รายงานการศึกษา การเปลี่ยนแปลงทรัพยากรของชุมชน และแม่น้ำโขง

จากโครงการเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำบนแม่น้ำโขงสายหลัก โครงการศึกษาการเปลี่ยนแปลงทรัพยากรของชุมชนและแม่น้ำโขง จากโครงการเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำบนแม่น้ำโขงสายหลัก เกิดขึ้นด้วยความร่วมมือของทีมชุมชนใน 5 หมู่บ้านของจังหวัดอุบลราชธานี ได้แก่ หมู่บ้านสำโรง อำเภอโพธิ์ไทร, บ้านดงนา อำเภอศรีเมืองใหม่, บ้านปากลา บ้านคันท่าเกวียน และบ้านตามุย อำเภอโขงเจียม ร่วมกับเครือข่ายคนฮักน้ำของและกลุ่มเสรีภาพแม่น้ำโขง ในการเก็บข้อมูลทรัพยากรโดยชุมชนริมฝั่งแม่น้ำโขง เพื่อประเมินมูลค่าทางเศรษฐกิจของชุมชนที่ได้พึ่งพาแม่น้ำโขง ที่เปลี่ยนแปลงไปจากอดีตจนถึงปัจจุบัน และการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศและทรัพยากรในแม่น้าโขง ควบคู่ไปกับการศึกษาการเปลี่ยนแปลงแม่น้ำโขงจากการสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้าบนแม่น้ำโขงสายหลักทั้งที่สร้างมาแล้ว และเขื่อนที่มีแผนจะดำเนินการในพื้นที่ของชุมชนคือ เขื่อนบ้านกุ่ม หรือเขื่อนสาละวัน และนำมาวิเคราะห์สถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นต่อชุมชนที่มีการศึกษา ได้แก่ บ้านสำโรง, บ้านดงนา, บ้านปากลา, บ้านคันท่าเกวียน และบ้านตามุย  ระยะเวลาของโครงการศึกษาฯ ระหว่างเดือนมกราคมถึงกันยายน 2566 โดยใช้กระบวนการ การประชุมกลุ่มย่อย (ประเด็นหลัก ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงการปลูกพืชริมโขง, การจับปลา, การใช้ประโยชน์จากป่า, การท่องเที่ยวชุมชน และการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศของแม่น้ำโขง), การทำบันทึกการจับปลารายวัน, การทำแผนที่นิเวศย่อย, การสำรวจระบบนิเวศย่อยแม่น้ำโขง, การสำรวจป่าชุมชน, การบันทึกภาพ และการศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง  การประเมินผลกระทบจากโครงการเขื่อนที่ผ่านมาและเขื่อนที่กำลังมีการศึกษา ภายใต้โครงการศึกษาการเปลี่ยนแปลงทรัพยากรของชุมชนและแม่น้ำโขง จากโครงการเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำบนแม่น้ำโขงสายหลัก ถือเป็นจุดเริ่มต้นของชุมชน ในการริเริ่มเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล ประเมินผลกระทบในด้านต่าง … Continue reading รายงานการศึกษา การเปลี่ยนแปลงทรัพยากรของชุมชน และแม่น้ำโขง

Compilation of Experiences

Natural Regeneration Process, Ecological and Fishery Resources Restoration of the Mekong Basin Communities  The over-4,800-kilometer Mekong River originates from the Himalayas melting snow in Tibet flowing through steep valleys in Chinaween Laos and Myanmar. The Mekong River then visits Thailand; Laos and Myanmar at Chiang Saen district, known as the Golden Triangle where the lower … Continue reading Compilation of Experiences

ACSC/APF2023 เรียกร้องอาเซียนประกาศตัดความสัมพันธ์กับเผด็จการทหารพม่า – สิงคโปร์และไทยต้องไม่สนับสนุนด้านอาวุธและเงินทุนแก่กองทัพผ่านการทำธุรกิจ

"เวที ACSC/APF2023 และภาคประชาชนอาเซียนประณามเผด็จการทหารเป็นองค์กรก่อการร้าย เรียกร้องสิงคโปร์และไทยตัดความเกี่ยวข้องทางอาวุธกับทหารพม่าและหยุดจ่ายเงินสนับสนุนผ่านโครงการลงทุน พร้อมสนับสนุนการปฏิวัติของประชาชนและเร่งให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม - ด้านผู้นำอาเซียนยังคงเดินหน้าทำตามฉันทามติ 5 ข้อ" จบไปแล้วสำหรับการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน หรือ ASEN Summit ที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยครั้งนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 5-7 ก.ย. นับเป็นการประชุมครั้งที่ 43 ซึ่งจัดขึ้น ณ กรุงจาการ์ตา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย โดยภายในปีนี้มีการจัดการประชุมถึงสองครั้ง โดยในครั้งแรกจัดขึ้นไปเมื่อเดือนพฤษภาคมโดยมีประเด็นสำคัญคือการหาทางออกจากวิกฤตเมียนมา และการหาช่องทางช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมโดยยึดหลักฉันทามติ 5 ข้อ ที่เกิดขึ้นหลังการรัฐประหารไม่นานนัก ในการประชุมครั้งนี้ ที่ประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนยังคงเน้นไปที่การพูดคุย ถกเถียง และหาข้อสรุปเกี่ยวกับความมั่นคงและการละเมิดสิทธิมนุษยชนในระดับภูมิภาคอย่างวิกฤตด้านมนุษยธรรมในเมียนมาอันเกิดจากการปราบปรามประชาชนชาวเมียนมาอย่างรุนแรงจนทำให้ประชาขนเมียนมาต้องกลายเป็นผู้พลัดถิ่นภายในประเทศของตนเองนับล้านคน กลายเป็นผู้ลี้ภัยเพิ่มเติมอีกกว่าหลายแสนราย ผู้คนนับล้านต้องกลายเป็นผู้พลัดถิ่นในประเทศของตนเอง และมากกว่า 4,000 ราย และยังคงถูกคุมขังอยู่อีกกว่าหมื่นราย นอกจากนี้ยังมีประเด็นเรื่องความตึงเครียดในทะเลจีนใต้ที่ล่าสุดจีนเพิ่งเผยแพร่แผนที่เขตแดนประเทศของตนใหม่ที่เผยให้เห็นอาณาเขตในความคิดของผู้นำจีนที่รุกล้ำเข้ามายังพื้นที่ที่อยู่ภายในการครอบครองของอินเดียและมาเลเซีย และในอนาคตอาจรวมถึงพื้นที่ทะเลจีนใต้ทั้งหมด ก่อนการประชุม ASEAN Summit ในครั้งนี้จะเริ่มเพียงสองวัน ภาคประชาชนและภาคประชาสังคมในอาเซียนทั้ง 11 ประเทศ (รวมติมอร์เลสเต) ได้ร่วมกันจัดงานมหกรรมภาคประชาสังคมและเวทีภาคประชาชนอาเซียน หรือ ACSC/APF2023 ที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในปีจัดขึ้นเป็นปีที่ 18 … Continue reading ACSC/APF2023 เรียกร้องอาเซียนประกาศตัดความสัมพันธ์กับเผด็จการทหารพม่า – สิงคโปร์และไทยต้องไม่สนับสนุนด้านอาวุธและเงินทุนแก่กองทัพผ่านการทำธุรกิจ

Mekong Crinum Lily Fates on Nursery Trays (EP.1)

“Plab Plueng Than” (Mekong Crinum Lily or Crinum viviparum) is what some Mekong riparian locals refer to as “Bua” (waterlily). This waterlily or crinum lily is prevalent in Thailand and is also endemic to other areas in Asia, for example, the Indian subcontinent and the Southeast Asia e.g. Laos, Burma, etc. They are found in … Continue reading Mekong Crinum Lily Fates on Nursery Trays (EP.1)

“Myanmar’s Gas-Thailand’s Electricity: Relationship between Business and Human Rights Consciousness of the Yadana Project under Humanitarian Crisis after the Myanmar’s Coup” (EP.1) 

Teerachai Sanjaroenkijthaworn In the middle of March, there was a big news in the energy sector closely linked to the situation in Myanmar as PTT Exploration and Production Public Company Limited or PPTEP announced its additional shares purchasing and became the operator of the Yadana natural gas field and pipeline project in Myanmar after France’s … Continue reading “Myanmar’s Gas-Thailand’s Electricity: Relationship between Business and Human Rights Consciousness of the Yadana Project under Humanitarian Crisis after the Myanmar’s Coup” (EP.1) 

แถลงการณ์เครือข่ายประชาชนไทย 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขงเรียกร้องให้จีนยอมรับว่าเขื่อนจีนในแม่น้ำโขงตอนบนเป็นสาเหตุของปัญหาผลกระทบข้ามพรมแดน

เป็นเวลามากกว่ายี่สิบปีแล้ว จากการเฝ้าสังเกตสถานการณ์และผลกระทบ สภาพความเปลี่ยนแปลงของแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นผลจากการจัดการน้ำของเขื่อนในประเทศจีน รวมถึงการติดตามสถานการณ์ข่าวสาร แถลงการณ์ การให้ความเห็นของจีน ที่มีต่อประเด็นปัญหาความเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศในแม่น้ำโขง ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ท่าทีของจีนนั้นไม่เคยยอมรับว่าเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาและไม่ให้ความร่วมมือในการเปิดเผยข้อมูลการจัดการน้ำแก่ประเทศแม่น้ำโขงตอนล่างอย่างจริงจัง โปร่งใส และต่อเนื่อง ทั้งยังพยายามเสนอแนวคิดด้านการจัดการน้ำที่ขัดแย้งกับวัฏจักรตามธรรมชาติของแม่น้ำโขง การกล่าวอ้างถึงคุณูปการของการบริหารน้ำจากเขื่อนจีนที่ช่วยป้องกันน้ำท่วมและแก้ไขปัญหาน้ำแล้งให้กับประเทศน้ำโขงตอนล่าง รวมถึงการกล่าวอ้างถึงข้อทักท้วงของประชาชนในลุ่มน้ำโขงตอนล่างให้เกี่ยวโยงกับผลประโยชน์ทางการเมืองระหว่างประเทศนั้น เป็นสิ่งที่น่าผิดหวังต่อประชาชนในประเทศท้ายน้ำอย่างยิ่ง น้ำท่วมหน้าแล้งฉับพลัน จนผลผลิตเกษตรริมฝั่งเสียหาย ที่อ.ธาตุพนม จ.นครพนม ธันวาคม 2556 การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการไหลและระบบนิเวศแม่น้ำโขง เริ่มต้นตั้งแต่การเริ่มเปิดใช้งานเขื่อนม่านวาน (Manwan) เมื่อปี 2536 หรือ 29 ปีที่ผ่านมา เขื่อนม่านวาน เป็นเขื่อนกั้นแม่น้ำโขงสายหลักเขื่อนแรก ตั้งอยู่บนแม่น้ำโขงตอนบนในประเทศจีน ล่าสุดจีนได้สร้างเขื่อนเพื่อผลิตไฟฟ้าบนแม่น้ำโขงแล้วเสร็จจำนวน 11 เขื่อน โดยไม่แสดงเจตจำนงที่จะปรึกษาหารือใด ๆ กับประเทศลุ่มน้ำโขงตอนล่าง เช่น เขื่อนต้าเฉาชาน (Dachaoshan) สร้างเสร็จปี 2546, เขื่อนจินหง (Jinghong) สร้างเสร็จปี 2552, เขื่อนเสี่ยวหวาน(Xiaowan) สร้างเสร็จปี 2553, เขื่อนนั่วจาตู้ (Nouzhadu) สร้างเสร็จปี 2555 … Continue reading แถลงการณ์เครือข่ายประชาชนไทย 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขงเรียกร้องให้จีนยอมรับว่าเขื่อนจีนในแม่น้ำโขงตอนบนเป็นสาเหตุของปัญหาผลกระทบข้ามพรมแดน

27 Years of Mekong Politics

A war trap between China and America on the day that the wound of the Mekong River remains chronic. There is probably no other moments in the long history of the Chinese Embassy in Thailand where it has to issue the statements via social media denying the accusation of causing radical changes in the Mekong … Continue reading 27 Years of Mekong Politics

คุยกับมิน ลัต สนทนาตัวตนคนทวายในชุมชนตลาด อ.ต.ก. และผลกระทบ(มาตรการ)โควิดต่อแรงงานข้ามชาติชาวทวาย

สัมภาษณ์โดย วิชัย จันทวาโร เรียบเรียงและภาพถ่ายโดย ธีระชัย ศาลเจริญกิจถาวร สัมภาษณ์เมื่อพฤษภาคม 2563   ข้ามคลองบางซื่อจากหลังตลาดองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) โดยเรือลากไฟเบอร์ลำน้อยบรรจุคนได้ราว 5 - 6 คน ต่อครั้ง ด้วยค่าโดยสารราคาคนละ 3 บาท ปรากฏที่ตั้งของชุมชนวัดไผ่ตัน ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็นชุมชนที่ประชากรหลายชาติพันธุ์อาศัยอยู่ร่วมกันทั้งชาวไทย พม่า มอญ และกะเหรี่ยง แต่แรงงานข้ามชาติที่อาศัยอยู่ในชุมชนนี้มากที่สุดดูท่าจะเป็นแรงงานชาวทวาย ที่พากันมาตั้งถิ่นฐานชั่วคราวอยู่ที่นี่กว่า 200 คน หลายคนใช้เวลากว่าครึ่งชีวิตของพวกเขาอยู่ที่นี่ ครั้งนี้ทีมงานเสมสิกขาลัยและ The Mekong Butterfly นัดแนะกันมาเยี่ยมเยียนมิตรสหายแรงงานข้ามชาติชาวทวายจากประเทศเมียนมา ถามไถ่ถึงสารทุกข์สุกดิบและความเป็นอยู่ของพวกเขา รวมถึงหนทางข้างหน้าว่าจะเอาอย่างไรกันต่อกับสถานการณ์แบบนี้ เรามีโอกาสได้พูดคุยกับปิ๊บ หรือ มิน ลัต (Min Latt) หนุ่มชาวทวายวัย 33 ปี อีกครั้ง หลังจากที่ก่อนหน้านี้ เราได้ประสานงานกับเขาในการเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญของชุมชนที่นี่เพื่อคอยจัดการเรื่องของบริจาคทั้งของสด ของแห้ง และเครื่องอุปโภคบริโภคที่จำเป็นที่จะเข้ามาสนับสนุนและเยียวยาพี่น้องในชุมชนวัดไผ่ตัน ทั้งชาวทวาย ชาวไทย ชาวพม่า ชาวมอญ … Continue reading คุยกับมิน ลัต สนทนาตัวตนคนทวายในชุมชนตลาด อ.ต.ก. และผลกระทบ(มาตรการ)โควิดต่อแรงงานข้ามชาติชาวทวาย

เครือข่ายปชช.ไทยลุ่มน้ำโขงยื่นเอกสารเพิ่มเติมต่อศาลปกครองคดีเขื่อนไซยะบุรี

14 กุมภาพันธ์ 2563 ที่ศาลปกครองสูงสุด ถนนแจ้งวัฒนะ เครือข่ายประชาชนไทย 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขง ได้ยื่นหลักฐานเพิ่มเติมต่อศาลปกครองสูงสุด กรณีคดีเกี่ยวกับผลกระทบข้ามพรมแดน จากการรับซื้อไฟฟ้าจากเขื่อนไซยะบุรีโดยเป็นการยื่นเอกสารเพิ่มเติม หลังจากพบความเปลี่ยนแปลงของแม่น้ำโขง บริเวณท้ายน้ำจากเขื่อนไซยะบุรี ที่พรมแดนไทยลาว จาก อ.เชียงคาน จ.เลย ลงไปจนถึง จ.นครพนม และ จ.อุบลราชธานี อาทิ ระดับน้ำที่ผันผวน ขึ้นลงผิดธรรมชาติ และปรากฎการณ์แม่น้ำโขงสีคราม ซึ่งหมายถึงแม่น้ำขาดตะกอน แร่ธาตุสารอาหารที่จำเป็นต่อสัตว์น้ำ และเกษตรกรรมตลอดลุ่มน้ำ ทั้งนี้เพื่อขอให้ขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว และนำส่งเอกสารเพิ่มเติมประกอบการพิจารณา ของศาลปกครองสูงสุด เนื่องจากมีข้อเท็จจริงเพิมขึ้น ที่กำลังเกิดใหม่ดังเป็นที่ประจักษ์ นางอ้อมบุญ ทิพย์สุนา ผู้ฟ้องคดี กล่าวว่าการมาศาลปกครองครั้งนี้เพื่อยื่นเอกสารเพิ่มเติม เนื่องจากในพื้นที่แม่น้ำโขงพรมแดนไทยลาวตอนล่าง เกิดผลกระบที่ชัดเจนและรุนแรงกว้างขวาง “8 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่เริ่มฟ้องคดี เราเห็นแล้วในวันนี้ว่าผลกระทบที่ประชาชนเคยกังวล ได้เกิดขึ้นแล้วอย่างชัดเจน นอกจากนี้เหตุการณ์แผ่นดินไหวในแขวงไซยะบุรี ในลาวเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา สร้างความวิตกกังวลแก่ประชาชนที่อาศัยอยู่ทางท้ายน้ำของเขื่อน ในพื้นที่ 7 จังหวัดภาคอีสานเป็นอย่างมาก เพราะเขื่อนไม่เคยเปิดเผยแผนรับมือภัยพิบัติ ว่าหากเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวแล้วจะมีมาตรการรับมืออย่างไร” นางอ้อมบุญ กล่าว ผู้ฟ้องคดีกล่าวอีกว่า … Continue reading เครือข่ายปชช.ไทยลุ่มน้ำโขงยื่นเอกสารเพิ่มเติมต่อศาลปกครองคดีเขื่อนไซยะบุรี