พลับพลึงธารแม่น้ำโขง(Crinum viviparum) เป็นพืชที่เกิดในนิเวศแบบจำเพาะ คือบริเวณโขดหินริมน้ำโขงที่มีทรายปน สามารถอยู่ใต้น้ำได้ตลอดฤดูน้ำหลาก ดอกพลับพลึงธารจะบานตลอดฤดูแล้ง 1 กอ สามารถออกดอกได้มากกว่า 1 ช่อ และเกินกว่า 1 รอบ เมื่อดอกผลัดแรกเหี่ยวไป ดอกผลัดใหม่ก็พร้อมบาน จนฤดูน้ำหลากมาถึง กอพลับพลึงธารจะจมอยู่ใต้น้ำอีกครั้ง การสำรวจและรวบรวมข้อมูล พลับพลึงธารแม่น้ำโขง เบื้องต้น ในระหว่างเดือนธันวาคม 2563 ถึง เดือนมกราคม 2566 ในเขตอำเภอเชียงคาน ปากชม จังหวัดเลย และอำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย ได้พบพลับพลึงธารแม่น้ำโขงเกิดกระจาย ตั้งแต่บ้านห้วยซวก อ.เชียงคาน ขึ้นไปจนถึงบ้านม่วง อ.สังคม ในพื้นที่รวม 8 แห่งได้แก่ หาดจอมนาง, แก่งฟ้า, คกไผ่, แก่งจันทร์, แก่งหัวดอน, ก้อนบ่อง-ก้อนขอนค้าง, หนองปลาบึก และก้อนเล้าข้าว (ดูตำแหน่งได้ในแผนที่ประกอบ) พบกอพลับพลึงธารแม่น้ำโขงรวมกันอย่างน้อย 391 กอ ในแต่ละกอ อาจจะมีตั้งแต่ต้นเดียวไปจนถึง 50 ต้นในกอเดียวกัน ขึ้นกับอายุและความสมบูรณ์ของแต่ละกอ ความหลากหลายของลักษณะรูปร่างภายนอกได้ปรากฏให้เห็น 2 ประการ คือ จำนวนหลอดกลีบดอกที่มีจำนวนแตกต่างกัน (แม้ว่าจะเกิดในกอเดียวกันก็ตาม) … Continue reading ชะตากรรมบนถาดเพาะเลี้ยงของพลับพลึงธารแม่น้ำโขง (ตอน 2)
Tag: เขื่อนบนแม่น้ำโขง
ตลอดระยะเวลาของการลงนามซื้อไฟฟ้าของไทย จากเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำบนแม่น้ำโขงในสปป.ลาว ตั้งแต่ เขื่อนไซยะยุรี, เขื่อนหลวงพระบาง และเขื่อนปากลายนั้น เกิดขึ้นท่ามกลางคำถามถึงความจำเป็นด้านพลังงานไฟฟ้าของไทย และความสูญเสียต่อระบบนิเวศแม่น้ำโขงและชุมชนลุ่มน้ำโขง เพราะทุกครั้งของการลงนาม ไทยมีไฟฟ้าสำรองในระบบเกินมาตรฐาน 15% ไปมากถึง 40-50% ประกอบกับกระบวนการตัดสินใจคัดเลือก และการเจรจาเงื่อนไขการรับซื้อไฟฟ้า จนได้มาซึ่ง “สัญญาซื้อขายไฟฟ้า” นั้น (หรือ PPA: Power Purchase Agreement) ไม่ได้อิงกฏหมายจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ไม่ได้อิงกับระเบียบว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และไม่ได้อิงกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญหมวดสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทยและหน้าที่ของรัฐ แม้กระทั่งกลไกถ่วงดุลตรวจสอบของรัฐสภา ยังไม่สามารถเข้าถึงและตรวจสอบกระบวนการตัดสินใจหรือข้อมูลในสัญญาซื้อขายไฟฟ้านี้ได้ จึงส่งผลให้การลงนาม PPA ทั้งสามครั้งที่ผ่านมา เป็นการตัดสินใจของภาครัฐเพียงฝ่ายเดียวโดยสมบูรณ์ แม้บริษัทต่าง ๆ ของไทย จะเป็นผู้ได้รับสัมปทานก่อสร้างเขื่อนและได้เงินกู้จากธนาคารของไทย จนสามารถลงนามขายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้นั้น แต่จุดเริ่มของกระบวนการนี้นั้น บริษัททั้งหลายของไทย ไม่สามารถยื่นข้อเสนอขายไฟฟ้าให้กับ กฟผ. ได้โดยตรง ต้องอาศัยรัฐบาลสปป.ลาว เป็นผู้เสนอขายไฟฟ้า ภายใต้กรอบบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding: MOU) เรื่องความร่วมมือในการพัฒนาไฟฟ้าในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (บันทึกความเข้าใจฯ) ซึ่งมีการลงนามเป็นลำดับดังนี้ 1. ครั้งที่หนึ่ง วันที่ 6 มิถุนายน 2536 กำหนดจำหน่ายไฟฟ้าให้ไทยในปริมาณ 1,500เมกะวัตต์ 2. ครั้งที่สอง วันที่ 19 มิถุนายน 2539 กำหนดจำหน่ายไฟฟ้าให้ไทยในปริมาณ 3,000เมกะวัตต์ 3. ครั้งที่สาม วันที่ 18 ธันวาคม 2549 กำหนดจำหน่ายไฟฟ้าให้ไทยในปริมาณ 5,000เมกะวัตต์ 4. ครั้งที่สี่ วันที่ 22 ธันวาคม 2550 กำหนดจำหน่ายไฟฟ้าให้ไทยในปริมาณ 7,000 เมกะวัตต์ ต่อมามีการลงนาม PPA ซื้อไฟฟ้าจากเขื่อนไซยะยุรี ในวันที่ 29 ตุลาคม 2554 และเริ่มจ่ายไฟฟ้าให้ไทยเป็นทางการเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2562 5. ครั้งที่ห้า วันที่ 6 กันยายน 2559 กำหนดจำหน่ายไฟฟ้าให้ไทยในปริมาณ 9,000 เมกะวัตต์ 6. ครั้งที่หก มติคณะรัฐมนตรี … Continue reading PPA รีดเลือดกับปู: หนึ่งร้อยปีแห่งความโดดเดี่ยวของปูที่ต้องจ่าย
หนังสือ "ประมวลประสบการณ์ กระบวนการฟื้นฟูตามธรรมชาติ การฟื้นฟูนิเวศและทรัพยากรประมง ของชุมชนลุ่มน้ำโขง" เกิดขึ้นได้ท่ามกลางวิกฤติปัญหาความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศแม่น้ำโขง หลายชุมชนได้นำเสนอปัญหาและเรียกร้องให้ทั้งหน่วยงานภายในประเทศและภูมิภาค เข้ามาแก้ไขปัญหาในเชิงนโยบาย เพื่อยุติการสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ และการเยียวยาผลกระทบที่เกิดขึ้นกับชุมชนและระบบนิเวศ อย่างไรก็ตามการแก้ปัญหาเชิงนโยบายระหว่างประเทศยังคงทำได้ยาก เนื่องจากเป็นผลมาจากการบริหารจัดการน้ำในเขื่อนของจีน และสปป.ลาว ดังนั้นควบคู่กับวิกฤติการณ์นี้ ชุมชนจึงดำเนินการอย่างเต็มที่เท่าที่ศักยภาพจะเอื้ออำนวย เพื่อให้สามารถรักษาและฟื้นฟูระบบนิเวศแม่น้ำโขงไว้ให้ได้ และเพื่อเป็นต้นแบบในการดูแลและใช้ชีวิตร่วมไปกับความหลากหลายทางชีวภาพ ทั้งด้านพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ และด้านความมั่นคงทางอาหาร เพื่อให้คนในชุมชนได้ประโยชน์ร่วมกันดังที่เคยเป็นมา ด้วยภูมิปัญญา วิถีชีวิต และความใกล้ชิตกับแม่น้ำโขงทุกลมหายใจเข้าออก ชุมชนจึงสังเกตเห็นถึงรูปแบบเฉพาะตัวในการเกิดใหม่ของกล้าไม้ธรรมชาติ เช่น ต้นอ่อนไคร้น้ำ, ไคร้นุ่น เกิดบริเวณแนวตลิ่งในระดับต่ำ และบริเวณรอบบุ่ง ซึ่งเป็นผลจากการขยายพันธุ์ตามธรรมชาติของพันธุ์ไม้ต่าง ๆ ที่เมล็ดได้ลอยตามน้ำมาเกิดขึ้นในพื้นที่ที่เหมาะแก่การเจริญเติบโต ซึ่งขณะเดียวกับในห้วงเวลาที่ระบบนิเวศโดยรวมเกิดวิกฤต นิเวศของแม่น้ำโขงทั้งสายก็ได้มีกระบวนการฟื้นฟูตัวเองตามธรรมชาติอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ ปรากฏการณ์นี้เป็นจุดตั้งต้นให้ชุมชนเห็นร่วมกันว่า ชุมชนสามารถเป็นตัวแปรหนึ่งในนิเวศที่ช่วยคงกระบวนการเยียวยาตามธรรมชาตินี้ไว้ได้ เพื่อช่วยรักษาและเติมเต็มระบบนิเวศให้กลับมาสมบูรณ์เท่าที่จะทำได้อีกครั้ง การทำงานหนักของชุมชนดังกล่าวจึงเกิดขึ้นเป็นหนังสือประมวลประสบการณ์เล่มนี้ ที่ชุมชนได้ดำเนินกิจกรรมฟื้นฟูและรักษาระบบนิเวศมีทั้งชุมชนในแม่น้ำโขงสายหลักและลำน้ำสาขา แบ่งเป็น 2 กิจกรรมใหญ่ คือ 1. การฟื้นฟูระบบนิเวศ เช่น การปล่อยลูกปลา การปลูกกล้าไม้ท้องถิ่น ฯลฯ ชุมชนย้ายกล้าไม้ธรรมชาติมาปลูกริมหนองขา พื้นที่บ้านสามผง จ.นครพนม สร้างและเติมแหล่งอาหารอาหารจากวัสดุธรรมชาติ เช่นแพลงตอน … Continue reading หนังสือประมวลประสบการณ์ชุมชนน้ำโขง
หนังสือภาพถ่าย “แม่น้ำโขง สัมพันธ์ภาพแห่งชีวิต” (The Mekong Harmony) ส่วนหนึ่งเกิดจากความต้องการถ่ายทอดภาพอันสวยงามของแม่น้ำโขง แม่น้ำสายยาวที่ไหลผ่านนานาประเทศนับพันกิโลเมตร แต่ยังมีอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่คงค้างในใจพวกเรามายาวนาน แม้ตลอดการทำงานของพวกเราจะมีช่วงเวลาให้แทบหยุดหายใจเสมอเมื่ออยู่ท่ามกลางการโอบล้อมของทั้งแม่น้ำ ภูเขา หินผา ที่รวมเป็นทิวทัศน์และบรรยากาศอันตรึงใจ แต่เมื่อเราหยุดนิ่ง และสังเกต กลับมีอีกหลายสิ่งที่ดึงดูดเรายิ่งกว่าทิวทัศน์ เราได้เห็นมนุษย์และจังหวะการใช้ชีวิตของพวกเขา เราได้เห็นสีเขียวที่ไล่เฉดต่างกันไปของพุ่มไม้น้ำ บ้างมีดอกขาว บ้างมีผลแดงก่ำพราวทั่วต้น เราได้ยินเสียงนกต่างสายพันธุ์ร้องกระจายไปทั่วคุ้งน้ำทั้งไกลและใกล้ พร้อมเสียงกระพือปีกแยกย้ายจากดอนและแก่งยามเรือหาปลาแล่นผ่าน กลิ่นดินตะกอนหลากมาพร้อมสายน้ำ หรือหากเราเดินตามชาวประมงไป จะได้กลิ่นปลาสดใหม่ที่ดิ้นกันอยู่เต็มข้อง และแม้เราไม่ได้อยู่เป็นพยานของปรากฏการณ์ตรงนั้น แต่สิ่งเหล่านี้ก็เกิดขึ้นอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันเป็นปกติธรรมดา ผันเปลี่ยนและเวียนซ้ำตามฤดูกาลเหมือนที่ได้ดำเนินมาตลอดก่อนหน้านี้เนิ่นนาน เป็นข่ายใยชีวิตที่ล้วนประสานสอดคล้องโดยไม่อาจแยกขาดจากกันได้ คงเป็นธรรมชาติของสรรพสิ่งที่ต้องหมุนไปด้วยการพึ่งพาและเกื้อกูล เพราะสมดุลของธรรมชาตินั้นเกิดขึ้นไม่ได้จากการครอบครองกันและกัน ไม่มีสิ่งใดถือตนเป็นเจ้าของสิ่งอื่นได้ หนังสือภาพเล่มนี้จึงหวังพาผู้อ่านไปเฝ้ามองการสนทนาของธรรมชาติร่วมกับเรา ผ่านภาพถ่ายทั้งสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต ซึ่งมีวิถีของตัวเองต่างกันไปในแต่ละฤดูกาล ทั้งฤดูแล้ง ฤดูน้ำหลาก และช่วงเวลาเปลี่ยนผ่าน คัดเลือกและร้อยเรียงจากภาพถ่ายที่สะสมไว้ปีแล้วปีเล่า และการย้อนดูภาพถ่ายเหล่านี้เองที่สร้างความรู้สึกอันหนักหน่วงหลากหลายอยู่ภายใน จากทั้งภาพที่สร้างแรงบันดาลใจแก่เราเพื่อศึกษาสิ่งนั้นเพิ่มเติม ทั้งภาพที่พาเราอิ่มเอมเมื่อนึกถึงช่วงเวลาอันสวยงาม และหลายภาพที่พาเราจมกับความรู้สึกเศร้าอย่างอธิบายได้ยาก เมื่อสิ่งที่อยู่ในภาพนั้นได้สูญหาย ถูกทำลาย และเปลี่ยนแปลงไปแล้วอย่างถาวร เราคงทำใจได้ง่ายขึ้นหากการสาบสูญนั้นมาจากผลพวงของเหตุการณ์ทางธรรมชาติ แต่ที่เกิดขึ้นคือ ทั้งเกาะแก่ง นก ปลา ชุมชน วิถีชีวิตของผู้คน ฯลฯ … Continue reading หนังสือภาพ “The Mekong Harmony”
“ตะกอนแขวนลอยในแม่น้ำโขงทั้งสายหายไปเฉย ๆ ได้อย่างไร ?” ทั้งที่เมื่อแม่น้ำโขงไหลเข้าสู่ประเทศไทยที่อำเภอเชียงแสนยังมีความขุ่นมากจากตะกอนแขวนลอย แต่หลังจากที่ไหลเข้าสู่ประเทศลาวที่แก่งผาได อำเภอเวียงแก่น และไหลกลับสู่ชายแดนไทย-ลาวอีกครั้ง ที่อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลยนั้น น้ำโขงกลับใส ไร้ตะกอนเกือบจะโดยสิ้นเชิง หน่วยงานทั้งในประเทศไทย และองค์กรระดับภูมิภาค ที่รับผิดชอบโดยตรง ดูจะไม่อินังขังขอบ กับปรากฏการณ์นี้และผลกระทบต่อระบบนิเวศและชุมชนเท่าใดนัก เพราะยังคงกล่าวอ้างผลการศึกษาว่าน้ำโขงมีคุณภาพตามเกณฑ์ในระดับดีมาก ดังนั้น “ตะกอนแขวนลอยในแม่น้ำโขงทั้งสายหายไปเฉย ๆ ได้อย่างไร” จึงเป็นคำถามตั้งต้นของการพิสูจน์ปรากฏการที่ไม่ธรรมชาติ ของภาวะน้ำโขงใสไร้ตะกอน ด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์ที่ตรงไปตรงมาโดยประชาชนในพื้นที่ริมแม่น้ำโขง ทั้งหมด 6 จุด ร่วมไปกับการประยุกต์ข้อมูลที่วิเคราะห์มาจากรายงานของกรมทรัพยากรน้ำ และสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ คือ “โครงการศึกษาและติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดนจากโครงการไฟฟ้าพลังน้ำในแม่น้ำโขงสายประธาน” จากหลักฐานเชิงประจักษ์ก่อนหน้านี้ ทั้งจากภาพถ่าย การสังเกตอย่างต่อเนื่องของคนในพื้นที่ และปรากฏการณ์ที่ผิดปกติของแม่น้ำ จึงเป็นเรื่องที่ปฏิเสธไม่ได้ว่า การเปิดใช้งานเขื่อนไซยะบุรีอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2562 ที่ผ่านมา ซึ่งตั้งบนแม่น้ำโขงในแขวงไซยะบุรี ช่วงที่แม่น้ำโขงไหลเข้าสู่ประเทศลาว และห่างจากชายแดนไทยเหนืออำเภอเชียงคานประมาณ 200 กิโลเมตร ซึ่งเป็นช่วงเวลาของการเริ่มต้นฤดูหนาวของปี เป็นเหตุให้เกิดปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และเกิดขึ้นในทันทีหลังการเปิดใช้งานเขื่อนไซยะบุรี คือ ปรากฏการณ์น้ำโขงใสไร้ตะกอน และการแพร่ระบาดของสาหร่ายในแม่น้ำโขงตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2562 ซึ่งพบได้ตลอดแนวแม่น้ำโขงที่เป็นพรมแดนไทย-ลาว … Continue reading รายงานการศึกษา ย้อนรอยโขงใส ไร้ตะกอน
“หัวปี ท้ายปี กับ น้ำโขงใส ไร้ตะกอน และการระบาดของสาหร่ายแม่น้ำโขง” สถานการณ์ในปี 2563 ของแม่น้ำโขงนั้นนับว่ามีความซับซ้อนเพิ่มขึ้นอย่างมาก จากปัจจัยใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น เช่น การเปิดใช้งานของเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ ไซยะบุรี ในวันที่ 29 ตุลาคม 2562 ที่ส่งผลกระทบเชิงประจักษ์มากมาย เช่น ภาวะน้ำโขงท้ายเขื่อนลดระดับจนแห้งขอด การเกิดภาวะน้ำใสไร้ตะกอน ส่งผลให้องค์ประกอบในนิเวศเปลี่ยนอย่างรุนแรงจนหลายพื้นที่ในภาคอีสานเกิดสาหร่ายแม่น้ำโขงระบาดหนักหลายเดือน, ปัจจัยจากเขื่อนจีนที่ยังคงบริหารน้ำตามใจชอบจนเกิดวิกฤติภัยแล้งต่อเนื่องยาวนาน ทั้งยังเกิดภาวะน้ำเพิ่มระดับนอกฤดูกาล, ภาวะสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงที่ซ้ำเติมให้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมในภูมิภาคแม่น้ำโขงรุนแรงเพิ่มขึ้น และปัจจัยใหม่ที่ต้องจับตาคือภาวะโรคระบาดอันส่งผลต่อการจัดสรรและการเข้าถึงแหล่งอาหารในแต่ละพื้นที่ ไม่เพียงเท่านั้น ช่วงกระแสแห่งความทุกข์ยากของประชาชนในแม่น้ำโขงที่กำลังดำเนินไปนั้น ยังเกิดบรรยากาศทางการเมืองระหว่างประเทศมหาอำนาจ ที่ใช้แม่น้ำโขงเป็นสนามของความขัดแย้ง การเมืองระดับโลกนี้ได้เกิดขึ้นทับซ้อนกับการเมืองระหว่างประเทศสมาชิกในลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง ซึ่งเราต้องจับตาและประเมินสถานการณ์กันต่อไปทั้งสองระดับ อย่างไรก็ตามปัจจัยเรื่องเขื่อนในแม่น้ำโขงยังคงเป็นปัจจัยหลักในเกิดการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศแม่น้ำโขง อย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในทันทีที่มีการเปิดใช้งานเขื่อนไซยะบุรี ด้วยปรากฎการณ์ “น้ำโขงใส ไร้ตะกอน” ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2562 จนเข้าสู่ต้นปี 2563 จนถึงเดือนเมษายน และเมื่อเข้าสู่ช่วงปลายปี 2563 ปรากฎการณ์น้ำโขงใส ไร้ตะกอน ได้ปรากฏขึ้นอีกครั้งในช่วงกลางเดือนพฤศจิกายน 2563 นับเป็นปรากฎการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ดังนั้นปรากฎการณ์ใหม่ของแม่น้ำโขง คือ “หัวปี ท้ายปี … Continue reading สรุปสถานการณ์แม่น้ำโขง 2563
ชวนอ่านรายงานการศึกษาล่าสุดของ The Mekong Butterfly "ต้นทุนที่ถูกซ่อนภายใต้ข้อจำกัดด้านธรรมาภิบาลและความรับผิดชอบ ของโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำบนแม่น้ำโขง: 9 ปีของประวัติศาสตร์ที่ซ้ำรอยจากโครงการไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนไซยะบุรี" (The hidden cost of hydropower dams in the Mekong river basin: 9 years of repeated history of lack of Governance and Accountability) รายงานฉบับนี้มีความมุ่งหวังที่จะวิเคราะห์ให้เห็นถึง ต้นทุนจากโครงการสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำที่ถูกซ่อน และเป็นภาระต่อชุมชน สิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ ตั้งแต่การสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำบนแม่น้ำโขงตอนล่างแห่งแรก คือเขื่อนไซยะบุรี เมื่อ 9 ปีที่ผ่านมา และติดตามมาด้วยแผนการสร้างอื่นตัวอื่น ๆ อีก 3 แห่ง คือ โครงการเขื่อนดอนสะโฮง, เขื่อนปากแบ่ง และเขื่อนปากลาย โดยเขื่อนไซยะบุรีจะมีกำหนดจ่ายไฟฟ้าอย่างเป็นทางการให้แก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ในวันที่ 29 ตุลาคม 2562 ความเสียหายจากเขื่อนไซยะบุรีที่เกิดขึ้นกับชุมชน สิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศแม่น้ำโขง … Continue reading 9 ปีของประวัติศาสตร์ที่ซ้ำรอยจากโครงการไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนไซยะบุรี
โดย ชนาง อำภารักษ์ “งานเสวนา น้ำเขื่อนท่วมน้ำโขง: สิทธิข้ามพรมแดน ความรับผิดชอบ และอนาคตร่วมกัน เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2561 ที่จังหวัดบึงกาฬ” จากเหตุการณ์อุทกภัยครั้งใหญ่ในแขวงอัตตะปือ ซึ่งเกิดจากสิ่งก่อสร้างโดยฝีมือมนุษย์ นั่นก็คือเขื่อนปิดกั้นช่องเขา ของอ่างเก็บน้ำเขื่อนเซน้ำน้อยได้พังทลายลงจนมวลน้ำมหาศาลกว่า 500 ล้านลูกบาศ์กเมตร ไหลบ่าสู่พื้นที่ลุ่มน้ำเซเปียน และต่อเนื่องถึงลุ่มน้ำเซกองตอนล่าง เป็นเหตุให้พี่น้องชาวลาวหลายพันคนต้องเจอภาวะสูญเสียชีวิต ที่อยู่อาศัยและทรัพย์สิน รวมถึงการพลัดพรากจากครอบครัว ซึ่งผลกระทบทั้งหลายต้องอาศับการฟื้นฟูเยียวยาอย่างเข้มข้นและต่อเนื่อง หากทุกวันนี้การช่วยเหลือที่มาจากผู้เกี่ยวข้องกับโครงการยังไปสู่ชาวบ้านในพื้นที่อย่างไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย ไม่เพียงผลกระทบจะเกิดเฉพาะในพื้นที่เท่านั้น หากยังลามไปถึงประเทศโดยรอบที่มีแม่น้ำโขงไหลผ่าน เนื่องจากน้ำมหาศาลเหล่านั้นได้ไหลลงสู่แม่น้ำเซกอง ลำน้ำสาขาของแม่น้ำโขง อันเป็นเป็นพรมแดนต่อไปยังประเทศกัมพูชาทำให้ต้องอพยพผู้คนออกจากพื้นที่ ซึ่ง 88% ของพื้นที่เกษตรใน 17 หมู่บ้านของชาวบ้านกว่า 8,000 ครอบครัวเสียหาย ขณะเดียวกันในฝั่งประเทศไทยที่อยู่เหนือพื้นที่น้ำท่วมก็ต้องเจอกับสถาณการณ์การปล่อยน้ำจากเขื่อนลาวพร้อมกัน ทั้งจากเขื่อนน้ำงึมและเขื่อนน้ำเทิน 2 ซ้ำซ้อนจนเมื่อน้ำทุกสายที่เขื่อนปล่อยมารวมกันในน้ำโขงสายหลักก็ไม่อาจรองรับได้ทั้งหมด จนหลายพื้นที่ริมโขงในภาคอีสานของไทยต้องเจอกับอุทกภัยครั้งใหญ่ โดยเฉพาะพื้นที่จังหวัดบึงกาฬที่ได้รับผลกระทบจากเขื่อนลาวรุนแรงมาก โดยสาเหตุที่ทำให้น้ำโขงขึ้นสูงผิดปกติ เนื่องจากทางนายกรัฐมนตรีลาวมีคำสั่งให้ตรวจสอบเขื่อนอื่น ๆ ที่มีแนวโน้มคล้ายกับเขื่อนเซเปียนที่แตกไป ส่งผลให้เขื่อนอื่น ๆ ในลาวทยอยปล่อยน้ำเพื่อรักษาระดับให้คงที่ ทำให้ระดับน้ำในฝั่งไทย โดยเฉพาะในจ.บึงกาฬสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ด้วยปัญหาอันเร่งด่วนที่เกิดขึ้นจึงเกิดเป็นวงเสวนา คำให้การชาวบ้านแม่น้ำโขง … Continue reading เคราะห์ซ้ำ น้ำซัด ภัยพิบัติหรือน้ำมือมนุษย์
วันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๔๖๑ ระหว่างเวลา ๐๙.๓๐-๑๖.๐๐ น. ณ ห้องประชุม ออดิทอเรียม The Conecion ๐๙.๓๐ เริ่มด้วยการนำเสนอในหัวข้อ “โครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย: มองอดีต ก่อนเดินหน้า” Thant Zin (ภาคประชาสังคมเมียนมา) ในทวายตอนนี้นอกจากจะมีโรดลิ้งค์แล้วเรายังมีโครงการเหมืองขนาดใหญ่อีกสองแห่งซึ่งไฟฟ้าที่ได้ทั้งหมดจะส่งให้ประเทศไทย และการตั้งเป้าหมายด้านเศรษฐกิจเป็นหลักของรัฐบาลก็ส่งผลให้ชาวบ้านโดยเฉพาะในพื้นที่กะเหรี่ยงต้องถูกแย่งยึดที่ดิน ซึ่งปัจจุบันที่ดินกว่า ๘๐,๐๐๐ เอเคอร์ของชาวบ้านต้องถูกรัฐบาลยึดไป และในพื้นที่ตะนาวศรีซึ่งจะเป็นที่รองรับโครงการขนาดใหญ่ที่ใช้ที่ดินถึง ๑.๘ ล้านเอเคอร์ ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นก็มีตั้งแต่ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและการสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติ ไปจนถึงผลกระทบทางด้านสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งหากจะยกตัวอย่างโครงการที่ได้รับผลกระทบในทุกๆ ด้านนั่นก็คือโครงการเหมืองแร่เฮงดา ชาวบ้านในพื้นที่ได้พยายามต่อสู้เรียกร้องมาอย่างยาวนาน สิ่งที่เราได้ทำไปแล้วก็คือ เราได้ยื่นข้อร้องเรียนกรณีโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติประเทศไทย จนได้มีมติคณะรัฐมนตรีออกมา และยังได้ทำงานร่วมกับ ETO Watch Coalition ในการติดตามประเด็นเงินกู้สร้างถนนเชื่อมต่อ ซึ่งสิ่งที่เราจะวางแผนทำต่อไปในอนาคตอันใกล้คือการสร้างความเข้าใจและและผลักดันศักยภาพของภาคประชาชน เช่นที่หมู่บ้านกาโลนท่า ซึ่งเป็นหมู่บ้านสำคัญอันเป็นจุดเริ่มต้นของผลกระทบจากโครงการต่อแหล่งน้ำธรรมชาติ และอีกเป้าหมายหนึ่งคือจะช่วยสนับสนุนการท่องเที่ยวในท้องถิ่น ซึ่งเป็นการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติและวัฒนธรรม ธีรชัย ศาลเจริญกิจถาวร (The Mekong Butterfly) ให้ข้อมูลเรื่องโครงการถนนเชื่อมต่อสองช่องทางและข้อมูลที่ได้จากการลงพื้นที่พูดคุยกับชาวบ้านและภาคประชาสังคมซึ่งจะจัดทำเป็นรายงานการศึกษาว่า เมื่อ วันที่ ๒๙ … Continue reading รายงานการประชุม “การพัฒนาธรรมาภิบาลข้ามพรมแดนสู่อาเซียน: เสียงสะท้อนจากชุมชน”
ประชาคมอาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of Southeast Asian Nations : ASEAN ) ก่อตั้งเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 โดยการลงนามปฏิญญากรุงเทพ อาเซียนนับเป็นองค์การความร่วมมือระดับภูมิภาคที่สำคัญ ซึ่งได้รวมตัวเป็นประชาคมอย่างเป็นทางการแล้ว เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2558 มีประชากรคิดเป็น 1ใน 10 ของประชากรโลก[1] อาเซียน ประกอบด้วยสามเสาหลักได้แก่ ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน, ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community :AEC) และประชาคมสังคมและวัฒนธรรม โดยมีเป้าหมายร่วมการรวมตัวคือ "ไทยและประเทศสมาชิกอาเซียนจะก้าวไปข้างหน้าด้วยกัน ในการพัฒนาประชาคมอาเซียน ที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง และไม่ทอดทิ้งใครไว้ข้างหลัง" [2] ในขณะที่อาเซียนกำลังเข้าสู่การเปลี่ยนผ่านในทุก ๆ ด้าน การพัฒนาไปสู่สังคมที่ยั่งยืนร่วมกัน ที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง และไม่ทอดทิ้งใครไว้ข้างหลังนั้น จะเกิดขึ้นได้ภายใต้สภาพแวดล้อมอย่างไรบ้าง โดยจะได้วิเคราะห์ถึงการลงทุนของไทยในประเทศกลุ่ม CLMV ผ่านโครงการเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำไซยะบุรี การลงทุนของไทยในอาเซียน; ภาพรวมของ CLMV การลงทุนโดยตรงไทยในต่างประเทศ เริ่มต้นในช่วงปลายทศวรรษ … Continue reading อาเซียนกับการเปลี่ยนผ่านไปสู่ความยั่งยืนร่วมกัน : มองผ่านการลงทุนโดยตรงของไทยในอาเซียน กรณีศึกษาโครงการเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำไซยะบุรี