โครงการวิจัยและพัฒนาชุมชนต้นแบบด้านสุขภาวะ บนฐานความมั่นคงทรัพยากรทางอาหารและทรัพยากรธรรมชาติ ในลุ่มน้าโขง และความสามารถในการปรับตัวจากปัจจัยเสี่ยงด้านภัยพิบัติ ได้ดำเนินงานมาตั้งแต่เดือนมกราคม 2562 และสิ้นสุดโครงการในเดือนธันวาคม 2563 โครงการนี้ดำเนินการร่วมกับชุมชนริมแม่น้ำโขงและแม่น้ำสงครามจำนวน 22 ชุมชน (และมีคณะที่ปรึกษาในระดับจังหวัดได้ให้การสนับสนุนในกระบวนการทางาน) ภายใต้งานวิจัยเชิงปฏิบัติการที่เป็นความร่วมมือร่วมใจของทีมวิจัยชุมชนในทุก ๆ พื้นที่ โดยมีสถานการณ์ใหญ่ที่ต้องเผชิญหน้าร่วมกันคือ การเปลี่ยนแปลงของแม่น้ำโขงที่ผิดธรรมชาติและความแปรปรวนของฤดูกาล งานวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้เป็นส่วนหนึ่งการค้นหาคาตอบของโดยชุมชนเอง ในการน้ำความรู้ของชุมชน และผสานความรู้และการสนับสนุนจากภาคีต่าง ๆ มากำหนดแนวทางการปรับตัวให้สอดคล้องกับศักยภาพที่เป็นจริงของชุมชนในเวลานั้น และได้ปรากฏเป็น “แผนปฏิบัติการชุมชนต้นแบบ” ที่มีความหลากหลายไปตามแต่ละพื้นที่ ซึ่งมีชุมชนที่มีเงื่อนไขพร้อมดำเนินการตามแผนปฏิบัติการชุมชนต้นแบบต่อเนื่องในปี 2563 รวม 17 ชุมชน การดำเนินงานตลอดระยะเวลา 2 ปีนี้ โครงการฯ ขอขอบคุณหน่วยงานที่เป็นผู้สนับสนุนหลักคือ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และ มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน นอกจากนี้ยังมีภาคีเครือข่าย ที่ได้สนับสนุนการทำงานในโอกาสต่าง ๆ ได้แก่ สมาคมเครือข่ายสภาองค์กรชุมชนลุ่มน้าโขง 7 จังหวัดภาคอีสาน, สำนักบริหารนโยบายของนายกรัฐมนตรี (สบนร.), กรมประมง, องค์การบริหารส่วนตำบลพระกลางทุ่ง อ.ธาตุพนม จ.นครพนม, องค์การบริหารส่วนตาบลป่งขาม อ.หว้านใหญ่ จ.มุกดาหาร, … Continue reading โครงการวิจัยและพัฒนาชุมชนต้นแบบด้านสุขภาวะ บนฐานความมั่นคงทรัพยากรทางอาหารและทรัพยากรธรรมชาติ ในลุ่มน้ำโขง และความสามารถในการปรับตัวจากปัจจัยเสี่ยงด้านภัยพิบัติ
Tag: เขื่อนจีน
พลับพลึงธารแม่น้ำโขง(Crinum viviparum) เป็นพืชที่เกิดในนิเวศแบบจำเพาะ คือบริเวณโขดหินริมน้ำโขงที่มีทรายปน สามารถอยู่ใต้น้ำได้ตลอดฤดูน้ำหลาก ดอกพลับพลึงธารจะบานตลอดฤดูแล้ง 1 กอ สามารถออกดอกได้มากกว่า 1 ช่อ และเกินกว่า 1 รอบ เมื่อดอกผลัดแรกเหี่ยวไป ดอกผลัดใหม่ก็พร้อมบาน จนฤดูน้ำหลากมาถึง กอพลับพลึงธารจะจมอยู่ใต้น้ำอีกครั้ง การสำรวจและรวบรวมข้อมูล พลับพลึงธารแม่น้ำโขง เบื้องต้น ในระหว่างเดือนธันวาคม 2563 ถึง เดือนมกราคม 2566 ในเขตอำเภอเชียงคาน ปากชม จังหวัดเลย และอำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย ได้พบพลับพลึงธารแม่น้ำโขงเกิดกระจาย ตั้งแต่บ้านห้วยซวก อ.เชียงคาน ขึ้นไปจนถึงบ้านม่วง อ.สังคม ในพื้นที่รวม 8 แห่งได้แก่ หาดจอมนาง, แก่งฟ้า, คกไผ่, แก่งจันทร์, แก่งหัวดอน, ก้อนบ่อง-ก้อนขอนค้าง, หนองปลาบึก และก้อนเล้าข้าว (ดูตำแหน่งได้ในแผนที่ประกอบ) พบกอพลับพลึงธารแม่น้ำโขงรวมกันอย่างน้อย 391 กอ ในแต่ละกอ อาจจะมีตั้งแต่ต้นเดียวไปจนถึง 50 ต้นในกอเดียวกัน ขึ้นกับอายุและความสมบูรณ์ของแต่ละกอ ความหลากหลายของลักษณะรูปร่างภายนอกได้ปรากฏให้เห็น 2 ประการ คือ จำนวนหลอดกลีบดอกที่มีจำนวนแตกต่างกัน (แม้ว่าจะเกิดในกอเดียวกันก็ตาม) … Continue reading ชะตากรรมบนถาดเพาะเลี้ยงของพลับพลึงธารแม่น้ำโขง (ตอน 2)
หนังสือ "ประมวลประสบการณ์ กระบวนการฟื้นฟูตามธรรมชาติ การฟื้นฟูนิเวศและทรัพยากรประมง ของชุมชนลุ่มน้ำโขง" เกิดขึ้นได้ท่ามกลางวิกฤติปัญหาความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศแม่น้ำโขง หลายชุมชนได้นำเสนอปัญหาและเรียกร้องให้ทั้งหน่วยงานภายในประเทศและภูมิภาค เข้ามาแก้ไขปัญหาในเชิงนโยบาย เพื่อยุติการสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ และการเยียวยาผลกระทบที่เกิดขึ้นกับชุมชนและระบบนิเวศ อย่างไรก็ตามการแก้ปัญหาเชิงนโยบายระหว่างประเทศยังคงทำได้ยาก เนื่องจากเป็นผลมาจากการบริหารจัดการน้ำในเขื่อนของจีน และสปป.ลาว ดังนั้นควบคู่กับวิกฤติการณ์นี้ ชุมชนจึงดำเนินการอย่างเต็มที่เท่าที่ศักยภาพจะเอื้ออำนวย เพื่อให้สามารถรักษาและฟื้นฟูระบบนิเวศแม่น้ำโขงไว้ให้ได้ และเพื่อเป็นต้นแบบในการดูแลและใช้ชีวิตร่วมไปกับความหลากหลายทางชีวภาพ ทั้งด้านพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ และด้านความมั่นคงทางอาหาร เพื่อให้คนในชุมชนได้ประโยชน์ร่วมกันดังที่เคยเป็นมา ด้วยภูมิปัญญา วิถีชีวิต และความใกล้ชิตกับแม่น้ำโขงทุกลมหายใจเข้าออก ชุมชนจึงสังเกตเห็นถึงรูปแบบเฉพาะตัวในการเกิดใหม่ของกล้าไม้ธรรมชาติ เช่น ต้นอ่อนไคร้น้ำ, ไคร้นุ่น เกิดบริเวณแนวตลิ่งในระดับต่ำ และบริเวณรอบบุ่ง ซึ่งเป็นผลจากการขยายพันธุ์ตามธรรมชาติของพันธุ์ไม้ต่าง ๆ ที่เมล็ดได้ลอยตามน้ำมาเกิดขึ้นในพื้นที่ที่เหมาะแก่การเจริญเติบโต ซึ่งขณะเดียวกับในห้วงเวลาที่ระบบนิเวศโดยรวมเกิดวิกฤต นิเวศของแม่น้ำโขงทั้งสายก็ได้มีกระบวนการฟื้นฟูตัวเองตามธรรมชาติอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ ปรากฏการณ์นี้เป็นจุดตั้งต้นให้ชุมชนเห็นร่วมกันว่า ชุมชนสามารถเป็นตัวแปรหนึ่งในนิเวศที่ช่วยคงกระบวนการเยียวยาตามธรรมชาตินี้ไว้ได้ เพื่อช่วยรักษาและเติมเต็มระบบนิเวศให้กลับมาสมบูรณ์เท่าที่จะทำได้อีกครั้ง การทำงานหนักของชุมชนดังกล่าวจึงเกิดขึ้นเป็นหนังสือประมวลประสบการณ์เล่มนี้ ที่ชุมชนได้ดำเนินกิจกรรมฟื้นฟูและรักษาระบบนิเวศมีทั้งชุมชนในแม่น้ำโขงสายหลักและลำน้ำสาขา แบ่งเป็น 2 กิจกรรมใหญ่ คือ 1. การฟื้นฟูระบบนิเวศ เช่น การปล่อยลูกปลา การปลูกกล้าไม้ท้องถิ่น ฯลฯ ชุมชนย้ายกล้าไม้ธรรมชาติมาปลูกริมหนองขา พื้นที่บ้านสามผง จ.นครพนม สร้างและเติมแหล่งอาหารอาหารจากวัสดุธรรมชาติ เช่นแพลงตอน … Continue reading หนังสือประมวลประสบการณ์ชุมชนน้ำโขง
แม่น้ำโขงต้องคำสาปทรัพยากร (Resource Curse) หรือไม่ ไม่มีใครสามารถบอกได้ แต่ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและระบบนิเวศของแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นหลักประกันความมั่นคงของสรรพชีวิตทั้งปวง และการดำรงอยู่ของชุมชนลุ่มน้ำโขงหลากหลายชาติพันธุ์มาอย่างยาวนานนั้น ได้ถูกใช้ไปในมิติใหม่ นั่นคือแปรผันความอุดมสมบูรณ์ทั้งปวงที่มีอยู่ให้กลายเป็นไฟฟ้า ผ่านสิ่งก่อสร้างที่เรียกว่า “เขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ” และทำลายหลักประกันความมั่นคงของสรรพชีวิตทั้งหลายออกไป ระยะเวลาเพียงผีเสื้อกระพือปีกของประวัติศาสตร์การกำเนิดเขื่อนบนแม่น้ำโขง ตั้งแต่ปี 2536 เป็นต้นมา ที่ประเทศจีนได้เริ่มสร้างและเดินเครื่องเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนแรกคือ เขื่อนม่านวาน ที่สร้างแรงกระชากต่อวัฏจักรน้ำโขงครั้งรุนแรง นั่นคือปรากฏการณ์น้ำโขงแห้ง วัดค่าได้ต่ำมากและจนถึงวัดค่าไม่ได้ ที่สถานีเชียงแสนใน 2 ช่วงเวลาคือ ระหว่างวันที่ 19-26 เมษายน ระดับน้ำโขงอยู่ระหว่าง 0.88-1.0 เมตร และ ระหว่างวันที่ 26-28 พฤษภาคม 2536 ระดับน้ำโขงอยู่ระหว่าง 0 – 0.23 เมตร ซึ่งปรากฏการณ์นี้ทั้งคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (Mekong River Commission) และประเทศลุ่มน้ำโขงตอนล่างพร้อมใจกันเรียกว่า “ภัยแล้ง” เหมือนว่าวิกฤตินี้เป็นเพียงปรากฏการณ์ทางธรรมชาติอันธรรมดาสามัญ จนถึงปัจจุบัน ประเทศจีนได้สร้างเขื่อนบนแม่น้ำโขงแล้วเสร็จจำนวน 11 เขื่อน โดยไม่เคยแสดงเจตจำนงที่จะปรึกษาหารือใด ๆ กับประเทศลุ่มน้ำโขงตอนล่าง … Continue reading เขื่อนจีนกับ 12 ปี แห่งการขโมยน้ำโขง: อาการหน้าไหว้หลังหลอก (两面三刀) ของคนเห็นแก่ตัว (自私自利) ของจีนต่อรัฐบาลประเทศลุ่มน้ำโขงตอนล่าง
“หัวปี ท้ายปี กับ น้ำโขงใส ไร้ตะกอน และการระบาดของสาหร่ายแม่น้ำโขง” สถานการณ์ในปี 2563 ของแม่น้ำโขงนั้นนับว่ามีความซับซ้อนเพิ่มขึ้นอย่างมาก จากปัจจัยใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น เช่น การเปิดใช้งานของเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ ไซยะบุรี ในวันที่ 29 ตุลาคม 2562 ที่ส่งผลกระทบเชิงประจักษ์มากมาย เช่น ภาวะน้ำโขงท้ายเขื่อนลดระดับจนแห้งขอด การเกิดภาวะน้ำใสไร้ตะกอน ส่งผลให้องค์ประกอบในนิเวศเปลี่ยนอย่างรุนแรงจนหลายพื้นที่ในภาคอีสานเกิดสาหร่ายแม่น้ำโขงระบาดหนักหลายเดือน, ปัจจัยจากเขื่อนจีนที่ยังคงบริหารน้ำตามใจชอบจนเกิดวิกฤติภัยแล้งต่อเนื่องยาวนาน ทั้งยังเกิดภาวะน้ำเพิ่มระดับนอกฤดูกาล, ภาวะสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงที่ซ้ำเติมให้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมในภูมิภาคแม่น้ำโขงรุนแรงเพิ่มขึ้น และปัจจัยใหม่ที่ต้องจับตาคือภาวะโรคระบาดอันส่งผลต่อการจัดสรรและการเข้าถึงแหล่งอาหารในแต่ละพื้นที่ ไม่เพียงเท่านั้น ช่วงกระแสแห่งความทุกข์ยากของประชาชนในแม่น้ำโขงที่กำลังดำเนินไปนั้น ยังเกิดบรรยากาศทางการเมืองระหว่างประเทศมหาอำนาจ ที่ใช้แม่น้ำโขงเป็นสนามของความขัดแย้ง การเมืองระดับโลกนี้ได้เกิดขึ้นทับซ้อนกับการเมืองระหว่างประเทศสมาชิกในลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง ซึ่งเราต้องจับตาและประเมินสถานการณ์กันต่อไปทั้งสองระดับ อย่างไรก็ตามปัจจัยเรื่องเขื่อนในแม่น้ำโขงยังคงเป็นปัจจัยหลักในเกิดการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศแม่น้ำโขง อย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในทันทีที่มีการเปิดใช้งานเขื่อนไซยะบุรี ด้วยปรากฎการณ์ “น้ำโขงใส ไร้ตะกอน” ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2562 จนเข้าสู่ต้นปี 2563 จนถึงเดือนเมษายน และเมื่อเข้าสู่ช่วงปลายปี 2563 ปรากฎการณ์น้ำโขงใส ไร้ตะกอน ได้ปรากฏขึ้นอีกครั้งในช่วงกลางเดือนพฤศจิกายน 2563 นับเป็นปรากฎการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ดังนั้นปรากฎการณ์ใหม่ของแม่น้ำโขง คือ “หัวปี ท้ายปี … Continue reading สรุปสถานการณ์แม่น้ำโขง 2563
กับดักสงครามระหว่างจีนและอเมริกาในวันที่บาดแผลแม่น้ำโขงยังเรื้อรัง————————————————————————————— คงไม่มีช่วงเวลาไหนในประวัติศาสตร์อันยาวนานของสถานเอกอัครราชฑูตจีนประจำประเทศไทย ที่ต้องออกถ้อยแถลงผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อปฏิเสธข้อกล่าวหาในการเป็นต้นเหตุของการเปลี่ยนแปลงการไหลของน้ำโขงอย่างสุดขั้วในลักษณะ “ท่วมหน้าแล้ง แห้งหน้าฝน” ตั้งแต่ปี 2562 และต่อเนื่องจนถึงต้นปี 2563 จากสาเหตุที่เขื่อนจินหงลดการระบายน้ำ จนเกิดภาวะน้ำโขงแห้งมาตลอดหลายเดือนนี้ เป็นการออกถ้อยแถลงที่ “เรียกแขก” จนทำให้ “หัวบันไดไม่แห้ง” เลยทีเดียว เรียงตามช่วงวันเวลา คือ วันที่ 5 กรกฎาคม 2562, วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2563, วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2563, วันที่ 2 มีนาคม 2563 วันที่ 24, 25, 27 และ 28 เมษายน 2563 โดยสถานฑูตจีน พยายามหักล้างข้อวิจารณ์ โดยใช้วาทกรรมหลักเพื่อแก้ต่าง ดังนี้ ปริมาณน้ำจากจีนมีสัดส่วนเพียง 13.5%, การระบายน้ำเพิ่มในฤดูแล้งเพื่อการชลประทาน, การลดการระบายน้ำในหน้าฝน เพื่อลดความเสียหายจากการเกิดอุทกภัย รวมถึงการใช้วาทกรรม “เพื่อสร้างสรรค์สิ่งที่ดีงามแก่ประชาชนในภูมิภาค เพื่อความร่วมมืออันดีในอนุภูมิภาคฯ” … Continue reading 27 ปีของเกมการเมืองแม่น้ำโขง
เรื่องและภาพ: ชนาง อำภารักษ์ วิถีชีวิตการการหาอยู่หากินของคนริมโขงนอกจากจะหาปลากันตลอดปีแล้ว ยังมีผักหลายชนิดที่หาเก็บได้ตามฤดูกาล โดยเฉพาะช่วงน้ำลงที่พืชผักจะโผล่พ้นน้ำให้เราได้เก็บเกี่ยว วันนี้ที่บ้านต้าย ต.นากั้ง อ.ปากคาด จ.บึงกาฬ ชาวบ้านจึงได้ของแซ่บหน้าแล้งเป็นผัก 2 ชนิด คือผักคราด และผักขี้ขมหรือผักดางขม 🌿ผักคราดนี้มีรสออกเผ็ดชาลิ้น เหมาะกินสดแกล้มส้มตำ แจ่ว ซุปหน่อไม้ หรือจะนำไปทำแกงหน่อไม้ แกงปลาก็ได้ 🌿ผักขี้ขม หรือดางขม มีรสออกขมตามชื่อ เหมาะนำมาแกงปลาเพื่อดับกลิ่นคาว เป็นผักแซ่บนิยมกินกันทั่วไปตลอดพื้นที่แนวแม่น้ำโขง ตัวอย่างผักที่เก็บได้วันนี้จะนำมาแกงคู่กับปลาที่หาได้ในแม่น้ำโขงเช่นกัน เรียกว่าลงโขงครั้งเดียวก็ได้วัตถุดิบอย่างดีไปทำอาหารกินในครอบครัวได้หลายมื้อ ยิ่งช่วงเวลาที่ไม่นานสำหรับการโผล่พ้นน้ำในหน้าแล้งให้ได้เก็บกินนั้น จึงนับว่าผักตามฤดูเหล่านี้หายาก เป็นของดีของเด็ด เมื่อถึงฤดูน้ำหลากผักก็จะออกดอกแพร่เมล็ดพันธุ์ให้ไหลไปตามสายน้ำเพื่อรอโอกาสงอกและเติบโตใหม่ในฤดูแล้งหน้า . หากช่วงน้ำลดไม่นานพอหรือน้ำหลากขึ้นลงไม่เป็นฤดูตลอดปี ผักหลายชนิดที่อาศัยปัจจัยของระดับน้ำและวงจรเติบโตตามช่วงเวลาเช่นนี้จะไม่อาจขยายพันธุ์ได้อีกต่อไป ตลอดมาและในอนาคตการปล่อยและกักน้ำจากเขื่อนได้เป็นตัวแปรทำให้ผักพื้นบ้าน รวมทั้งพืชพันธุ์ท้องถิ่น พืชน้ำที่สำคัญต่อระบบนิเวศและการหากินของปลา ไปจนถึงพันธุ์ปลาในแม่น้ำโขงที่มีวงจรชีวิตพึ่งพิงฤดูกาลเช่นกันนั้นลดจำนวนลงเรื่อยๆ การลงโขงหนึ่งครั้งได้แกงกินไปหลายมื้อของชาวบ้านอาจไม่มีอยู่จริงอีกหากการพัฒนา เช่นเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำที่เกิดขึ้นตลอดสายน้ำโขงและน้ำสาขายังคงรุกรานแหล่งอาหารหลักของคนทั้งลุ่มน้ำเช่นนี้
The Mekong Butterfly จับเข่าคุยสบาย ๆ ในเรื่องซีเรียส ด้วย 3 คำถามสำคัญ (ปัญหา สาเหตุของปัญหา และวิธีการตั้งรับปรับตัวในสถานการณ์ปัจจุบัน) กับ 6 ลูกน้ำโขง จาก 6 พื้นที่ริมโขง ซึ่งเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงผันผวนของแม่น้ำโขงมาตลอดในรอบทศวรรษที่ผ่านมา ทั้งภัยพิบัติอุทกภัย ระดับน้ำโขงขึ้นลงผิดปกติ อันมีต้นตอจากสิ่งที่เห็นตรงกันว่า เขื่อน บนแม่น้ำโขงสายหลักและลำน้ำสาขาคือคำตอบของปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นในขณะนี้ พร้อมเผยให้เห็น “ต้นทุนที่ถูกซุกซ่อน (hidden cost)” จากการทำงานของเขื่อนบนแม่น้ำโขง ที่ “คนข้างบน” ควบคุมได้แต่ “คนข้างล่าง” ไม่อาจควบคุม ส่งผลให้องค์ความรู้ที่มีอยู่ของลูกน้ำโขงเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม จากที่ศึกษาจากธรรมชาติของแม่น้ำโขง กลับกลายมาเป็นศึกษาจากการทำงานของเขื่อนเพื่อเข้าใจการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในขณะนี้ อันนำไปสู่การตั้งรับ/ปรับตัวในแง่มุมต่าง ๆ สอน จำปาดอก บ้านสำโรง หมู่ 5 อำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี ปัญหา/ความผิดปกติของแม่น้ำโขงในขณะนี้ “สิ่งที่ผิดปกติในตอนนี้คือ น้ำโขงขึ้นลงผิดปกติ ช่วงนี้หน้าแล้ง แต่น้ำขึ้น ทำให้เกษตรริมโขงได้รับผลกระทบ พืชที่ได้รับผลกระทบก็พวกมันแกว ถั่วลิสง ถั่วดิน ข้าวโพด คนมีมากก็ปลูกมาก … Continue reading จับเข่าคุย 6 ลูกแม่น้ำโขง
โดย ชนาง อำภารักษ์ “งานเสวนา น้ำเขื่อนท่วมน้ำโขง: สิทธิข้ามพรมแดน ความรับผิดชอบ และอนาคตร่วมกัน เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2561 ที่จังหวัดบึงกาฬ” จากเหตุการณ์อุทกภัยครั้งใหญ่ในแขวงอัตตะปือ ซึ่งเกิดจากสิ่งก่อสร้างโดยฝีมือมนุษย์ นั่นก็คือเขื่อนปิดกั้นช่องเขา ของอ่างเก็บน้ำเขื่อนเซน้ำน้อยได้พังทลายลงจนมวลน้ำมหาศาลกว่า 500 ล้านลูกบาศ์กเมตร ไหลบ่าสู่พื้นที่ลุ่มน้ำเซเปียน และต่อเนื่องถึงลุ่มน้ำเซกองตอนล่าง เป็นเหตุให้พี่น้องชาวลาวหลายพันคนต้องเจอภาวะสูญเสียชีวิต ที่อยู่อาศัยและทรัพย์สิน รวมถึงการพลัดพรากจากครอบครัว ซึ่งผลกระทบทั้งหลายต้องอาศับการฟื้นฟูเยียวยาอย่างเข้มข้นและต่อเนื่อง หากทุกวันนี้การช่วยเหลือที่มาจากผู้เกี่ยวข้องกับโครงการยังไปสู่ชาวบ้านในพื้นที่อย่างไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย ไม่เพียงผลกระทบจะเกิดเฉพาะในพื้นที่เท่านั้น หากยังลามไปถึงประเทศโดยรอบที่มีแม่น้ำโขงไหลผ่าน เนื่องจากน้ำมหาศาลเหล่านั้นได้ไหลลงสู่แม่น้ำเซกอง ลำน้ำสาขาของแม่น้ำโขง อันเป็นเป็นพรมแดนต่อไปยังประเทศกัมพูชาทำให้ต้องอพยพผู้คนออกจากพื้นที่ ซึ่ง 88% ของพื้นที่เกษตรใน 17 หมู่บ้านของชาวบ้านกว่า 8,000 ครอบครัวเสียหาย ขณะเดียวกันในฝั่งประเทศไทยที่อยู่เหนือพื้นที่น้ำท่วมก็ต้องเจอกับสถาณการณ์การปล่อยน้ำจากเขื่อนลาวพร้อมกัน ทั้งจากเขื่อนน้ำงึมและเขื่อนน้ำเทิน 2 ซ้ำซ้อนจนเมื่อน้ำทุกสายที่เขื่อนปล่อยมารวมกันในน้ำโขงสายหลักก็ไม่อาจรองรับได้ทั้งหมด จนหลายพื้นที่ริมโขงในภาคอีสานของไทยต้องเจอกับอุทกภัยครั้งใหญ่ โดยเฉพาะพื้นที่จังหวัดบึงกาฬที่ได้รับผลกระทบจากเขื่อนลาวรุนแรงมาก โดยสาเหตุที่ทำให้น้ำโขงขึ้นสูงผิดปกติ เนื่องจากทางนายกรัฐมนตรีลาวมีคำสั่งให้ตรวจสอบเขื่อนอื่น ๆ ที่มีแนวโน้มคล้ายกับเขื่อนเซเปียนที่แตกไป ส่งผลให้เขื่อนอื่น ๆ ในลาวทยอยปล่อยน้ำเพื่อรักษาระดับให้คงที่ ทำให้ระดับน้ำในฝั่งไทย โดยเฉพาะในจ.บึงกาฬสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ด้วยปัญหาอันเร่งด่วนที่เกิดขึ้นจึงเกิดเป็นวงเสวนา คำให้การชาวบ้านแม่น้ำโขง … Continue reading เคราะห์ซ้ำ น้ำซัด ภัยพิบัติหรือน้ำมือมนุษย์