำในหน้าฝน ซึ่งจะเป็นการ “ปรับลดน้ำท่วม เพิ่มน้ำหน้าแล้ง” ต่อแม่น้ำโขง หลังการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ปริมาณน้ำที่ไหลออกนอกประเทศของแม่น้ำล้านช้างได้เพิ่ม 70% ในหน้าแล้ง และลดลง 30% ในหน้าฝนเมื่อเทียบกับสภาพแบบธรรมชาติเดิม ซึ่งได้ลดค่าเสียหายทางเศรษฐกิจของมวลประชาชนสองฟากฝั่งอันเกิดจากระดับน้ำแม่น้ำโขงเปลี่ยนแปลงผิดปกติ” และอ้างถึง “เพื่อสร้างสรรค์สิ่งที่ดีงามให้กับประชาชนในภูมิภาค เพื่อความร่วมมืออันดีในอนุภูมิภาคฯ” รวมทั้งถ้อยแถลงที่ผ่าน MRC ยังระบุว่า การลดการระบายน้ำของเขื่อนจินฮง จะไม่สร้างผลกระทบที่สำคัญต่อลุ่มน้ำโขงตอนล่าง ผู้เขียนใคร่ขอแสดงทัศนะไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง ต่อคำแถลงของทางการจีนทั้งที่ผ่านสถานฑูตและMRC  ซึ่งเป็นการแถลงเข้าข้างตนเองเพียงฝ่ายเดียว ไม่ต่างกับนิทานหมาป่ากับลูกแกะ ด้วยเหตุผลดังนี้ ประการที่หนึ่ง จีนได้สร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำบนแม่น้ำโขงเขื่อนแรกคือเขื่อนม่านวาน มาตั้งแต่ปี 2536 … Continue reading เสียงของหมาป่าจากต้นน้ำหลานชางเจียง

Summary Minutes from the Forum “Developing Good Governance Beyond Borders in ASEAN: Voices from Communities”

24 August 2018, 9.30 – 16.00 hr. at The Connecion Seminar Center, Ladprao, Bangkok Introduction: On August 24th, 2018, a forum on “Developing Good Governance Beyond Borders in ASEAN: Voices from Communities” was organized in Bangkok by ETOs Watch (a Thai civil society group) and Social Research Institute (Chulalongkorn University). The term ‘Good Governance Beyond … Continue reading Summary Minutes from the Forum “Developing Good Governance Beyond Borders in ASEAN: Voices from Communities”

รายงานการประชุม “การพัฒนาธรรมาภิบาลข้ามพรมแดนสู่อาเซียน: เสียงสะท้อนจากชุมชน”

วันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๔๖๑ ระหว่างเวลา ๐๙.๓๐-๑๖.๐๐ น. ณ ห้องประชุม ออดิทอเรียม The Conecion ๐๙.๓๐ เริ่มด้วยการนำเสนอในหัวข้อ “โครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย: มองอดีต ก่อนเดินหน้า” Thant Zin (ภาคประชาสังคมเมียนมา)  ในทวายตอนนี้นอกจากจะมีโรดลิ้งค์แล้วเรายังมีโครงการเหมืองขนาดใหญ่อีกสองแห่งซึ่งไฟฟ้าที่ได้ทั้งหมดจะส่งให้ประเทศไทย และการตั้งเป้าหมายด้านเศรษฐกิจเป็นหลักของรัฐบาลก็ส่งผลให้ชาวบ้านโดยเฉพาะในพื้นที่กะเหรี่ยงต้องถูกแย่งยึดที่ดิน ซึ่งปัจจุบันที่ดินกว่า ๘๐,๐๐๐ เอเคอร์ของชาวบ้านต้องถูกรัฐบาลยึดไป และในพื้นที่ตะนาวศรีซึ่งจะเป็นที่รองรับโครงการขนาดใหญ่ที่ใช้ที่ดินถึง ๑.๘ ล้านเอเคอร์ ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นก็มีตั้งแต่ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและการสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติ ไปจนถึงผลกระทบทางด้านสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งหากจะยกตัวอย่างโครงการที่ได้รับผลกระทบในทุกๆ ด้านนั่นก็คือโครงการเหมืองแร่เฮงดา ชาวบ้านในพื้นที่ได้พยายามต่อสู้เรียกร้องมาอย่างยาวนาน สิ่งที่เราได้ทำไปแล้วก็คือ เราได้ยื่นข้อร้องเรียนกรณีโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติประเทศไทย จนได้มีมติคณะรัฐมนตรีออกมา และยังได้ทำงานร่วมกับ ETO Watch Coalition ในการติดตามประเด็นเงินกู้สร้างถนนเชื่อมต่อ ซึ่งสิ่งที่เราจะวางแผนทำต่อไปในอนาคตอันใกล้คือการสร้างความเข้าใจและและผลักดันศักยภาพของภาคประชาชน เช่นที่หมู่บ้านกาโลนท่า ซึ่งเป็นหมู่บ้านสำคัญอันเป็นจุดเริ่มต้นของผลกระทบจากโครงการต่อแหล่งน้ำธรรมชาติ และอีกเป้าหมายหนึ่งคือจะช่วยสนับสนุนการท่องเที่ยวในท้องถิ่น ซึ่งเป็นการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติและวัฒนธรรม ธีรชัย ศาลเจริญกิจถาวร (The Mekong Butterfly) ให้ข้อมูลเรื่องโครงการถนนเชื่อมต่อสองช่องทางและข้อมูลที่ได้จากการลงพื้นที่พูดคุยกับชาวบ้านและภาคประชาสังคมซึ่งจะจัดทำเป็นรายงานการศึกษาว่า เมื่อ วันที่ ๒๙ … Continue reading รายงานการประชุม “การพัฒนาธรรมาภิบาลข้ามพรมแดนสู่อาเซียน: เสียงสะท้อนจากชุมชน”

When ‘Healing is not only an act of kindness, but also a duty’

How many saddle dams are there in the XePian-XeNamnoy Hydropower Project? The first time we read the flood warning letter issued by the XePian-XeNamnoy Power Company (PNPC) on 23 July 2018, it indicated a heavy rainfall and the water level at Saddle Dam D was about to overflow the dam crest. If the dam collapsed, … Continue reading When ‘Healing is not only an act of kindness, but also a duty’

ไขข้อข้องใจ เมื่อการเยียวยาไม่ใช่น้ำใจ แต่คือหน้าที่: กรณีโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำเซเปียน-เซน้ำน้อย

อ่างเก็บน้ำเขื่อนเซน้ำน้อย มีเขื่อนปิดกั้นช่องเขาต่ำ (Saddle dam) กี่แห่ง? เมื่อแรกเริ่มที่ได้อ่านจดหมายเตือนภัยน้ำท่วม ของ บ.ไฟฟ้า เซเปียนเซน้ำน้อยจำกัด ลงวันที่ 23 กรกฎาคม 2561 มีข้อมูลว่า ฝนตกหนัก ระดับน้ำใกล้ล้นสันเขื่อนดิน Saddle dam D หากเขื่อนนี้แตก จะทำให้น้ำมากกว่า 5,000 ล้านตัน ไหลลงมาท่วมในเกิดน้ำท่วมลำน้ำเซเปียน จึงมีความสงสัยมาตั้งแต่ต้นว่าเขื่อนที่แตกนี้อยู่ตรงส่วนไหนของอ่างเก็บน้ำเซน้ำน้อย ต่อมาเมื่อได้พบภาพแผนที่แสดงขอบเขตลุ่มน้ำเซน้ำน้อยและอ่างเก็บน้ำเซน้ำน้อย จากรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม เรื่อง Current Environmental Condition ที่ปรากฏในหน้า 4-91[1] ก็ได้เห็นภาพช่องเขาต่ำชัดเจนขึ้น มีจำนวนถึง 5 แห่ง(ดูภาพประกอบ) ความจริงแล้วพื้นที่ตรงนี้มีความสูงค่อนข้างมากอยู่แล้ว แต่เป็นเพราะความโลภที่จะผันน้ำจากเขื่อนห้วยหมากจันกับเขื่อนเซเปียนมาเก็บไว้ในอ่างเก็บน้ำเซน้ำน้อยด้วย (มาถึงตรงนี้ให้นึกถึง ชูชก ที่กินจนท้องแตกตาย) จึงต้องสร้างเขื่อนปิดกั้นช่องเขาเหล่านี้ แล้วเรียกว่า เขื่อนปิดกั้นช่องเขาต่ำ[2] และในภาพ กราฟฟิคแสดงโครงการเขื่อนเซเปียนเซน้ำน้อย ได้ปรากฎเขื่อนปิดกั้นช่องเขาต่ำไว้ 5 แห่งเช่นกัน แต่เมื่อดูในรายงาน Resettlement and Ethnic People Development … Continue reading ไขข้อข้องใจ เมื่อการเยียวยาไม่ใช่น้ำใจ แต่คือหน้าที่: กรณีโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำเซเปียน-เซน้ำน้อย