หนังสือภาพถ่าย “แม่น้ำโขง สัมพันธ์ภาพแห่งชีวิต” (The Mekong Harmony) ส่วนหนึ่งเกิดจากความต้องการถ่ายทอดภาพอันสวยงามของแม่น้ำโขง แม่น้ำสายยาวที่ไหลผ่านนานาประเทศนับพันกิโลเมตร แต่ยังมีอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่คงค้างในใจพวกเรามายาวนาน แม้ตลอดการทำงานของพวกเราจะมีช่วงเวลาให้แทบหยุดหายใจเสมอเมื่ออยู่ท่ามกลางการโอบล้อมของทั้งแม่น้ำ ภูเขา หินผา ที่รวมเป็นทิวทัศน์และบรรยากาศอันตรึงใจ แต่เมื่อเราหยุดนิ่ง และสังเกต กลับมีอีกหลายสิ่งที่ดึงดูดเรายิ่งกว่าทิวทัศน์ เราได้เห็นมนุษย์และจังหวะการใช้ชีวิตของพวกเขา เราได้เห็นสีเขียวที่ไล่เฉดต่างกันไปของพุ่มไม้น้ำ บ้างมีดอกขาว บ้างมีผลแดงก่ำพราวทั่วต้น เราได้ยินเสียงนกต่างสายพันธุ์ร้องกระจายไปทั่วคุ้งน้ำทั้งไกลและใกล้ พร้อมเสียงกระพือปีกแยกย้ายจากดอนและแก่งยามเรือหาปลาแล่นผ่าน กลิ่นดินตะกอนหลากมาพร้อมสายน้ำ หรือหากเราเดินตามชาวประมงไป จะได้กลิ่นปลาสดใหม่ที่ดิ้นกันอยู่เต็มข้อง และแม้เราไม่ได้อยู่เป็นพยานของปรากฏการณ์ตรงนั้น แต่สิ่งเหล่านี้ก็เกิดขึ้นอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันเป็นปกติธรรมดา ผันเปลี่ยนและเวียนซ้ำตามฤดูกาลเหมือนที่ได้ดำเนินมาตลอดก่อนหน้านี้เนิ่นนาน เป็นข่ายใยชีวิตที่ล้วนประสานสอดคล้องโดยไม่อาจแยกขาดจากกันได้ คงเป็นธรรมชาติของสรรพสิ่งที่ต้องหมุนไปด้วยการพึ่งพาและเกื้อกูล เพราะสมดุลของธรรมชาตินั้นเกิดขึ้นไม่ได้จากการครอบครองกันและกัน ไม่มีสิ่งใดถือตนเป็นเจ้าของสิ่งอื่นได้ หนังสือภาพเล่มนี้จึงหวังพาผู้อ่านไปเฝ้ามองการสนทนาของธรรมชาติร่วมกับเรา ผ่านภาพถ่ายทั้งสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต ซึ่งมีวิถีของตัวเองต่างกันไปในแต่ละฤดูกาล ทั้งฤดูแล้ง ฤดูน้ำหลาก และช่วงเวลาเปลี่ยนผ่าน คัดเลือกและร้อยเรียงจากภาพถ่ายที่สะสมไว้ปีแล้วปีเล่า และการย้อนดูภาพถ่ายเหล่านี้เองที่สร้างความรู้สึกอันหนักหน่วงหลากหลายอยู่ภายใน จากทั้งภาพที่สร้างแรงบันดาลใจแก่เราเพื่อศึกษาสิ่งนั้นเพิ่มเติม ทั้งภาพที่พาเราอิ่มเอมเมื่อนึกถึงช่วงเวลาอันสวยงาม และหลายภาพที่พาเราจมกับความรู้สึกเศร้าอย่างอธิบายได้ยาก เมื่อสิ่งที่อยู่ในภาพนั้นได้สูญหาย ถูกทำลาย และเปลี่ยนแปลงไปแล้วอย่างถาวร เราคงทำใจได้ง่ายขึ้นหากการสาบสูญนั้นมาจากผลพวงของเหตุการณ์ทางธรรมชาติ แต่ที่เกิดขึ้นคือ ทั้งเกาะแก่ง นก ปลา ชุมชน วิถีชีวิตของผู้คน ฯลฯ … Continue reading หนังสือภาพ “The Mekong Harmony”
Category: Gallery
For the Southeastern and Chinese people, the existence of spirit is the existence of life. Without spirit, there is no life. The spirit is therefore the source of their power of life. The above statement came from the noteworthy writing of Sujit Wongthes, an important Southeast Asia historian and archaeologist of Thailand, proposing that spirit … Continue reading Soothing the Mekong Spirit when the Dam Generates Electric Power
เรื่องและภาพโดย ธีระชัย ศาลเจริญกิจถาวร สำหรับชาวอุษาคเณย์และชาวจีน การดำรงอยู่ของขวัญ คือ การดำรงอยู่ของชีวิต หากไม่มีขวัญก็ไม่มีชีวิต ขวัญจึงเป็นแหล่งสถิตพลังแห่งชีวิตของพวกเขา คำกล่าวข้างต้นมาจากข้อเขียนที่สำคัญของ สุจิตต์ วงษ์เทศ นักประวัติศาสตร์และโบราณคดีอุษาคเณย์คนสำคัญของเมืองไทยที่มีข้อเสนอว่า ขวัญ เป็นสิ่งจำเพาะของชาวอุษาคเณย์ซึ่งแตกต่างกับจิตวิญญาณในความเข้าใจของตะวันตกหรือแม้กระทั่งพุทธศาสนา สุจิตต์ วงษ์เทศ ได้ชี้ให้เห็นลักษณะของขวัญว่า จริง ๆ แล้ว ขวัญไร้รูปร่าง มองไม่เห็น จับต้องไม่ได้ แต่อยู่อย่างกระจัดกระจายและสถิตอยู่ตามร่างกายของคนและสัตว์ หรือแม้กระทั่งสิ่งของ สถานที่ต่าง ๆ โดยขวัญดำรงอยู่ในสังคมอุษาคเณย์มาเป็นเวลากว่า 3,000 ปี เป็นอย่างน้อยจนถึงปัจจุบัน โดยเราสามารถพบร่องรอยของขวัญได้จากพิธีกรรมที่สำคัญตามงานมงคลและแม้กระทั่งงานอวมงคลต่าง ๆ เราจะพบเห็นพิธีบายศรีสู่ขวัญ ในงานเริ่มต้นสิ่งใหม่ ๆ และในงานที่สร้างขวัญและกำลังใจใครสักคนหรือกลุ่มคน ก่อนที่จะไปเผชิญกับสิ่งที่ไม่ขาดฝัน หรือหลังจากที่พวกเขาประสบหรือเผชิญกับเรื่องเลวร้ายต่าง ๆ นานา พิธีกรรมเอิ้นขวัญคืนโขงที่ชาวบ้านริมโขงกว่า 7 จังหวัด นับร้อยชีวิต ร่วมกันจัดขึ้นบนเรือขนส่งข้ามโขง บนแม่น้ำโขง บริเวณจุดผ่านแดนถาวรบ้านคกไผ่ อำเภอปากชม จังหวัดเลย เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2562 … Continue reading เอิ้นขวัญคืนโขงวันเขื่อนจ่ายไฟ
story and photos by Teerachai Sanjaroenkijthaworn “Dawei Road Link” is one of the many sub-projects of Dawei Special Economic Zone (Dawei SEZ) which would open up Southeast Asia for foreign investment and industrial development at a scale never has been done before in the region. The aim is to attract foreign investors from outside … Continue reading “Giant Serpent” bites the way of life and people: Dawei Road Link and the change of the affected community
เรื่องและภาพโดย ธีระชัย ศาลเจริญกิจถาวร "ถนนทวาย" หรือ ถนนเชื่อมต่อโครงการทวาย เป็นหนึ่งในโครงการย่อยของโครงการท่าเรือน้ำลึกและเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายที่จะเปิดม่านของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะภูมิภาคแม่น้ำโขงด้านตะวันตกสุดออกสู่สายตาชาวโลก โดยเฉพาะนักลงทุนได้เข้ามาจับจ้องใช้เป็นเส้นทางขนส่งสินค้า บริการ และผู้ตนจากท่าเรือน้ำลึกและเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายที่จะถูกจัดตั้งเพื่อดึงดูดนักลงทุนจากต่างชาติและตอบสนองการพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดใหญ่มหึมาอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในเอเชียตะวันนอกเฉียงใต้ ไปยังด้านตะวันนออกสุดที่ประเทศเวียดนามด้านใต้ บริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงและส่วนที่ใกล้เคียงกันในหลายเส้นทางของเส้นสมมติที่ถูกขีดขึ้นและเรียกขานโดยสถาบันธนาคารระดับอย่างธนาคารโลกและธนาคารพัฒนาเอเชียว่า "ระเบียงเศรษฐกิจด้านใต้" ของอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง จุดประสงค์ของมัน คือ ย่นย่อระยะทางของการขนส่งสินค้าและบริการจากชายฝั่งทะเลอันดามัน ในเมืองทวายประเทศพม่าไปยังทะเลจีนใต้ โดยไม่จำเป็นต้องผ่านช่องแคบสำคัญอย่างช่องแคบมะละกาเพื่อไปแวะพักและถ่ายโอนสินค้า ณ ทาเรือที่ประเทศสิงคโปร์ มีการคาดการณ์กันว่าถนนเส้นนี้จะช่วยสามารถขนส่งสินค้าและบริการจากชายฝั่งทะเลอันดามันไปยังท่าเรือแหลมฉบังของไทยเพียงไม่ถึง 8 ชั่วโมงหากถนนเส้นนี้สร้างเสร็จโดยสมบูรณ์ ถนนทวายนี้มีความยาวทั้งสิ้น 138 กิโลเมตร โดยมีจุดเริ่มต้นจากกิโลเมตรที่ 18+500 จากตัวโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายลัดเลาะพาดผ่านแม่น้ำหลายสาย ภูเขาหลายลูก ถิ่นที่อยู่ของผู้คนกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ และสัตว์ป่า ไปยังชายแดนไทย - พม่า ที่ด่านพุน้ำร้อน อำเภอบ้านเก่า จังหวัดกาญจนบุรี ณกิโลเมตรที่ 156+500 ของโครงการ ถนนเส้นนี้มีความสำคัญต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจในประเทศไทยอย่างมีนัยสำคัญ เพราะมันจะเชื่อมต่อกับถนนทางหลวงเชื่อมต่อบ้านเก่า - กาญจนบุรี จากนั้นจึงเชื่อมไปยังถนนทางหลวงหมายเลข 81 กาญจนบุรี - บางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี และเชื่อมต่ออีกทอดหนึ่งไปยังนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดและท่าเรือแหลมฉบังของประเทศไทย … Continue reading Photo Essay: “งูยักษ์”กัดกลืนวิถีชีวิตและผู้คน: ถนนทวายกับความเปลี่ยนแปลงของชุมชนผู้ได้รับผลกระทบ
ระบบนิเวศและวิถีชีวิต, เขื่อนไซยะบุรี ระบบนิเวศและวิถีชีวิต, เขื่อนดอนสะโฮง
Ban Chaung Coal Mine, Thaninthanyi, Myanmar