สถานการณ์แม่น้ำโขง และนโยบายของรัฐในปี 2565 สถานการณ์ปัญหาหลักของแม่น้ำโขง คือ การเปลี่ยนแปลงการไหลที่ไม่เป็นไปตามธรรมชาติและปริมาณตะกอนหายไป จากการสร้างเขื่อนผลิตไฟฟ้าในลุ่มน้ำโขง ทั้งในแม่น้ำโขงสายหลักในจีน, ลาว และบนลำน้ำสาขาในลาว (รวมทั้งกัมพูชา ไทย และเวียดนาม) ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศแม่น้ำโขงและการใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ของชุมชน เป็นปัญหาสะสมต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2536 และรุนแรงเพิ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2550 ต่อเนื่องมาจนถึงปีปัจจุบัน อาทิเช่น น้ำขึ้นลงผิดปกติในฤดูแล้ง ชุมชนสูญเสียรายได้จากการท่องเที่ยว, น้ำโขงขึ้นไม่เต็มตลิ่ง หญ้าไม่ตาย ไม่มีตะกอนทับถม ทำให้สูญเสียพื้นที่เกษตรริมโขง และน้ำโขงไม่ไหลเข้าลำน้ำสาขา เช่น น้ำสงคราม, ตลิ่งพัง เกิดดอนใหม่ ร่องน้ำเปลี่ยน และน้ำโขงแห้ง ส่งผลกระทบต่อ บ้านเรือนริมตลิ่ง ระบบประปา การเกษตรริมโขง และปัญหาการครอบครองที่ดินเกิดใหม่, ปลาอพยพผิดฤดู ชุมชนจับปลาได้น้อยลง สูญเสียอาชีพ รายได้ และความมั่นคงทางอาหาร, พืชไม้น้ำในแม่น้ำโขงล้มตายเป็นจำนวนมาก การสูญเสียระบบนิเวศน้ำโขง ถิ่นที่อยู่อาศัยและห่วงโซ่อาหารของปลา, การออกดอกของไม้น้ำ ในแม่น้ำโขง ที่ผิดฤดูกาล เช่น ไคร้น้ำ, หว้าน้ำ เป็นต้น, ระดับน้ำโขงที่เปลี่ยนแปลงผิดปกติในฤดูแล้ง ท่วมพื้นที่วางไข่ของนกที่อาศัยทำรังวางไข่ในช่วงฤดูแล้ง, น้ำโขงใสไร้ตะกอน เกิดการระบาดของสาหร่ายแม่น้ำโขงในฤดูแล้ง และชาวบ้านจับปลาไม่ได้ เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นทันที หลังการเปิดเขื่อนไซยะบุรีเมื่อ 29 ตุลาคม 2562 และเกิดต่อเนื่องมาจนปี 2565 และต่อเนื่องด้วยปัญหาการดำน้ำยิงพ่อแม่พันธุ์ปลาในวังหรือถ้ำใต้น้ำ, การสูญเสียเครื่องมือประมง … Continue reading สถานการณ์แม่น้ำโขงและข้อเสนอนโยบายสำหรับรัฐบาลหน้า