**เแปลจากรายงานสรุปของ EarthRights Internaional (ERI) ชื่อ “MINIMAL IMPACT: THE EFFECTS ON THAILAND’S ENERGY SECURITY OF DISRUPTING MYANMAR GAS IMPORTS” ความกระทบกระเทือนเพียงน้อยนิด: ผลกระทบต่อความมั่นคงด้านพลังงานของไทยจากการขัดขวางการนำเข้าก๊าซจากเมียนมา สหรัฐอเมริกายังไม่ได้ดำเนินการคว่ำบาตรแหล่งที่มาเงินตราต่างประเทศของคณะเผด็จการทหารเมียนมา รายได้จากโครงการก๊าซนอกชายฝั่งของเมียนมา ส่วนหนึ่งเพราะกลัวว่าจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางพลังงานของไทย การวิเคราะห์ของเรายืนยันว่าสิ่งที่พวกเขาหวาดกลัวจะไม่เกิดขึ้น ในปี 2566 ประเทศไทยตั้งเป้าว่าพวกเขาจะสร้างความมั่นคงทางพลังงานได้มากกว่าปี 2565 ที่ผ่านมา ตรงกันข้ามกับข้อมูลที่บิดเบือนที่แพร่กระจายโดยบริษัทน้ำมันและก๊าซที่ดำเนินงานในเมียนมาร์ แม้ว่าการคว่ำบาตรรายได้จากก๊าซจะนำไปสู่การยุติราคาไฟฟ้าก็ตาม การเพิ่มขึ้นนี้จะเป็นเพียงเศษเสี้ยวของค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการที่ประเทศต่างๆ เลิกใช้ก๊าซจากรัสเซียเพื่อหลีกเลี่ยงการระดมทุนอย่างโหดร้ายในยูเครน รายได้จากก๊าซถือเป็นแหล่งที่มาของเงินตราต่างประเทศที่ใหญ่ที่สุดที่คณะเผโจการทหารสามารถใช้จ่ายและเข้าถึงได้ ในช่วงต้นของการรัฐประหารเดือนกุมภาพันธ์ 2564 คณะเผด็จการทหารได้เข้าควบคุมการไหลของรายได้ในบริษัทน้ำมันและก๊าซแห่งเมียนมา หรือ MOGE ที่ซึ่งรัฐบาลเมียนมาได้เก็บจัดเก็บรายได้จากโครงการก๊าซนอกชายฝั่งของประเทศที่สามารถสร้างกำไรได้อย่างมหาศาลและขณะนี้คณะเผด็จการทหารกำลังใช้รายได้เหล่านี้เพื่อผลประโยชน์ของตนเอง รายได้ส่วนใหญ่จากโครงการก๊าซเหล่านี้มาจากการส่งออกก๊าซไปยังประเทศไทยและจีน สหรัฐอเมริกาตระหนักดีว่ารายได้จากก๊าซได้สร้างความมั่งคั่งให้กับคณะเผด็จการทหารที่นำไปสู่การปราบปรามประชาชนชาวเมียนมาจนถึงแก่ชีวิต การพุ่งสูงขึ้นของราคาพลังงานที่เกิดขึ้นทั่วโลกได้ทำให้ราคาก๊าซต่อหน่วยที่ ปตท. ในฐานะผู้ซื้อก๊าซจ่ายให้กับเมียนมานั้นเพิ่มสูงขึ้นประมาณร้อยละ 65 สิ่งนี้ชี้ให้เห็นว่ารายได้จากก๊าซที่ถูกยึดมาอย่างผิดกฎหมายโดยคณะรัฐประหารนั้นอาจเพิ่มขึ้นเป็น 2.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี บริษัทก๊าซข้ามชาติหลายแห่งรวมทั้ง กลุ่ม ปตท. เชฟรอน และพอสโคยังคงเพิกเฉยต่อทางเลือกในทางปฏิบัติในการกำจัดเพื่อเบี่ยงเบนรายได้เหล่านี้ แทนที่จะปฏิบัติต่อคณะรัฐประหารเมียนมาในฐานะรัฐบาลที่ได้รับการยอมรับและมีสิทธิในการเป็นผู้รับเงินรายได้เหล่านี้โดยถูกต้องชอบธรรม … Continue reading ความกระทบกระเทือนเพียงน้อยนิด: ผลกระทบต่อความมั่นคงด้านพลังงานของไทยจากการขัดขวางการนำเข้าก๊าซจากเมียนมา
All lives of the Mekong River depend on the river’s seasonal flow and sediments to flourish. Current development plans extract and destroy the Mekong River’s sources of lives. Stop the destructive developments. Bring back the seasonal flow and sedimentation. Mekong River Situation and Thailand Government’s Policies in 2022 Two pressing issues of the Mekong River … Continue reading Mekong River Situation and Policy Recommendations For the Next Government
สถานการณ์แม่น้ำโขง และนโยบายของรัฐในปี 2565 สถานการณ์ปัญหาหลักของแม่น้ำโขง คือ การเปลี่ยนแปลงการไหลที่ไม่เป็นไปตามธรรมชาติและปริมาณตะกอนหายไป จากการสร้างเขื่อนผลิตไฟฟ้าในลุ่มน้ำโขง ทั้งในแม่น้ำโขงสายหลักในจีน, ลาว และบนลำน้ำสาขาในลาว (รวมทั้งกัมพูชา ไทย และเวียดนาม) ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศแม่น้ำโขงและการใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ของชุมชน เป็นปัญหาสะสมต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2536 และรุนแรงเพิ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2550 ต่อเนื่องมาจนถึงปีปัจจุบัน อาทิเช่น น้ำขึ้นลงผิดปกติในฤดูแล้ง ชุมชนสูญเสียรายได้จากการท่องเที่ยว, น้ำโขงขึ้นไม่เต็มตลิ่ง หญ้าไม่ตาย ไม่มีตะกอนทับถม ทำให้สูญเสียพื้นที่เกษตรริมโขง และน้ำโขงไม่ไหลเข้าลำน้ำสาขา เช่น น้ำสงคราม, ตลิ่งพัง เกิดดอนใหม่ ร่องน้ำเปลี่ยน และน้ำโขงแห้ง ส่งผลกระทบต่อ บ้านเรือนริมตลิ่ง ระบบประปา การเกษตรริมโขง และปัญหาการครอบครองที่ดินเกิดใหม่, ปลาอพยพผิดฤดู ชุมชนจับปลาได้น้อยลง สูญเสียอาชีพ รายได้ และความมั่นคงทางอาหาร, พืชไม้น้ำในแม่น้ำโขงล้มตายเป็นจำนวนมาก การสูญเสียระบบนิเวศน้ำโขง ถิ่นที่อยู่อาศัยและห่วงโซ่อาหารของปลา, การออกดอกของไม้น้ำ ในแม่น้ำโขง ที่ผิดฤดูกาล เช่น ไคร้น้ำ, หว้าน้ำ เป็นต้น, ระดับน้ำโขงที่เปลี่ยนแปลงผิดปกติในฤดูแล้ง ท่วมพื้นที่วางไข่ของนกที่อาศัยทำรังวางไข่ในช่วงฤดูแล้ง, น้ำโขงใสไร้ตะกอน เกิดการระบาดของสาหร่ายแม่น้ำโขงในฤดูแล้ง และชาวบ้านจับปลาไม่ได้ เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นทันที หลังการเปิดเขื่อนไซยะบุรีเมื่อ 29 ตุลาคม 2562 และเกิดต่อเนื่องมาจนปี 2565 และต่อเนื่องด้วยปัญหาการดำน้ำยิงพ่อแม่พันธุ์ปลาในวังหรือถ้ำใต้น้ำ, การสูญเสียเครื่องมือประมง … Continue reading สถานการณ์แม่น้ำโขงและข้อเสนอนโยบายสำหรับรัฐบาลหน้า
Teerachai Sanjaroenkijthaworn as a writer Raslaphas Kaweewat as a photographer After the coup d’état in Myanmar, human rights violations were so widespread which could be called a humanitarian crisis and a crime against humanity. At the “Unpredictable Myanmar” forum, there were 5 speakers who have Myanmar-related experiences and understanding of international law including specific case … Continue reading “Unpredictable Myanmar”: Yesterday; Today; Tomorrow, What will Myanmar Look Like and Can We Do Anything More?
ธีระชัย ศาลเจริญกิจถาวร เรียบเรียงรัศมิ์ลภัส กวีวัจน์ ภาพ หลังเกิดการรัฐประหารในเมียนมาก็ได้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างกว้างขวางจนเรียกได้ว่าเป็นวิกฤตมนุษยธรรมและถือเป็นอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ งานเสวนา “พม่าที่พลิกผัน” (Unpredictable Myanmar) ในครั้งนี้มีวิทยากรร่วมเสวนา จำนวน 5 ท่าน ที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับประเทศพม่าและความรู้เกี่ยวกับกฎหมายระหว่างประเทศ รวมถึงผู้เชี่ยวชาญเฉพาะกรณี โดยมีกฤษณ์พชร โสมณวัตร เป็นผู้ดำเนินการเสวนา นอกจากนั้นแล้วบริดวณด้านหน้าของงานยังได้มีการจัดแสดงนิทรรศการภาพถ่ายที่สะท้อนถึงปัญหาผู้พลัดถิ่นภายในประเทศเมียนมาและผู้ลี้ภัยจากประเทศเมียนมาด้วย พรสุข เกิดสว่าง จากมูลนิธิเพื่อนไร้พรมแดน กล่าวว่า ประเทศพม่าก่อนรัฐประหารก็ไม่ได้สันติมากนัก เพราะการละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศก็ยังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งการสู้รบชายแดน และเสรีภาพสื่อ ความพลิกผันในพม่าหลังเกิดการรัฐประหารคือการทำให้ประเทศกระโดดพลิกกลับไปข้างหลัง แม้ว่าก่อนหน้านี้กระบวนการสันติภาพจะยังไม่เกิดขึ้นในพม่ามากนัก แต่ที่ผ่านมาสิทธิมนุษยชนก็เริ่มมีทิศทางและก้าวไปข้างหน้าได้ การเข้าสู่โลกอินเทอร์เน็ตมากขึ้นทำให้ประชาชนพม่ารู้จักโลกภายนอกและความเป็นไปของสังคมโลกมากกว่าที่เคยเป็น การใช้ความรุนแรงปราบปรามประชาชน หลังการรัฐประหาร เป็นการโจมตีที่ไม่ได้มีการแยกแยะระหว่างคนที่ถืออาวุธหรือไม่ถืออาวุธ เป็นการโจมตีที่ไม่แยกแยะว่าสถานที่นั้นเป็นสถานที่สำคัญอย่างโรงพยาบาล โรงเรียน หรือบ้านเรือนประชาชนทั่วไป นอกจากความรุนแรงแล้ว ยังมีปัญหาที่เกิดขึ้นตามมาอื่น ๆ เช่น การควบคุมโรคติดต่อ การขาดแคลนอุปกรณ์และบุคลากรทางการแพทย์ เกิดภาวะทุพภิกขภัย การปิดกั้นการเข้าถึงแหล่งอาหาร ประชาชนอดอยาก ทำมาหากินไม่ได้ เพาะปลูกไม่ได้ เพราะต้องหนีอยู่ตลอดเวลา นอกจากนั้นยังมีการใช้ทหารเด็ก บังคับเกณฑ์ทหาร และบังคับใช้แรงงานอย่างกว้างขวาง ซ้ำร้ายยังมีการเกิดขึ้นอย่างมากของธุรกิจมืดตามแนวชายแดน “ดังนั้นโดยส่วนตัวจึงมองว่าวิกฤตของพม่าก็คือวิกฤตของเรา (ไทย)” … Continue reading “พม่าที่ผลิกผัน”: วันวาน วันนี้ วันหน้า หน้าตาของพม่าจะเป็นอย่างไร และเราทำอะไรได้มากกว่านี้หรือไม่
หนังสือ "ประมวลประสบการณ์ กระบวนการฟื้นฟูตามธรรมชาติ การฟื้นฟูนิเวศและทรัพยากรประมง ของชุมชนลุ่มน้ำโขง" เกิดขึ้นได้ท่ามกลางวิกฤติปัญหาความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศแม่น้ำโขง หลายชุมชนได้นำเสนอปัญหาและเรียกร้องให้ทั้งหน่วยงานภายในประเทศและภูมิภาค เข้ามาแก้ไขปัญหาในเชิงนโยบาย เพื่อยุติการสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ และการเยียวยาผลกระทบที่เกิดขึ้นกับชุมชนและระบบนิเวศ อย่างไรก็ตามการแก้ปัญหาเชิงนโยบายระหว่างประเทศยังคงทำได้ยาก เนื่องจากเป็นผลมาจากการบริหารจัดการน้ำในเขื่อนของจีน และสปป.ลาว ดังนั้นควบคู่กับวิกฤติการณ์นี้ ชุมชนจึงดำเนินการอย่างเต็มที่เท่าที่ศักยภาพจะเอื้ออำนวย เพื่อให้สามารถรักษาและฟื้นฟูระบบนิเวศแม่น้ำโขงไว้ให้ได้ และเพื่อเป็นต้นแบบในการดูแลและใช้ชีวิตร่วมไปกับความหลากหลายทางชีวภาพ ทั้งด้านพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ และด้านความมั่นคงทางอาหาร เพื่อให้คนในชุมชนได้ประโยชน์ร่วมกันดังที่เคยเป็นมา ด้วยภูมิปัญญา วิถีชีวิต และความใกล้ชิตกับแม่น้ำโขงทุกลมหายใจเข้าออก ชุมชนจึงสังเกตเห็นถึงรูปแบบเฉพาะตัวในการเกิดใหม่ของกล้าไม้ธรรมชาติ เช่น ต้นอ่อนไคร้น้ำ, ไคร้นุ่น เกิดบริเวณแนวตลิ่งในระดับต่ำ และบริเวณรอบบุ่ง ซึ่งเป็นผลจากการขยายพันธุ์ตามธรรมชาติของพันธุ์ไม้ต่าง ๆ ที่เมล็ดได้ลอยตามน้ำมาเกิดขึ้นในพื้นที่ที่เหมาะแก่การเจริญเติบโต ซึ่งขณะเดียวกับในห้วงเวลาที่ระบบนิเวศโดยรวมเกิดวิกฤต นิเวศของแม่น้ำโขงทั้งสายก็ได้มีกระบวนการฟื้นฟูตัวเองตามธรรมชาติอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ ปรากฏการณ์นี้เป็นจุดตั้งต้นให้ชุมชนเห็นร่วมกันว่า ชุมชนสามารถเป็นตัวแปรหนึ่งในนิเวศที่ช่วยคงกระบวนการเยียวยาตามธรรมชาตินี้ไว้ได้ เพื่อช่วยรักษาและเติมเต็มระบบนิเวศให้กลับมาสมบูรณ์เท่าที่จะทำได้อีกครั้ง การทำงานหนักของชุมชนดังกล่าวจึงเกิดขึ้นเป็นหนังสือประมวลประสบการณ์เล่มนี้ ที่ชุมชนได้ดำเนินกิจกรรมฟื้นฟูและรักษาระบบนิเวศมีทั้งชุมชนในแม่น้ำโขงสายหลักและลำน้ำสาขา แบ่งเป็น 2 กิจกรรมใหญ่ คือ 1. การฟื้นฟูระบบนิเวศ เช่น การปล่อยลูกปลา การปลูกกล้าไม้ท้องถิ่น ฯลฯ ชุมชนย้ายกล้าไม้ธรรมชาติมาปลูกริมหนองขา พื้นที่บ้านสามผง จ.นครพนม สร้างและเติมแหล่งอาหารอาหารจากวัสดุธรรมชาติ เช่นแพลงตอน … Continue reading หนังสือประมวลประสบการณ์ชุมชนน้ำโขง
Teerachai Sanjaroenkijthaworn In the middle of March, there was a big news in the energy sector closely linked to the situation in Myanmar as PTT Exploration and Production Public Company Limited or PPTEP announced its additional shares purchasing and became the operator of the Yadana natural gas field and pipeline project in Myanmar after France’s … Continue reading “Myanmar’s Gas-Thailand’s Electricity: Relationship between Business and Human Rights Consciousness of the Yadana Project under Humanitarian Crisis after the Myanmar’s Coup” (EP.1)
Teerachai Sanjaroenkijthaworn Inviting you to capture the lessons learned from the over-365-day of the Myanmar’s pro-democracy movement through an exchange forum amongst the Thai young activists who continuously drive democracy and equality issues. This forum was held at the Documentary Club & Pub as part of the “365 Days after…” exhibition co-organized by the Spirit … Continue reading Decoding the Thai-Myanmar Pro-Democracy Movement, Driving the Inspiration across States– across Borders
เป็นเวลามากกว่ายี่สิบปีแล้ว จากการเฝ้าสังเกตสถานการณ์และผลกระทบ สภาพความเปลี่ยนแปลงของแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นผลจากการจัดการน้ำของเขื่อนในประเทศจีน รวมถึงการติดตามสถานการณ์ข่าวสาร แถลงการณ์ การให้ความเห็นของจีน ที่มีต่อประเด็นปัญหาความเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศในแม่น้ำโขง ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ท่าทีของจีนนั้นไม่เคยยอมรับว่าเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาและไม่ให้ความร่วมมือในการเปิดเผยข้อมูลการจัดการน้ำแก่ประเทศแม่น้ำโขงตอนล่างอย่างจริงจัง โปร่งใส และต่อเนื่อง ทั้งยังพยายามเสนอแนวคิดด้านการจัดการน้ำที่ขัดแย้งกับวัฏจักรตามธรรมชาติของแม่น้ำโขง การกล่าวอ้างถึงคุณูปการของการบริหารน้ำจากเขื่อนจีนที่ช่วยป้องกันน้ำท่วมและแก้ไขปัญหาน้ำแล้งให้กับประเทศน้ำโขงตอนล่าง รวมถึงการกล่าวอ้างถึงข้อทักท้วงของประชาชนในลุ่มน้ำโขงตอนล่างให้เกี่ยวโยงกับผลประโยชน์ทางการเมืองระหว่างประเทศนั้น เป็นสิ่งที่น่าผิดหวังต่อประชาชนในประเทศท้ายน้ำอย่างยิ่ง น้ำท่วมหน้าแล้งฉับพลัน จนผลผลิตเกษตรริมฝั่งเสียหาย ที่อ.ธาตุพนม จ.นครพนม ธันวาคม 2556 การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการไหลและระบบนิเวศแม่น้ำโขง เริ่มต้นตั้งแต่การเริ่มเปิดใช้งานเขื่อนม่านวาน (Manwan) เมื่อปี 2536 หรือ 29 ปีที่ผ่านมา เขื่อนม่านวาน เป็นเขื่อนกั้นแม่น้ำโขงสายหลักเขื่อนแรก ตั้งอยู่บนแม่น้ำโขงตอนบนในประเทศจีน ล่าสุดจีนได้สร้างเขื่อนเพื่อผลิตไฟฟ้าบนแม่น้ำโขงแล้วเสร็จจำนวน 11 เขื่อน โดยไม่แสดงเจตจำนงที่จะปรึกษาหารือใด ๆ กับประเทศลุ่มน้ำโขงตอนล่าง เช่น เขื่อนต้าเฉาชาน (Dachaoshan) สร้างเสร็จปี 2546, เขื่อนจินหง (Jinghong) สร้างเสร็จปี 2552, เขื่อนเสี่ยวหวาน(Xiaowan) สร้างเสร็จปี 2553, เขื่อนนั่วจาตู้ (Nouzhadu) สร้างเสร็จปี 2555 … Continue reading แถลงการณ์เครือข่ายประชาชนไทย 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขงเรียกร้องให้จีนยอมรับว่าเขื่อนจีนในแม่น้ำโขงตอนบนเป็นสาเหตุของปัญหาผลกระทบข้ามพรมแดน
ช่วงกลางเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เกิดข่าวใหญ่ในแวดวงพลังงานที่เชื่อมโยงถึงสถานการณ์ในเมียนมาอย่างมาก หลังจากที่บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท. สผ. ประกาศซื้อหุ้นเพิ่มและเข้าเป็นผู้ดำเนินงานในโครงการขุดเจาะและขนส่งก๊าซธรรมชาติในแหล่งยาดานา ประเทศเมียนมา จากการที่ บริษัท TotalEnergies บิ๊กพลังงานระดับโลกจากฝรั่งเศส ประกาศถอนการลงทุนจากโครงการนี้ด้วยเหตุผลด้านการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรงของกองทัพเมียนมาต่อประชาชนตั้งแต่เกิดการรัฐประหาร ซึ่งทาง Total และ Chevron ได้ออกมาประกาศเมื่อปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา แหล่งข่าวหลายสำนักระบุว่า ปตท. สผ. จำกัด (มหาชน) หรือ PTTEP จะเข้าทำการควบคุมการดำเนินงานในแหล่งก๊าซยาดานา บริเวณอ่าวเมาะตะมะ ซึ่งเป็น 1 ใน 3 แหล่งก๊าซสำคัญในเมียนมาที่บริษัท ปตท.สผ. เข้าร่วมลงทุน (อีก 2 แห่ง ได้แก่ แหล่งเยตากุนและแหล่งซอติก้า) ในวันที่ 20 กรกฎาคมที่จะถึงนี้แทน Total โดยคำนึงถึงความต่อเนื่องการบริโภคด้านพลังงานเป็นหลัก ก๊าซธรรมชาติที่ผลิตได้ในโครงการยาดานาจะถูกส่งขายให้กับ ปตท. ในฐานะผู้จัดหาพลังงาน ซึ่งก๊าซในส่วนนี้ราว 550 ล้านลูกบาศก์ฟุตจะถูกส่งผ่านท่อก๊าซจากฝั่งเมียนมาเข้ามายังฝั่งไทย ป้อนเข้าสู่โรงไฟฟ้าทั้งขนาดใหญ่และเล็ก … Continue reading “ก๊าซพม่า – ไฟฟ้าไทย : ความสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจและความสำนึกคิดถึงสิทธิมนุษยชนภายใต้วิกฤตมนุษยธรรมหลังรัฐประหารเมียนมาในโครงการยาดานา” (ตอนที่ 1)