โครงการวิจัยและพัฒนาชุมชนต้นแบบด้านสุขภาวะ บนฐานความมั่นคงทรัพยากรทางอาหารและทรัพยากรธรรมชาติ ในลุ่มน้ำโขง และความสามารถในการปรับตัวจากปัจจัยเสี่ยงด้านภัยพิบัติ

โครงการวิจัยและพัฒนาชุมชนต้นแบบด้านสุขภาวะ บนฐานความมั่นคงทรัพยากรทางอาหารและทรัพยากรธรรมชาติ ในลุ่มน้าโขง และความสามารถในการปรับตัวจากปัจจัยเสี่ยงด้านภัยพิบัติ ได้ดำเนินงานมาตั้งแต่เดือนมกราคม 2562 และสิ้นสุดโครงการในเดือนธันวาคม 2563 โครงการนี้ดำเนินการร่วมกับชุมชนริมแม่น้ำโขงและแม่น้ำสงครามจำนวน 22 ชุมชน (และมีคณะที่ปรึกษาในระดับจังหวัดได้ให้การสนับสนุนในกระบวนการทางาน) ภายใต้งานวิจัยเชิงปฏิบัติการที่เป็นความร่วมมือร่วมใจของทีมวิจัยชุมชนในทุก ๆ พื้นที่ โดยมีสถานการณ์ใหญ่ที่ต้องเผชิญหน้าร่วมกันคือ การเปลี่ยนแปลงของแม่น้ำโขงที่ผิดธรรมชาติและความแปรปรวนของฤดูกาล งานวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้เป็นส่วนหนึ่งการค้นหาคาตอบของโดยชุมชนเอง ในการน้ำความรู้ของชุมชน และผสานความรู้และการสนับสนุนจากภาคีต่าง ๆ มากำหนดแนวทางการปรับตัวให้สอดคล้องกับศักยภาพที่เป็นจริงของชุมชนในเวลานั้น และได้ปรากฏเป็น “แผนปฏิบัติการชุมชนต้นแบบ” ที่มีความหลากหลายไปตามแต่ละพื้นที่ ซึ่งมีชุมชนที่มีเงื่อนไขพร้อมดำเนินการตามแผนปฏิบัติการชุมชนต้นแบบต่อเนื่องในปี 2563 รวม 17 ชุมชน  การดำเนินงานตลอดระยะเวลา 2 ปีนี้ โครงการฯ ขอขอบคุณหน่วยงานที่เป็นผู้สนับสนุนหลักคือ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และ มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน นอกจากนี้ยังมีภาคีเครือข่าย ที่ได้สนับสนุนการทำงานในโอกาสต่าง ๆ ได้แก่ สมาคมเครือข่ายสภาองค์กรชุมชนลุ่มน้าโขง 7 จังหวัดภาคอีสาน, สำนักบริหารนโยบายของนายกรัฐมนตรี (สบนร.), กรมประมง, องค์การบริหารส่วนตำบลพระกลางทุ่ง อ.ธาตุพนม จ.นครพนม, องค์การบริหารส่วนตาบลป่งขาม อ.หว้านใหญ่ จ.มุกดาหาร, … Continue reading โครงการวิจัยและพัฒนาชุมชนต้นแบบด้านสุขภาวะ บนฐานความมั่นคงทรัพยากรทางอาหารและทรัพยากรธรรมชาติ ในลุ่มน้ำโขง และความสามารถในการปรับตัวจากปัจจัยเสี่ยงด้านภัยพิบัติ

ชะตากรรมบนถาดเพาะเลี้ยงของพลับพลึงธารแม่น้ำโขง (ตอน 2)

พลับพลึงธารแม่น้ำโขง(Crinum viviparum) เป็นพืชที่เกิดในนิเวศแบบจำเพาะ คือบริเวณโขดหินริมน้ำโขงที่มีทรายปน สามารถอยู่ใต้น้ำได้ตลอดฤดูน้ำหลาก ดอกพลับพลึงธารจะบานตลอดฤดูแล้ง 1 กอ สามารถออกดอกได้มากกว่า 1 ช่อ และเกินกว่า 1 รอบ เมื่อดอกผลัดแรกเหี่ยวไป ดอกผลัดใหม่ก็พร้อมบาน จนฤดูน้ำหลากมาถึง กอพลับพลึงธารจะจมอยู่ใต้น้ำอีกครั้ง  การสำรวจและรวบรวมข้อมูล พลับพลึงธารแม่น้ำโขง เบื้องต้น ในระหว่างเดือนธันวาคม 2563 ถึง เดือนมกราคม 2566 ในเขตอำเภอเชียงคาน ปากชม จังหวัดเลย และอำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย ได้พบพลับพลึงธารแม่น้ำโขงเกิดกระจาย ตั้งแต่บ้านห้วยซวก อ.เชียงคาน ขึ้นไปจนถึงบ้านม่วง อ.สังคม ในพื้นที่รวม 8 แห่งได้แก่ หาดจอมนาง, แก่งฟ้า, คกไผ่, แก่งจันทร์, แก่งหัวดอน, ก้อนบ่อง-ก้อนขอนค้าง, หนองปลาบึก และก้อนเล้าข้าว (ดูตำแหน่งได้ในแผนที่ประกอบ) พบกอพลับพลึงธารแม่น้ำโขงรวมกันอย่างน้อย 391 กอ ในแต่ละกอ อาจจะมีตั้งแต่ต้นเดียวไปจนถึง 50 ต้นในกอเดียวกัน ขึ้นกับอายุและความสมบูรณ์ของแต่ละกอ ความหลากหลายของลักษณะรูปร่างภายนอกได้ปรากฏให้เห็น 2 ประการ คือ จำนวนหลอดกลีบดอกที่มีจำนวนแตกต่างกัน (แม้ว่าจะเกิดในกอเดียวกันก็ตาม) … Continue reading ชะตากรรมบนถาดเพาะเลี้ยงของพลับพลึงธารแม่น้ำโขง (ตอน 2)

PPA รีดเลือดกับปู: หนึ่งร้อยปีแห่งความโดดเดี่ยวของปูที่ต้องจ่าย

ตลอดระยะเวลาของการลงนามซื้อไฟฟ้าของไทย จากเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำบนแม่น้ำโขงในสปป.ลาว ตั้งแต่ เขื่อนไซยะยุรี, เขื่อนหลวงพระบาง และเขื่อนปากลายนั้น เกิดขึ้นท่ามกลางคำถามถึงความจำเป็นด้านพลังงานไฟฟ้าของไทย และความสูญเสียต่อระบบนิเวศแม่น้ำโขงและชุมชนลุ่มน้ำโขง เพราะทุกครั้งของการลงนาม ไทยมีไฟฟ้าสำรองในระบบเกินมาตรฐาน 15% ไปมากถึง 40-50% ประกอบกับกระบวนการตัดสินใจคัดเลือก และการเจรจาเงื่อนไขการรับซื้อไฟฟ้า จนได้มาซึ่ง “สัญญาซื้อขายไฟฟ้า” นั้น (หรือ PPA: Power Purchase Agreement) ไม่ได้อิงกฏหมายจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ไม่ได้อิงกับระเบียบว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และไม่ได้อิงกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญหมวดสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทยและหน้าที่ของรัฐ  แม้กระทั่งกลไกถ่วงดุลตรวจสอบของรัฐสภา ยังไม่สามารถเข้าถึงและตรวจสอบกระบวนการตัดสินใจหรือข้อมูลในสัญญาซื้อขายไฟฟ้านี้ได้ จึงส่งผลให้การลงนาม PPA ทั้งสามครั้งที่ผ่านมา เป็นการตัดสินใจของภาครัฐเพียงฝ่ายเดียวโดยสมบูรณ์  แม้บริษัทต่าง ๆ ของไทย จะเป็นผู้ได้รับสัมปทานก่อสร้างเขื่อนและได้เงินกู้จากธนาคารของไทย จนสามารถลงนามขายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้นั้น แต่จุดเริ่มของกระบวนการนี้นั้น บริษัททั้งหลายของไทย ไม่สามารถยื่นข้อเสนอขายไฟฟ้าให้กับ กฟผ. ได้โดยตรง ต้องอาศัยรัฐบาลสปป.ลาว เป็นผู้เสนอขายไฟฟ้า ภายใต้กรอบบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding: MOU) เรื่องความร่วมมือในการพัฒนาไฟฟ้าในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (บันทึกความเข้าใจฯ) ซึ่งมีการลงนามเป็นลำดับดังนี้ 1.  ครั้งที่หนึ่ง วันที่ 6 มิถุนายน 2536 กำหนดจำหน่ายไฟฟ้าให้ไทยในปริมาณ 1,500เมกะวัตต์  2.  ครั้งที่สอง วันที่ 19 มิถุนายน 2539 กำหนดจำหน่ายไฟฟ้าให้ไทยในปริมาณ 3,000เมกะวัตต์  3.  ครั้งที่สาม วันที่ 18 ธันวาคม 2549 กำหนดจำหน่ายไฟฟ้าให้ไทยในปริมาณ 5,000เมกะวัตต์  4. ครั้งที่สี่ วันที่ 22 ธันวาคม 2550 กำหนดจำหน่ายไฟฟ้าให้ไทยในปริมาณ 7,000 เมกะวัตต์ ต่อมามีการลงนาม PPA ซื้อไฟฟ้าจากเขื่อนไซยะยุรี ในวันที่ 29 ตุลาคม 2554 และเริ่มจ่ายไฟฟ้าให้ไทยเป็นทางการเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2562 5.  ครั้งที่ห้า วันที่ 6 กันยายน 2559 กำหนดจำหน่ายไฟฟ้าให้ไทยในปริมาณ 9,000 เมกะวัตต์ 6.  ครั้งที่หก มติคณะรัฐมนตรี … Continue reading PPA รีดเลือดกับปู: หนึ่งร้อยปีแห่งความโดดเดี่ยวของปูที่ต้องจ่าย

หนังสือภาพ “The Mekong Harmony”

หนังสือภาพถ่าย “แม่น้ำโขง สัมพันธ์ภาพแห่งชีวิต” (The Mekong Harmony) ส่วนหนึ่งเกิดจากความต้องการถ่ายทอดภาพอันสวยงามของแม่น้ำโขง แม่น้ำสายยาวที่ไหลผ่านนานาประเทศนับพันกิโลเมตร แต่ยังมีอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่คงค้างในใจพวกเรามายาวนาน แม้ตลอดการทำงานของพวกเราจะมีช่วงเวลาให้แทบหยุดหายใจเสมอเมื่ออยู่ท่ามกลางการโอบล้อมของทั้งแม่น้ำ ภูเขา หินผา ที่รวมเป็นทิวทัศน์และบรรยากาศอันตรึงใจ แต่เมื่อเราหยุดนิ่ง และสังเกต กลับมีอีกหลายสิ่งที่ดึงดูดเรายิ่งกว่าทิวทัศน์ เราได้เห็นมนุษย์และจังหวะการใช้ชีวิตของพวกเขา เราได้เห็นสีเขียวที่ไล่เฉดต่างกันไปของพุ่มไม้น้ำ บ้างมีดอกขาว บ้างมีผลแดงก่ำพราวทั่วต้น เราได้ยินเสียงนกต่างสายพันธุ์ร้องกระจายไปทั่วคุ้งน้ำทั้งไกลและใกล้ พร้อมเสียงกระพือปีกแยกย้ายจากดอนและแก่งยามเรือหาปลาแล่นผ่าน กลิ่นดินตะกอนหลากมาพร้อมสายน้ำ หรือหากเราเดินตามชาวประมงไป จะได้กลิ่นปลาสดใหม่ที่ดิ้นกันอยู่เต็มข้อง และแม้เราไม่ได้อยู่เป็นพยานของปรากฏการณ์ตรงนั้น แต่สิ่งเหล่านี้ก็เกิดขึ้นอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันเป็นปกติธรรมดา ผันเปลี่ยนและเวียนซ้ำตามฤดูกาลเหมือนที่ได้ดำเนินมาตลอดก่อนหน้านี้เนิ่นนาน เป็นข่ายใยชีวิตที่ล้วนประสานสอดคล้องโดยไม่อาจแยกขาดจากกันได้ คงเป็นธรรมชาติของสรรพสิ่งที่ต้องหมุนไปด้วยการพึ่งพาและเกื้อกูล เพราะสมดุลของธรรมชาตินั้นเกิดขึ้นไม่ได้จากการครอบครองกันและกัน ไม่มีสิ่งใดถือตนเป็นเจ้าของสิ่งอื่นได้ หนังสือภาพเล่มนี้จึงหวังพาผู้อ่านไปเฝ้ามองการสนทนาของธรรมชาติร่วมกับเรา ผ่านภาพถ่ายทั้งสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต ซึ่งมีวิถีของตัวเองต่างกันไปในแต่ละฤดูกาล ทั้งฤดูแล้ง ฤดูน้ำหลาก และช่วงเวลาเปลี่ยนผ่าน คัดเลือกและร้อยเรียงจากภาพถ่ายที่สะสมไว้ปีแล้วปีเล่า และการย้อนดูภาพถ่ายเหล่านี้เองที่สร้างความรู้สึกอันหนักหน่วงหลากหลายอยู่ภายใน จากทั้งภาพที่สร้างแรงบันดาลใจแก่เราเพื่อศึกษาสิ่งนั้นเพิ่มเติม ทั้งภาพที่พาเราอิ่มเอมเมื่อนึกถึงช่วงเวลาอันสวยงาม และหลายภาพที่พาเราจมกับความรู้สึกเศร้าอย่างอธิบายได้ยาก เมื่อสิ่งที่อยู่ในภาพนั้นได้สูญหาย ถูกทำลาย และเปลี่ยนแปลงไปแล้วอย่างถาวร เราคงทำใจได้ง่ายขึ้นหากการสาบสูญนั้นมาจากผลพวงของเหตุการณ์ทางธรรมชาติ แต่ที่เกิดขึ้นคือ ทั้งเกาะแก่ง นก ปลา ชุมชน วิถีชีวิตของผู้คน ฯลฯ … Continue reading หนังสือภาพ “The Mekong Harmony”

รายงานการศึกษา ย้อนรอยโขงใส ไร้ตะกอน

“ตะกอนแขวนลอยในแม่น้ำโขงทั้งสายหายไปเฉย ๆ ได้อย่างไร ?” ทั้งที่เมื่อแม่น้ำโขงไหลเข้าสู่ประเทศไทยที่อำเภอเชียงแสนยังมีความขุ่นมากจากตะกอนแขวนลอย แต่หลังจากที่ไหลเข้าสู่ประเทศลาวที่แก่งผาได อำเภอเวียงแก่น และไหลกลับสู่ชายแดนไทย-ลาวอีกครั้ง ที่อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลยนั้น น้ำโขงกลับใส ไร้ตะกอนเกือบจะโดยสิ้นเชิง หน่วยงานทั้งในประเทศไทย และองค์กรระดับภูมิภาค ที่รับผิดชอบโดยตรง ดูจะไม่อินังขังขอบ กับปรากฏการณ์นี้และผลกระทบต่อระบบนิเวศและชุมชนเท่าใดนัก เพราะยังคงกล่าวอ้างผลการศึกษาว่าน้ำโขงมีคุณภาพตามเกณฑ์ในระดับดีมาก ดังนั้น “ตะกอนแขวนลอยในแม่น้ำโขงทั้งสายหายไปเฉย ๆ ได้อย่างไร” จึงเป็นคำถามตั้งต้นของการพิสูจน์ปรากฏการที่ไม่ธรรมชาติ ของภาวะน้ำโขงใสไร้ตะกอน ด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์ที่ตรงไปตรงมาโดยประชาชนในพื้นที่ริมแม่น้ำโขง ทั้งหมด 6 จุด ร่วมไปกับการประยุกต์ข้อมูลที่วิเคราะห์มาจากรายงานของกรมทรัพยากรน้ำ และสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ คือ “โครงการศึกษาและติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดนจากโครงการไฟฟ้าพลังน้ำในแม่น้ำโขงสายประธาน”  จากหลักฐานเชิงประจักษ์ก่อนหน้านี้ ทั้งจากภาพถ่าย การสังเกตอย่างต่อเนื่องของคนในพื้นที่ และปรากฏการณ์ที่ผิดปกติของแม่น้ำ จึงเป็นเรื่องที่ปฏิเสธไม่ได้ว่า การเปิดใช้งานเขื่อนไซยะบุรีอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2562 ที่ผ่านมา ซึ่งตั้งบนแม่น้ำโขงในแขวงไซยะบุรี ช่วงที่แม่น้ำโขงไหลเข้าสู่ประเทศลาว และห่างจากชายแดนไทยเหนืออำเภอเชียงคานประมาณ 200 กิโลเมตร ซึ่งเป็นช่วงเวลาของการเริ่มต้นฤดูหนาวของปี เป็นเหตุให้เกิดปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และเกิดขึ้นในทันทีหลังการเปิดใช้งานเขื่อนไซยะบุรี คือ ปรากฏการณ์น้ำโขงใสไร้ตะกอน และการแพร่ระบาดของสาหร่ายในแม่น้ำโขงตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2562 ซึ่งพบได้ตลอดแนวแม่น้ำโขงที่เป็นพรมแดนไทย-ลาว … Continue reading รายงานการศึกษา ย้อนรอยโขงใส ไร้ตะกอน

สรุปสถานการณ์แม่น้ำโขง 2563

“หัวปี ท้ายปี กับ น้ำโขงใส ไร้ตะกอน และการระบาดของสาหร่ายแม่น้ำโขง” สถานการณ์ในปี 2563 ของแม่น้ำโขงนั้นนับว่ามีความซับซ้อนเพิ่มขึ้นอย่างมาก จากปัจจัยใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น เช่น การเปิดใช้งานของเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ ไซยะบุรี ในวันที่ 29 ตุลาคม 2562 ที่ส่งผลกระทบเชิงประจักษ์มากมาย เช่น ภาวะน้ำโขงท้ายเขื่อนลดระดับจนแห้งขอด การเกิดภาวะน้ำใสไร้ตะกอน ส่งผลให้องค์ประกอบในนิเวศเปลี่ยนอย่างรุนแรงจนหลายพื้นที่ในภาคอีสานเกิดสาหร่ายแม่น้ำโขงระบาดหนักหลายเดือน, ปัจจัยจากเขื่อนจีนที่ยังคงบริหารน้ำตามใจชอบจนเกิดวิกฤติภัยแล้งต่อเนื่องยาวนาน ทั้งยังเกิดภาวะน้ำเพิ่มระดับนอกฤดูกาล, ภาวะสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงที่ซ้ำเติมให้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมในภูมิภาคแม่น้ำโขงรุนแรงเพิ่มขึ้น และปัจจัยใหม่ที่ต้องจับตาคือภาวะโรคระบาดอันส่งผลต่อการจัดสรรและการเข้าถึงแหล่งอาหารในแต่ละพื้นที่ ไม่เพียงเท่านั้น ช่วงกระแสแห่งความทุกข์ยากของประชาชนในแม่น้ำโขงที่กำลังดำเนินไปนั้น ยังเกิดบรรยากาศทางการเมืองระหว่างประเทศมหาอำนาจ ที่ใช้แม่น้ำโขงเป็นสนามของความขัดแย้ง การเมืองระดับโลกนี้ได้เกิดขึ้นทับซ้อนกับการเมืองระหว่างประเทศสมาชิกในลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง ซึ่งเราต้องจับตาและประเมินสถานการณ์กันต่อไปทั้งสองระดับ อย่างไรก็ตามปัจจัยเรื่องเขื่อนในแม่น้ำโขงยังคงเป็นปัจจัยหลักในเกิดการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศแม่น้ำโขง อย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในทันทีที่มีการเปิดใช้งานเขื่อนไซยะบุรี ด้วยปรากฎการณ์ “น้ำโขงใส ไร้ตะกอน” ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2562 จนเข้าสู่ต้นปี 2563 จนถึงเดือนเมษายน และเมื่อเข้าสู่ช่วงปลายปี 2563 ปรากฎการณ์น้ำโขงใส ไร้ตะกอน ได้ปรากฏขึ้นอีกครั้งในช่วงกลางเดือนพฤศจิกายน 2563 นับเป็นปรากฎการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ดังนั้นปรากฎการณ์ใหม่ของแม่น้ำโขง คือ “หัวปี ท้ายปี … Continue reading สรุปสถานการณ์แม่น้ำโขง 2563

9 ปีของประวัติศาสตร์ที่ซ้ำรอยจากโครงการไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนไซยะบุรี

ชวนอ่านรายงานการศึกษาล่าสุดของ The Mekong Butterfly "ต้นทุนที่ถูกซ่อนภายใต้ข้อจำกัดด้านธรรมาภิบาลและความรับผิดชอบ ของโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำบนแม่น้ำโขง: 9 ปีของประวัติศาสตร์ที่ซ้ำรอยจากโครงการไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนไซยะบุรี" (The hidden cost of hydropower dams in the Mekong river basin: 9 years of repeated history of lack of Governance and Accountability) รายงานฉบับนี้มีความมุ่งหวังที่จะวิเคราะห์ให้เห็นถึง ต้นทุนจากโครงการสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำที่ถูกซ่อน และเป็นภาระต่อชุมชน สิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ ตั้งแต่การสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำบนแม่น้ำโขงตอนล่างแห่งแรก คือเขื่อนไซยะบุรี เมื่อ 9 ปีที่ผ่านมา และติดตามมาด้วยแผนการสร้างอื่นตัวอื่น ๆ อีก 3 แห่ง คือ โครงการเขื่อนดอนสะโฮง, เขื่อนปากแบ่ง และเขื่อนปากลาย โดยเขื่อนไซยะบุรีจะมีกำหนดจ่ายไฟฟ้าอย่างเป็นทางการให้แก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ในวันที่ 29 ตุลาคม 2562 ความเสียหายจากเขื่อนไซยะบุรีที่เกิดขึ้นกับชุมชน สิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศแม่น้ำโขง … Continue reading 9 ปีของประวัติศาสตร์ที่ซ้ำรอยจากโครงการไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนไซยะบุรี

เครือข่ายประชาชนลุ่มน้ำโขง ยื่นคำร้องคุ้มครองชั่วคราวต่อศาลปกครอง กรณีเขื่อนไซยะบุรี

วันที่ 26 กรกฎาคม 2562 ณ ศาลปกครองสูงสุด ถนนแจ้งวัฒนะ นางสาว ส.รัตนมณี พลกล้า นางสาวเฉลิมศรี ประเสิรฐศรี ทนายความจากมูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน ผู้รับมอบอำนาจผู้ฟ้องคดี และนายชาญณรงค์ วงศ์ลา ผู้ฟ้องคดี ตัวแทนเครือข่ายประชาชนไทย 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขง ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งกำหนดมาตรการบรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษา โดยขอให้ดำเนินการระงับ หรือชะลอการรับซื้อไฟฟ้าอันเป็นการดำเนินการตามขั้นตอนโครงการซื้อไฟฟ้าจากเขื่อนไซยะบุรี ที่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้ลงนามทำสัญญาซื้อไฟฟ้า กับบริษัทไซยะบุรี พาวเวอร์ นส.เฉลิมศรี ทนายความ กล่าวว่าคดีนี้ เกิดจากวิกฤติน้ำโขงเหือดแห้งกระทันหันในช่วงเดือนนี้ โดยเฉพาะในเขตพรมแดนไทยลาว ท้ายน้ำจากโครงการเขื่อนไซยะบุรี ทำให้ประชาชนไทยที่อาศัยในชุมชนริมโขง ในจ.เลย หนองคาย และจังหวัดภาคอีสานอื่นๆ ที่ติดลำน้ำโขงได้รับผลกระทบ โดยในคำฟ้องระบุว่า เมื่อโครงการเขื่อนไซยะบุรีสร้างเสร็จแล้วจะปล่อยน้ำไหลผ่านในแต่ละวันเท่ากับปริมาณน้ำที่ไหลเข้า โดยไม่มีการกักเก็บน้ำไว้ ดังนั้นน้ำในลุ่มน้ำโขงจะเป็นปติตลอดทั้งปี แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกลับตรงกันข้าม พบว่าืระดับน้ำท้ายน้ำจากเขื่อนลดลงอย่างกระทันทัน และส่งผลกระทบต่อ ปลา สัตว์น้ำ ระบบนิเวศ พืช และระบบประปาที่สูบน้ำโดยตรงจากแม่น้ำโขง พบว่าเมื่อมีประกาศว่ามีการดำเนินการทดลองผลิตไฟฟ้า ก็เกิดเหตุการณ์ปลาแห้งตายตามแก่ง แพสูน้ำประปาค้างริมตลิ่ง … Continue reading เครือข่ายประชาชนลุ่มน้ำโขง ยื่นคำร้องคุ้มครองชั่วคราวต่อศาลปกครอง กรณีเขื่อนไซยะบุรี

ผักแซ่บริมโขง: ตัวชี้วัดความสมบูรณ์ของระบบนิเวศ

เรื่องและภาพ: ชนาง อำภารักษ์ วิถีชีวิตการการหาอยู่หากินของคนริมโขงนอกจากจะหาปลากันตลอดปีแล้ว ยังมีผักหลายชนิดที่หาเก็บได้ตามฤดูกาล โดยเฉพาะช่วงน้ำลงที่พืชผักจะโผล่พ้นน้ำให้เราได้เก็บเกี่ยว วันนี้ที่บ้านต้าย ต.นากั้ง อ.ปากคาด จ.บึงกาฬ ชาวบ้านจึงได้ของแซ่บหน้าแล้งเป็นผัก 2 ชนิด คือผักคราด และผักขี้ขมหรือผักดางขม 🌿ผักคราดนี้มีรสออกเผ็ดชาลิ้น เหมาะกินสดแกล้มส้มตำ แจ่ว ซุปหน่อไม้ หรือจะนำไปทำแกงหน่อไม้ แกงปลาก็ได้ 🌿ผักขี้ขม หรือดางขม มีรสออกขมตามชื่อ เหมาะนำมาแกงปลาเพื่อดับกลิ่นคาว เป็นผักแซ่บนิยมกินกันทั่วไปตลอดพื้นที่แนวแม่น้ำโขง ตัวอย่างผักที่เก็บได้วันนี้จะนำมาแกงคู่กับปลาที่หาได้ในแม่น้ำโขงเช่นกัน เรียกว่าลงโขงครั้งเดียวก็ได้วัตถุดิบอย่างดีไปทำอาหารกินในครอบครัวได้หลายมื้อ ยิ่งช่วงเวลาที่ไม่นานสำหรับการโผล่พ้นน้ำในหน้าแล้งให้ได้เก็บกินนั้น จึงนับว่าผักตามฤดูเหล่านี้หายาก เป็นของดีของเด็ด เมื่อถึงฤดูน้ำหลากผักก็จะออกดอกแพร่เมล็ดพันธุ์ให้ไหลไปตามสายน้ำเพื่อรอโอกาสงอกและเติบโตใหม่ในฤดูแล้งหน้า . หากช่วงน้ำลดไม่นานพอหรือน้ำหลากขึ้นลงไม่เป็นฤดูตลอดปี ผักหลายชนิดที่อาศัยปัจจัยของระดับน้ำและวงจรเติบโตตามช่วงเวลาเช่นนี้จะไม่อาจขยายพันธุ์ได้อีกต่อไป ตลอดมาและในอนาคตการปล่อยและกักน้ำจากเขื่อนได้เป็นตัวแปรทำให้ผักพื้นบ้าน รวมทั้งพืชพันธุ์ท้องถิ่น พืชน้ำที่สำคัญต่อระบบนิเวศและการหากินของปลา ไปจนถึงพันธุ์ปลาในแม่น้ำโขงที่มีวงจรชีวิตพึ่งพิงฤดูกาลเช่นกันนั้นลดจำนวนลงเรื่อยๆ การลงโขงหนึ่งครั้งได้แกงกินไปหลายมื้อของชาวบ้านอาจไม่มีอยู่จริงอีกหากการพัฒนา เช่นเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำที่เกิดขึ้นตลอดสายน้ำโขงและน้ำสาขายังคงรุกรานแหล่งอาหารหลักของคนทั้งลุ่มน้ำเช่นนี้

จับเข่าคุย 6 ลูกแม่น้ำโขง

The Mekong Butterfly จับเข่าคุยสบาย ๆ ในเรื่องซีเรียส ด้วย 3 คำถามสำคัญ (ปัญหา สาเหตุของปัญหา และวิธีการตั้งรับปรับตัวในสถานการณ์ปัจจุบัน) กับ 6 ลูกน้ำโขง จาก 6 พื้นที่ริมโขง ซึ่งเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงผันผวนของแม่น้ำโขงมาตลอดในรอบทศวรรษที่ผ่านมา ทั้งภัยพิบัติอุทกภัย ระดับน้ำโขงขึ้นลงผิดปกติ อันมีต้นตอจากสิ่งที่เห็นตรงกันว่า เขื่อน บนแม่น้ำโขงสายหลักและลำน้ำสาขาคือคำตอบของปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นในขณะนี้ พร้อมเผยให้เห็น “ต้นทุนที่ถูกซุกซ่อน (hidden cost)” จากการทำงานของเขื่อนบนแม่น้ำโขง ที่ “คนข้างบน” ควบคุมได้แต่ “คนข้างล่าง” ไม่อาจควบคุม ส่งผลให้องค์ความรู้ที่มีอยู่ของลูกน้ำโขงเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม จากที่ศึกษาจากธรรมชาติของแม่น้ำโขง กลับกลายมาเป็นศึกษาจากการทำงานของเขื่อนเพื่อเข้าใจการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในขณะนี้ อันนำไปสู่การตั้งรับ/ปรับตัวในแง่มุมต่าง ๆ สอน จำปาดอก  บ้านสำโรง หมู่ 5 อำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี ปัญหา/ความผิดปกติของแม่น้ำโขงในขณะนี้ “สิ่งที่ผิดปกติในตอนนี้คือ น้ำโขงขึ้นลงผิดปกติ ช่วงนี้หน้าแล้ง แต่น้ำขึ้น ทำให้เกษตรริมโขงได้รับผลกระทบ พืชที่ได้รับผลกระทบก็พวกมันแกว ถั่วลิสง ถั่วดิน ข้าวโพด คนมีมากก็ปลูกมาก … Continue reading จับเข่าคุย 6 ลูกแม่น้ำโขง