A concise history of the two-lane Dawei Road Link The Dawei Road Link is one of the major components of the Deep-Sea Port and the Dawei Special Economic Zone which aims to shorten the distance and time for the transportation of goods and services between Myanmar’s Andaman coasts and the South China Sea’s Southern Economic … Continue reading The progress and situation of the two-lane Dawei Road Link
Category: Special Economic Zone
The Map Ta Phut Industrial Estate in Rayong Province has been set up for more than 4 decades as a key engine under the 5th National Economic and Social Development Plan to drive Thailand’s economic development and become a country that is based on industrial production, both heavy and light, it was considered as one … Continue reading People’s lessons learned from the “Map Ta Phut” Industrial Estate, the elder twin of the Dawei Deep Seaport and Special Economic Zone Project.
เรื่องและภาพโดย ธีระชัย ศาลเจริญกิจถาวร กว่า 4 ทศวรรษที่โครงการนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง ถูกจัดตั้งขึ้นในฐานะตัวจักรสำคัญภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5 ในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยให้ก้าวเข้าสู่การเป็นประเทศที่เน้นการผลิตด้านอุตสาหกรรม ทั้งอุตสาหกรรมหนักและเบา ซึ่งนับว่าเป็นกลไกหนึ่งที่ทำให้ตัวเลขจีดีพีของไทยมีสัดส่วนที่เพิ่มสูงขึ้น และในอีก 30 ปี หลังจากที่มันถูกจัดตั้งขึ้นจากการผลักดันของภาครัฐ มันก็ได้กลายเป็นต้นแบบที่สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศเพื่อนบ้านอย่างเมียนมา หลังจากที่เมียนมาเปิดประเทศและทางรัฐบาลเมียนมาออกแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 20 ปี (2554 - 2574) ในปี 2553 และกฎหมายการลงทุนต่างชาติในปี 2555 ซึ่งให้ความสำคัญกับภาคการค้าและการลงทุน และกาลงทุนของนักลงทุนต่างชาติให้เข้ามาลงทุนภายในประเทศ โดยมีตัวจักรสำคัญคือโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษ หนึ่งในนั้นคือ โครงการท่าเรือน้ำลึกและเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย ซึ่งมีลักษณะเช่นเดียวกับนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด แต่มีขนาดใหญ่กว่าถึง 8 เท่า ด้วยเหตุนี้ ในวันที่ 25 สิงหาคม 2562 ที่ผ่านมา ชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบจากถนทวาย หนึ่งในโครงการ 3 โครงการสำคัญ (ได้แก่ 1) โครงการท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรม 2) โครงการอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ และ 3) โครงการถนนเชื่อมต่อ) … Continue reading ถอดบทเรียนฉบับประชาชน จาก “มาบตาพุด” นิคมอุตสาหกรรมแฝดพี่ของโครงการทวาย
story and photos by Teerachai Sanjaroenkijthaworn “Dawei Road Link” is one of the many sub-projects of Dawei Special Economic Zone (Dawei SEZ) which would open up Southeast Asia for foreign investment and industrial development at a scale never has been done before in the region. The aim is to attract foreign investors from outside … Continue reading “Giant Serpent” bites the way of life and people: Dawei Road Link and the change of the affected community
เรื่องและภาพโดย ธีระชัย ศาลเจริญกิจถาวร "ถนนทวาย" หรือ ถนนเชื่อมต่อโครงการทวาย เป็นหนึ่งในโครงการย่อยของโครงการท่าเรือน้ำลึกและเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายที่จะเปิดม่านของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะภูมิภาคแม่น้ำโขงด้านตะวันตกสุดออกสู่สายตาชาวโลก โดยเฉพาะนักลงทุนได้เข้ามาจับจ้องใช้เป็นเส้นทางขนส่งสินค้า บริการ และผู้ตนจากท่าเรือน้ำลึกและเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายที่จะถูกจัดตั้งเพื่อดึงดูดนักลงทุนจากต่างชาติและตอบสนองการพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดใหญ่มหึมาอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในเอเชียตะวันนอกเฉียงใต้ ไปยังด้านตะวันนออกสุดที่ประเทศเวียดนามด้านใต้ บริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงและส่วนที่ใกล้เคียงกันในหลายเส้นทางของเส้นสมมติที่ถูกขีดขึ้นและเรียกขานโดยสถาบันธนาคารระดับอย่างธนาคารโลกและธนาคารพัฒนาเอเชียว่า "ระเบียงเศรษฐกิจด้านใต้" ของอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง จุดประสงค์ของมัน คือ ย่นย่อระยะทางของการขนส่งสินค้าและบริการจากชายฝั่งทะเลอันดามัน ในเมืองทวายประเทศพม่าไปยังทะเลจีนใต้ โดยไม่จำเป็นต้องผ่านช่องแคบสำคัญอย่างช่องแคบมะละกาเพื่อไปแวะพักและถ่ายโอนสินค้า ณ ทาเรือที่ประเทศสิงคโปร์ มีการคาดการณ์กันว่าถนนเส้นนี้จะช่วยสามารถขนส่งสินค้าและบริการจากชายฝั่งทะเลอันดามันไปยังท่าเรือแหลมฉบังของไทยเพียงไม่ถึง 8 ชั่วโมงหากถนนเส้นนี้สร้างเสร็จโดยสมบูรณ์ ถนนทวายนี้มีความยาวทั้งสิ้น 138 กิโลเมตร โดยมีจุดเริ่มต้นจากกิโลเมตรที่ 18+500 จากตัวโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายลัดเลาะพาดผ่านแม่น้ำหลายสาย ภูเขาหลายลูก ถิ่นที่อยู่ของผู้คนกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ และสัตว์ป่า ไปยังชายแดนไทย - พม่า ที่ด่านพุน้ำร้อน อำเภอบ้านเก่า จังหวัดกาญจนบุรี ณกิโลเมตรที่ 156+500 ของโครงการ ถนนเส้นนี้มีความสำคัญต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจในประเทศไทยอย่างมีนัยสำคัญ เพราะมันจะเชื่อมต่อกับถนนทางหลวงเชื่อมต่อบ้านเก่า - กาญจนบุรี จากนั้นจึงเชื่อมไปยังถนนทางหลวงหมายเลข 81 กาญจนบุรี - บางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี และเชื่อมต่ออีกทอดหนึ่งไปยังนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดและท่าเรือแหลมฉบังของประเทศไทย … Continue reading Photo Essay: “งูยักษ์”กัดกลืนวิถีชีวิตและผู้คน: ถนนทวายกับความเปลี่ยนแปลงของชุมชนผู้ได้รับผลกระทบ
โครงการท่าเรือน้ำลึกและเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย (ต่อไปนี้จะขอเรียกว่า “โครงการทวาย”) เป็นโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ที่ริเริ่มจากรัฐบาลสองประเทศ คือ ระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลเมียนมา นับตั้งแต่ปี 2551 โดยมีการลงนามในบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding: MoU) ร่วมกัน โดยตกลงที่จะร่วมพัฒนาเศรษฐกิจและความเชื่อมโยงระบบคมนาคมขนส่งของทั้งสองประเทศโดยเริ่มจากส่วนหัวงานโครงการทวายคือในส่วนท่าเรือน้ำลึกของโครงการฯ ไปยังท่าเรือแหลมฉบังของประเทศไทย โดยคาดว่าโครงการจะสร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจให้กับทั้งสองประเทศ โดยเมียนมาจะได้รับประโยชน์จากการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย การลงทุนขนาดใหญ่ขณะที่ไทยจะได้รับประโยชน์จากการพัฒนาพื้นที่โครงการพัฒนาชายฝั่งด้านตะวันออก หรือ อีสเทิร์นซีบอร์ด และในระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทวายจะกลายเป็นจุดเชื่อมโยงของเส้นทางการค้า การผลิต และการขนส่งที่สำคัญในระเบียงเศรษฐกิจด้านใต้ด้วย (Southern Economic Corridor) โดยมีบริษัทเอกชนไทยคือ บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล็อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้พัฒนาโครงการ ซึ่งได้รับสิทธิในการพัฒนาและดำเนินการบริหารโครงการฯ ตามระยะเวลาการเช่าที่ดิน 75 ปี ในพื้นที่ 250 ตารางกิโลเมตร (กว่า 1.5 แสนไร่ หรือประมาณเกือบ 10 เท่าของนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด) รวมทั้งการก่อสร้างถนนเชื่อมโยงพรมแดนระหว่างไทย-เมียนมา จากพื้นที่โครงการไปยังด่านพุน้ำร้อนที่ จ. กาญจนบุรี ในระยะทาง 138 กิโลเมตร … Continue reading รายงานศึกษาวิจัย “ถนนเชื่อมต่อโครงการท่าเรือน้ำลึกและเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย” : การตรวจสอบธรรมาภิบาลการลงทุนของภาครัฐและเอกชนในการดำเนินโครงการ
24 August 2018, 9.30 – 16.00 hr. at The Connecion Seminar Center, Ladprao, Bangkok Introduction: On August 24th, 2018, a forum on “Developing Good Governance Beyond Borders in ASEAN: Voices from Communities” was organized in Bangkok by ETOs Watch (a Thai civil society group) and Social Research Institute (Chulalongkorn University). The term ‘Good Governance Beyond … Continue reading Summary Minutes from the Forum “Developing Good Governance Beyond Borders in ASEAN: Voices from Communities”
วันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๔๖๑ ระหว่างเวลา ๐๙.๓๐-๑๖.๐๐ น. ณ ห้องประชุม ออดิทอเรียม The Conecion ๐๙.๓๐ เริ่มด้วยการนำเสนอในหัวข้อ “โครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย: มองอดีต ก่อนเดินหน้า” Thant Zin (ภาคประชาสังคมเมียนมา) ในทวายตอนนี้นอกจากจะมีโรดลิ้งค์แล้วเรายังมีโครงการเหมืองขนาดใหญ่อีกสองแห่งซึ่งไฟฟ้าที่ได้ทั้งหมดจะส่งให้ประเทศไทย และการตั้งเป้าหมายด้านเศรษฐกิจเป็นหลักของรัฐบาลก็ส่งผลให้ชาวบ้านโดยเฉพาะในพื้นที่กะเหรี่ยงต้องถูกแย่งยึดที่ดิน ซึ่งปัจจุบันที่ดินกว่า ๘๐,๐๐๐ เอเคอร์ของชาวบ้านต้องถูกรัฐบาลยึดไป และในพื้นที่ตะนาวศรีซึ่งจะเป็นที่รองรับโครงการขนาดใหญ่ที่ใช้ที่ดินถึง ๑.๘ ล้านเอเคอร์ ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นก็มีตั้งแต่ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและการสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติ ไปจนถึงผลกระทบทางด้านสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งหากจะยกตัวอย่างโครงการที่ได้รับผลกระทบในทุกๆ ด้านนั่นก็คือโครงการเหมืองแร่เฮงดา ชาวบ้านในพื้นที่ได้พยายามต่อสู้เรียกร้องมาอย่างยาวนาน สิ่งที่เราได้ทำไปแล้วก็คือ เราได้ยื่นข้อร้องเรียนกรณีโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติประเทศไทย จนได้มีมติคณะรัฐมนตรีออกมา และยังได้ทำงานร่วมกับ ETO Watch Coalition ในการติดตามประเด็นเงินกู้สร้างถนนเชื่อมต่อ ซึ่งสิ่งที่เราจะวางแผนทำต่อไปในอนาคตอันใกล้คือการสร้างความเข้าใจและและผลักดันศักยภาพของภาคประชาชน เช่นที่หมู่บ้านกาโลนท่า ซึ่งเป็นหมู่บ้านสำคัญอันเป็นจุดเริ่มต้นของผลกระทบจากโครงการต่อแหล่งน้ำธรรมชาติ และอีกเป้าหมายหนึ่งคือจะช่วยสนับสนุนการท่องเที่ยวในท้องถิ่น ซึ่งเป็นการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติและวัฒนธรรม ธีรชัย ศาลเจริญกิจถาวร (The Mekong Butterfly) ให้ข้อมูลเรื่องโครงการถนนเชื่อมต่อสองช่องทางและข้อมูลที่ได้จากการลงพื้นที่พูดคุยกับชาวบ้านและภาคประชาสังคมซึ่งจะจัดทำเป็นรายงานการศึกษาว่า เมื่อ วันที่ ๒๙ … Continue reading รายงานการประชุม “การพัฒนาธรรมาภิบาลข้ามพรมแดนสู่อาเซียน: เสียงสะท้อนจากชุมชน”
เรื่องและภาพโดย ชนาง อำภารักษ์ เมื่อไม่นานมานี้ ในวันที่ 29 มีนาคม 2561 ที่ผ่านมา รัฐสภาเมียนมาอนุมัติเงินกู้ผ่อนปรน 4,500 ล้านบาท(1) หลังจากรัฐบาลไทยได้เสนอให้รัฐบาลเมียนมากู้เงิน โดยให้สำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) หรือ NEDA ในสังกัดกระทรวงการคลังเป็นหน่วยงานที่ปล่อยกู้ เพื่อปรับปรุงถนนสองช่องทางจากจุดผ่านแดนบ้านพุน้ำร้อน จ.กาญจนบุรี ไปยังเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย โดยรัฐบาลเมียนมาออกมาประกาศว่าจะมีการเริ่มปรับปรุงถนนสองช่องทางในช่วงกลางปีนี้ และ ณ ขณะนี้ทางบริษัท อิตาเลียนไทยฯ ในนามของบริษัท เมียนทวาย อินดัสเทรียล เอสเตทจำกัด ก็ได้ดำเนินการจัดทำร่างรายงานฉบับแก้ไขสำหรับการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสังคม (Revised Draft Final Report for Environmental and Social Impact Assessment: ESIA) ในส่วนของถนนสองช่องทางไปแล้ว อันแสดงถึงความชัดเจนว่าบริษัท อิตาเลียนไทยฯ มีความประสงค์ที่จะเดินหน้าในการก่อสร้างถนนสองช่องทางอย่างแน่นอน และมีความเป็นไปได้ว่าเงินกู้ 4,500 ล้านบาทนี้ ทางรัฐบาลเมียนมาจะนำเงินในส่วนนี้ไปเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อว่าจ้างให้แก่บริษัทดังกล่าวปรับปรุงถนนสองช่องทาง ทั้งนี้เนื่องจากสัญญาข้อตกลง 3 ฝ่าย และการได้สิทธิเป็นผู้พัฒนาโครงการทวายระยะแรกที่รวมถึงโครงการถนนสองเลนด้วย โดยการอนุมัติกู้เงินนี้เกิดขึ้นท่ามกลางเสียงคัดค้านจากชาวบ้านในพื้นที่และมีการตั้งคำถามจากภาคประชาสังคมมาตลอดว่าการอนุมัติเงินกู้ครั้งนี้ได้ยึดถือการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีหรือไม่ เพราะที่ผ่านมาจากการศึกษาวิจัยของสมาคมพัฒนาทวาย … Continue reading เสียงสะท้อนจากผู้คนในพื้นที่: โครงการถนนสองช่องทาง (แต่ประโยชน์ทางเดียว)