พลับพลึงธารแม่น้ำโขง(Crinum viviparum) เป็นพืชที่เกิดในนิเวศแบบจำเพาะ คือบริเวณโขดหินริมน้ำโขงที่มีทรายปน สามารถอยู่ใต้น้ำได้ตลอดฤดูน้ำหลาก ดอกพลับพลึงธารจะบานตลอดฤดูแล้ง 1 กอ สามารถออกดอกได้มากกว่า 1 ช่อ และเกินกว่า 1 รอบ เมื่อดอกผลัดแรกเหี่ยวไป ดอกผลัดใหม่ก็พร้อมบาน จนฤดูน้ำหลากมาถึง กอพลับพลึงธารจะจมอยู่ใต้น้ำอีกครั้ง การสำรวจและรวบรวมข้อมูล พลับพลึงธารแม่น้ำโขง เบื้องต้น ในระหว่างเดือนธันวาคม 2563 ถึง เดือนมกราคม 2566 ในเขตอำเภอเชียงคาน ปากชม จังหวัดเลย และอำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย ได้พบพลับพลึงธารแม่น้ำโขงเกิดกระจาย ตั้งแต่บ้านห้วยซวก อ.เชียงคาน ขึ้นไปจนถึงบ้านม่วง อ.สังคม ในพื้นที่รวม 8 แห่งได้แก่ หาดจอมนาง, แก่งฟ้า, คกไผ่, แก่งจันทร์, แก่งหัวดอน, ก้อนบ่อง-ก้อนขอนค้าง, หนองปลาบึก และก้อนเล้าข้าว (ดูตำแหน่งได้ในแผนที่ประกอบ) พบกอพลับพลึงธารแม่น้ำโขงรวมกันอย่างน้อย 391 กอ ในแต่ละกอ อาจจะมีตั้งแต่ต้นเดียวไปจนถึง 50 ต้นในกอเดียวกัน ขึ้นกับอายุและความสมบูรณ์ของแต่ละกอ ความหลากหลายของลักษณะรูปร่างภายนอกได้ปรากฏให้เห็น 2 ประการ คือ จำนวนหลอดกลีบดอกที่มีจำนวนแตกต่างกัน (แม้ว่าจะเกิดในกอเดียวกันก็ตาม) … Continue reading ชะตากรรมบนถาดเพาะเลี้ยงของพลับพลึงธารแม่น้ำโขง (ตอน 2)