เขื่อนจีนกับ 12 ปี แห่งการขโมยน้ำโขง: อาการหน้าไหว้หลังหลอก (两面三刀) ของคนเห็นแก่ตัว (自私自利) ของจีนต่อรัฐบาลประเทศลุ่มน้ำโขงตอนล่าง

แม่น้ำโขงต้องคำสาปทรัพยากร (Resource Curse) หรือไม่ ไม่มีใครสามารถบอกได้ แต่ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและระบบนิเวศของแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นหลักประกันความมั่นคงของสรรพชีวิตทั้งปวง และการดำรงอยู่ของชุมชนลุ่มน้ำโขงหลากหลายชาติพันธุ์มาอย่างยาวนานนั้น ได้ถูกใช้ไปในมิติใหม่ นั่นคือแปรผันความอุดมสมบูรณ์ทั้งปวงที่มีอยู่ให้กลายเป็นไฟฟ้า ผ่านสิ่งก่อสร้างที่เรียกว่า “เขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ” และทำลายหลักประกันความมั่นคงของสรรพชีวิตทั้งหลายออกไป ระยะเวลาเพียงผีเสื้อกระพือปีกของประวัติศาสตร์การกำเนิดเขื่อนบนแม่น้ำโขง ตั้งแต่ปี 2536 เป็นต้นมา ที่ประเทศจีนได้เริ่มสร้างและเดินเครื่องเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนแรกคือ เขื่อนม่านวาน ที่สร้างแรงกระชากต่อวัฏจักรน้ำโขงครั้งรุนแรง นั่นคือปรากฏการณ์น้ำโขงแห้ง วัดค่าได้ต่ำมากและจนถึงวัดค่าไม่ได้ ที่สถานีเชียงแสนใน 2 ช่วงเวลาคือ ระหว่างวันที่ 19-26 เมษายน ระดับน้ำโขงอยู่ระหว่าง 0.88-1.0 เมตร และ ระหว่างวันที่ 26-28 พฤษภาคม 2536 ระดับน้ำโขงอยู่ระหว่าง 0 – 0.23 เมตร ซึ่งปรากฏการณ์นี้ทั้งคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (Mekong River Commission) และประเทศลุ่มน้ำโขงตอนล่างพร้อมใจกันเรียกว่า “ภัยแล้ง” เหมือนว่าวิกฤตินี้เป็นเพียงปรากฏการณ์ทางธรรมชาติอันธรรมดาสามัญ จนถึงปัจจุบัน ประเทศจีนได้สร้างเขื่อนบนแม่น้ำโขงแล้วเสร็จจำนวน 11 เขื่อน โดยไม่เคยแสดงเจตจำนงที่จะปรึกษาหารือใด ๆ กับประเทศลุ่มน้ำโขงตอนล่าง … Continue reading เขื่อนจีนกับ 12 ปี แห่งการขโมยน้ำโขง: อาการหน้าไหว้หลังหลอก (两面三刀) ของคนเห็นแก่ตัว (自私自利) ของจีนต่อรัฐบาลประเทศลุ่มน้ำโขงตอนล่าง

ดูน้ำโขงกันทีละหยด ไหลเข้า-ไหลออก ที่เขื่อนไซยะบุรี

จากเอกสารของบริษัท ซีเค พาวเวอร์ ที่เผยแพร่ให้สื่อมวลชนในการไปดูเขื่อนไซยะบุรี ระหว่างวันที่ 21-23 กรกฎาคม 2562มีจำนวน 8 หน้า นับเป็นเอกสารที่แปลก ตรงที่ไม่มีการระบุชื่อเรื่องเอกสาร แต่เมื่ออ่านแล้วก็เข้าใจได้ว่า บริษัทฯต้องการบอกว่า เขื่อนไซยะบุรี เป็นเขื่อนผลิตไฟฟ้าแบบน้ำไหลเข้าเท่ากับน้ำไหลออก ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องใด ๆ กับสถานการณ์น้ำโขงแห้งในภาคอีสานของไทย สาเหตุมาจาก เขื่อนจีนปล่อยน้ำมาน้อยประกอบกับปริมาณฝนที่ตกน้อยในรอบ 100 ปี พร้อมด้วยชุดข้อมูลอ้างอิงเรื่องน้ำโขง, น้ำฝน อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลในเอกสารทั้ง 8 หน้า ไม่ได้มีข้อมูลตัวเลขอัตราการไหลของน้ำโขง ที่ระบุให้เห็นอย่างปราศจากข้อสงสัยว่า น้ำโขงไหลเข้าเท่ากับน้ำโขงไหลออกและมีข้อมูลหลายประการในเอกสารนี้ที่มีมุมมองในด้านที่แตกต่างออกไป ดังที่จะได้กล่าวถึงต่อไปนี้ น้ำโขงมาจากไหน? เอกสารฉบับนี้ ยอมรับโดยดุษฎีว่ามองจากจุดยืนบนสันเขื่อนไซยะบุรีว่า น้ำโขงไม่ได้มาจากแหล่งน้ำตามธรรมชาติเท่านั้น แต่ยังยอมรับด้วยว่า “น้ำโขงที่มาจากการปล่อยน้ำจากเขื่อนในจีนที่ส่งผลกระทบมากที่สุด” ในจุดยืนเดียวกันกับคนที่แก่งคุดคู้ อ.เชียงคาน จ.เลย หรือที่หาดจอมมณี อ.เมือง จ.หนองคาย ก็ย่อมมองว่า “น้ำโขงที่มาจากการปล่อยน้ำจากเขื่อนในจีนและเขื่อนไซยะบุรีที่ส่งผลกระทบมากที่สุด” ได้เช่นกัน เพราะเป็นเขื่อนที่อยู่ใกล้ประเทศไทยมากที่สุด  สาระสำคัญคือ บริษัทฯได้ยอมรับว่า “เขื่อน” เป็นปัจจัยสำคัญของการระบายน้ำมากหรือน้อย ซึ่งเขื่อนไซยะบุรีก็ไม่ได้มีข้อยกเว้นแต่อย่างใด Natural … Continue reading ดูน้ำโขงกันทีละหยด ไหลเข้า-ไหลออก ที่เขื่อนไซยะบุรี

เสียงของหมาป่าจากต้นน้ำหลานชางเจียง

เรื่องและกราฟิกโดย มนตรี จันทวงศ์ เสียงของหมาป่าจากต้นน้ำหลานชางเจียง[1] ข่าวคำแถลงของโฆษกสถานเอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทย ว่าด้วยคำวิพากษ์วิจารณ์ที่เกี่ยวกับจีนในปัญหาน้ำแม่น้ำโขง เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม[2] ประกอบกับข่าวการแจ้งเตือนของ MRC เกี่ยวกับการลดการระบายน้ำของเขื่อนจินฮง ในวันที่ 3 กรกฎาคมที่ผ่านมา[3]  ย่อมไม่ใช่เหตุบังเอิญ แต่เป็นการวางจังหวะให้คำแถลงของสถานฑูตจีนในไทย  ให้อยู่ในช่วงเวลาเดียวกัน เพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับการลดการระบายน้ำของเขื่อนจินฮง โดยอ้างผลประโยชน์ที่คนลุ่มน้ำโขงตอนล่างจะได้รับ และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ดี โดยเฉพาะการอ้างว่า “ฝ่ายจีนสร้างเขื่อนแบบขั้นบันไดตามแม่น้ำล้านช้าง เป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของอากาศ สถานีกำเนิดไฟฟ้าแบบขั้นบันไดนั้นปล่อยน้ำในหน้าแล้ง กักเก็บน้ำในหน้าฝน ซึ่งจะเป็นการ “ปรับลดน้ำท่วม เพิ่มน้ำหน้าแล้ง” ต่อแม่น้ำโขง หลังการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ปริมาณน้ำที่ไหลออกนอกประเทศของแม่น้ำล้านช้างได้เพิ่ม 70% ในหน้าแล้ง และลดลง 30% ในหน้าฝนเมื่อเทียบกับสภาพแบบธรรมชาติเดิม ซึ่งได้ลดค่าเสียหายทางเศรษฐกิจของมวลประชาชนสองฟากฝั่งอันเกิดจากระดับน้ำแม่น้ำโขงเปลี่ยนแปลงผิดปกติ” และอ้างถึง “เพื่อสร้างสรรค์สิ่งที่ดีงามให้กับประชาชนในภูมิภาค เพื่อความร่วมมืออันดีในอนุภูมิภาคฯ” รวมทั้งถ้อยแถลงที่ผ่าน MRC ยังระบุว่า การลดการระบายน้ำของเขื่อนจินฮง จะไม่สร้างผลกระทบที่สำคัญต่อลุ่มน้ำโขงตอนล่าง ผู้เขียนใคร่ขอแสดงทัศนะไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง ต่อคำแถลงของทางการจีนทั้งที่ผ่านสถานฑูตและMRC  ซึ่งเป็นการแถลงเข้าข้างตนเองเพียงฝ่ายเดียว ไม่ต่างกับนิทานหมาป่ากับลูกแกะ ด้วยเหตุผลดังนี้ ประการที่หนึ่ง จีนได้สร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำบนแม่น้ำโขงเขื่อนแรกคือเขื่อนม่านวาน มาตั้งแต่ปี 2536 … Continue reading เสียงของหมาป่าจากต้นน้ำหลานชางเจียง

รายงานสรุปการประชุมการติดตามผลการดำเนินงาน ตามมติคณะรัฐมนตรีว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนจากการลงทุนข้ามพรมแดนของไทย อันเกี่ยวเนื่องจากข้อเสนอแนะของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

วันที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๖๐ ระหว่างเวลา ๐๘.๓๐ – ๑๒.๓๐ น. ณ ห้องประชุม ๗๐๙ ชั้น ๗ สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ[1] เริ่มประชุมเวลา ๐๙.๐๐ น. เตือนใจ ดีเทศน์ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และประธานอนุกรรมการด้านสิทธิชุมชน และฐานทรัพยากร คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ในฐานประธานการประชุม กล่าวเปิดและแนะนำการประชุม โดยมีความเป็นมาจากการติดตามผลการดำเนินงานตามมติคณะรัฐมนตรีว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนจากการลงทุนข้ามพรมแดนของไทย อันเกี่ยวเนื่องจากข้อเสนอแนะของ กสม. ซึ่งเป็นการร่วมกันจัดระหว่างคณะอนุกรรมการด้านสิทธิชุมชน และฐานทรัพยากร และคณะผู้ร่วมจัด ประกอบด้วย เสมสิกขาลัย กลุ่มเสรีภาพแม่น้ำโขง และสมาคมพัฒนาทวาย และมีคณะผู้เชี่ยวชาญที่เข้าร่วม ได้แก่ สุนี ไชยรส และ สฤณี อาชวะนันทกุล และมีคณะผู้แทนหน่วยงานที่เข้าร่วมต่างๆ หลังจากนั้นประธานฯ มอบสุนี ไชยรส ดำเนินรายการ สุนี ไชยรส กสม. ชุดที่หนึ่ง (2544-2552) ผู้ดำเนินรายการ … Continue reading รายงานสรุปการประชุมการติดตามผลการดำเนินงาน ตามมติคณะรัฐมนตรีว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนจากการลงทุนข้ามพรมแดนของไทย อันเกี่ยวเนื่องจากข้อเสนอแนะของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ