“กสม. ตรวจสอบข้อกังวลเขื่อนสานะคาม หลัง ETOs Watch ร้องเรียน – ด้านชุมชนและหน่วยงานภาครัฐกังวลผลกระทบ หวั่นเขตแดนเปลี่ยนแปลง วิถีชีวิตและการท่องเที่ยวถูกทำลาย”

ช่วงระหว่างวันที่ 11-12 ตุลาคม 2566 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) นำโดยศยามล ไกรยูรวงศ์ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ด้านสิทธิชุมชนและทรัพยากรสิ่งแวดล้อม พร้อมด้วยคณะ ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนและผลกระทบข้ามพรมแดนจากโครงการเขื่อนสานะคาม และโครงการเกี่ยวเนื่องทั้งในบริเวณแม่น้ำโขงสายหลัก เช่น เขื่อนปากชม/ผามอง บริเวณพรมแดนไทย-ลาว ช่วงบริเวณหมู่บ้านคกเว้า อ.ปากชม และโครงการในลำน้ำสาขาบนแม่น้ำเลย บริเวณประตูระบายน้ำศรีสองรัก จ.เลย ตามข้อร้องเรียนของคณะทำงานติดตามความรับผิดชอบการลงทุนข้ามพรมแดน( ETO) และเครือข่ายประชาชนไทย 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขง ที่มีการร้องเรียนไปเมื่อช่วงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ในวันที่ 11 ตุลาคม ทาง กสม. พร้อมด้วยผู้สื่อข่าวได้ลงพื้นที่รับฟังข้อห่วงกังวลจากชุมชนที่จะได้รับผลกระทบทั้งสามพื้นที่ และเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2566 เวลา 9.00 น. ณ ห้องประชุมที่ว่าการอำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย กสม. ร่วมกับคณะทำงานติดตามความรับผิดชอบการลงทุนข้ามพรมแดน (ETOs Watch Coalition) ในฐานะผู้ร้องเรียนได้จัดประชุมหารือร่วมกับหน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ ทั้งในระดับประเทศและระดับพื้นที่ ได้แก่ สำนักงานทรัพยากรแม่น้ำโขงแห่งชาติ (สทนช.) กรมทรัพยากรน้ำแห่งชาติ … Continue reading “กสม. ตรวจสอบข้อกังวลเขื่อนสานะคาม หลัง ETOs Watch ร้องเรียน – ด้านชุมชนและหน่วยงานภาครัฐกังวลผลกระทบ หวั่นเขตแดนเปลี่ยนแปลง วิถีชีวิตและการท่องเที่ยวถูกทำลาย”

Changes in Mekong River’s Water Level from Pak Beng Dam

Changes in Mekong River’s Water Level from Pak Beng Dam[1] The Pak Beng Dam project will build a hydropower dam that blocks the Mekong River in Laos. It is only 90 kilometers from Kaeng Pha Dai, Wiang Kaen district, Chiang Rai province. Currently, this project only anticipates its last step, the signing of the power … Continue reading Changes in Mekong River’s Water Level from Pak Beng Dam

Plights in the Mekong River and Policy Recommendations

1. Mekong River’s Plights There are several critical issues in the Mekong River such as unseasonal water currents and the disappearance of sediment loads caused by hydropower dam constructions in the Mekong Basin. These constructions in the mainstream river, throughout China and Laos and its tributaries in Laos (including Cambodia, Thailand, and Vietnam), have negatively … Continue reading Plights in the Mekong River and Policy Recommendations

ชะตากรรมบนถาดเพาะเลี้ยงของพลับพลึงธารแม่น้ำโขง (ตอน 2)

พลับพลึงธารแม่น้ำโขง(Crinum viviparum) เป็นพืชที่เกิดในนิเวศแบบจำเพาะ คือบริเวณโขดหินริมน้ำโขงที่มีทรายปน สามารถอยู่ใต้น้ำได้ตลอดฤดูน้ำหลาก ดอกพลับพลึงธารจะบานตลอดฤดูแล้ง 1 กอ สามารถออกดอกได้มากกว่า 1 ช่อ และเกินกว่า 1 รอบ เมื่อดอกผลัดแรกเหี่ยวไป ดอกผลัดใหม่ก็พร้อมบาน จนฤดูน้ำหลากมาถึง กอพลับพลึงธารจะจมอยู่ใต้น้ำอีกครั้ง  การสำรวจและรวบรวมข้อมูล พลับพลึงธารแม่น้ำโขง เบื้องต้น ในระหว่างเดือนธันวาคม 2563 ถึง เดือนมกราคม 2566 ในเขตอำเภอเชียงคาน ปากชม จังหวัดเลย และอำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย ได้พบพลับพลึงธารแม่น้ำโขงเกิดกระจาย ตั้งแต่บ้านห้วยซวก อ.เชียงคาน ขึ้นไปจนถึงบ้านม่วง อ.สังคม ในพื้นที่รวม 8 แห่งได้แก่ หาดจอมนาง, แก่งฟ้า, คกไผ่, แก่งจันทร์, แก่งหัวดอน, ก้อนบ่อง-ก้อนขอนค้าง, หนองปลาบึก และก้อนเล้าข้าว (ดูตำแหน่งได้ในแผนที่ประกอบ) พบกอพลับพลึงธารแม่น้ำโขงรวมกันอย่างน้อย 391 กอ ในแต่ละกอ อาจจะมีตั้งแต่ต้นเดียวไปจนถึง 50 ต้นในกอเดียวกัน ขึ้นกับอายุและความสมบูรณ์ของแต่ละกอ ความหลากหลายของลักษณะรูปร่างภายนอกได้ปรากฏให้เห็น 2 ประการ คือ จำนวนหลอดกลีบดอกที่มีจำนวนแตกต่างกัน (แม้ว่าจะเกิดในกอเดียวกันก็ตาม) … Continue reading ชะตากรรมบนถาดเพาะเลี้ยงของพลับพลึงธารแม่น้ำโขง (ตอน 2)

การเปลี่ยนแปลงระดับแม่น้ำโขงจากอ่างเก็บน้ำเขื่อนปากแบ่ง

ประมวลโดย มนตรี จันทวงศ์กลุ่มเสรีภาพแม่น้ำโขง (The Mekong Butterfly)5 เมษายน 2566 การเปลี่ยนแปลงระดับแม่น้ำโขงจากอ่างเก็บน้ำเขื่อนปากแบ่ง โครงการเขื่อนปากแบ่ง ที่จะสร้างกั้นแม่น้ำโขงในประเทศสปป.ลาว ห่างจากชายแดนไทยบริเวณแก่งผาได อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงรายลงไปประมาณ 90 กิโลเมตร จนถึงปัจจุบันเพียงรอขั้นตอนสุดท้าย คือการลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ก็จะเริ่มดำเนินการก่อสร้างได้ แต่จนถึงปัจจุบัน ยังไม่มีการศึกษาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ว่าระดับน้ำท่วมที่ระดับเก็บกัก 340 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง (ม.รทก.) และระดับน้ำเท้อ อันเนื่องมาจากอ่างเก็บน้ำของเขื่อนปากแบ่ง จะส่งผลต่อระดับน้ำโขงในเขตประเทศไทยอย่างไร และรวมทั้งแนวเขตแดนระหว่างประเทศในแม่น้ำโขง จะเกิดการเปลี่ยนแปลงมากน้อยเพียงใด เพื่อแลกกับการซื้อไฟฟ้าจากเขื่อนปากแบ่งเพียง 897 เมกะวัตต์ ในขณะที่ภาระไฟฟ้าสำรองในระบบสูงกว่า 50% ในปัจจุบัน เอกสารนี้จะทำการสำรวจการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบที่จะเกิดขึ้น จากอ่างเก็บน้ำเขื่อนปากแบ่ง ที่ระดับเก็บกัก 340 ม.รทก. จากการสำรวจข้อมูลเส้นระดับความสูงจากแผนที่ 1:50000 เส้นระดับความสูง 340 ม.รทก. จะเลาะขอบตลิ่งแม่น้ำโขง วกเข้าน้ำสาขา เช่น น้ำงาว (ซึ่งไม่แสดงเส้นระดับความสูงในแผนที่) และน้ำอิง (เส้นระดับความสูงไปวกกลับที่บ้านทุ่งอ่าง) และเส้นระดับความสูงในแม่น้ำโขงไปสิ้นสุดที่รอยต่อบ้านโจโก้กับบ้านดอนชัย … Continue reading การเปลี่ยนแปลงระดับแม่น้ำโขงจากอ่างเก็บน้ำเขื่อนปากแบ่ง

Mekong River Situation and Policy Recommendations For the Next Government

All lives of the Mekong River depend on the river’s seasonal flow and sediments to flourish. Current development plans extract and destroy the Mekong River’s sources of lives. Stop the destructive developments. Bring back the seasonal flow and sedimentation. Mekong River Situation and Thailand Government’s Policies in 2022  Two pressing issues of the Mekong River … Continue reading Mekong River Situation and Policy Recommendations For the Next Government

หนังสือประมวลประสบการณ์ชุมชนน้ำโขง

หนังสือ "ประมวลประสบการณ์ กระบวนการฟื้นฟูตามธรรมชาติ การฟื้นฟูนิเวศและทรัพยากรประมง ของชุมชนลุ่มน้ำโขง" เกิดขึ้นได้ท่ามกลางวิกฤติปัญหาความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศแม่น้ำโขง หลายชุมชนได้นำเสนอปัญหาและเรียกร้องให้ทั้งหน่วยงานภายในประเทศและภูมิภาค เข้ามาแก้ไขปัญหาในเชิงนโยบาย เพื่อยุติการสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ และการเยียวยาผลกระทบที่เกิดขึ้นกับชุมชนและระบบนิเวศ อย่างไรก็ตามการแก้ปัญหาเชิงนโยบายระหว่างประเทศยังคงทำได้ยาก  เนื่องจากเป็นผลมาจากการบริหารจัดการน้ำในเขื่อนของจีน และสปป.ลาว ดังนั้นควบคู่กับวิกฤติการณ์นี้ ชุมชนจึงดำเนินการอย่างเต็มที่เท่าที่ศักยภาพจะเอื้ออำนวย เพื่อให้สามารถรักษาและฟื้นฟูระบบนิเวศแม่น้ำโขงไว้ให้ได้ และเพื่อเป็นต้นแบบในการดูแลและใช้ชีวิตร่วมไปกับความหลากหลายทางชีวภาพ ทั้งด้านพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ และด้านความมั่นคงทางอาหาร เพื่อให้คนในชุมชนได้ประโยชน์ร่วมกันดังที่เคยเป็นมา ด้วยภูมิปัญญา วิถีชีวิต และความใกล้ชิตกับแม่น้ำโขงทุกลมหายใจเข้าออก ชุมชนจึงสังเกตเห็นถึงรูปแบบเฉพาะตัวในการเกิดใหม่ของกล้าไม้ธรรมชาติ เช่น ต้นอ่อนไคร้น้ำ, ไคร้นุ่น เกิดบริเวณแนวตลิ่งในระดับต่ำ และบริเวณรอบบุ่ง ซึ่งเป็นผลจากการขยายพันธุ์ตามธรรมชาติของพันธุ์ไม้ต่าง ๆ ที่เมล็ดได้ลอยตามน้ำมาเกิดขึ้นในพื้นที่ที่เหมาะแก่การเจริญเติบโต ซึ่งขณะเดียวกับในห้วงเวลาที่ระบบนิเวศโดยรวมเกิดวิกฤต นิเวศของแม่น้ำโขงทั้งสายก็ได้มีกระบวนการฟื้นฟูตัวเองตามธรรมชาติอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ ปรากฏการณ์นี้เป็นจุดตั้งต้นให้ชุมชนเห็นร่วมกันว่า ชุมชนสามารถเป็นตัวแปรหนึ่งในนิเวศที่ช่วยคงกระบวนการเยียวยาตามธรรมชาตินี้ไว้ได้ เพื่อช่วยรักษาและเติมเต็มระบบนิเวศให้กลับมาสมบูรณ์เท่าที่จะทำได้อีกครั้ง การทำงานหนักของชุมชนดังกล่าวจึงเกิดขึ้นเป็นหนังสือประมวลประสบการณ์เล่มนี้ ที่ชุมชนได้ดำเนินกิจกรรมฟื้นฟูและรักษาระบบนิเวศมีทั้งชุมชนในแม่น้ำโขงสายหลักและลำน้ำสาขา แบ่งเป็น 2 กิจกรรมใหญ่ คือ  1. การฟื้นฟูระบบนิเวศ เช่น การปล่อยลูกปลา การปลูกกล้าไม้ท้องถิ่น ฯลฯ  ชุมชนย้ายกล้าไม้ธรรมชาติมาปลูกริมหนองขา พื้นที่บ้านสามผง จ.นครพนม สร้างและเติมแหล่งอาหารอาหารจากวัสดุธรรมชาติ เช่นแพลงตอน … Continue reading หนังสือประมวลประสบการณ์ชุมชนน้ำโขง

หนังสือภาพ “The Mekong Harmony”

หนังสือภาพถ่าย “แม่น้ำโขง สัมพันธ์ภาพแห่งชีวิต” (The Mekong Harmony) ส่วนหนึ่งเกิดจากความต้องการถ่ายทอดภาพอันสวยงามของแม่น้ำโขง แม่น้ำสายยาวที่ไหลผ่านนานาประเทศนับพันกิโลเมตร แต่ยังมีอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่คงค้างในใจพวกเรามายาวนาน แม้ตลอดการทำงานของพวกเราจะมีช่วงเวลาให้แทบหยุดหายใจเสมอเมื่ออยู่ท่ามกลางการโอบล้อมของทั้งแม่น้ำ ภูเขา หินผา ที่รวมเป็นทิวทัศน์และบรรยากาศอันตรึงใจ แต่เมื่อเราหยุดนิ่ง และสังเกต กลับมีอีกหลายสิ่งที่ดึงดูดเรายิ่งกว่าทิวทัศน์ เราได้เห็นมนุษย์และจังหวะการใช้ชีวิตของพวกเขา เราได้เห็นสีเขียวที่ไล่เฉดต่างกันไปของพุ่มไม้น้ำ บ้างมีดอกขาว บ้างมีผลแดงก่ำพราวทั่วต้น เราได้ยินเสียงนกต่างสายพันธุ์ร้องกระจายไปทั่วคุ้งน้ำทั้งไกลและใกล้ พร้อมเสียงกระพือปีกแยกย้ายจากดอนและแก่งยามเรือหาปลาแล่นผ่าน กลิ่นดินตะกอนหลากมาพร้อมสายน้ำ หรือหากเราเดินตามชาวประมงไป จะได้กลิ่นปลาสดใหม่ที่ดิ้นกันอยู่เต็มข้อง และแม้เราไม่ได้อยู่เป็นพยานของปรากฏการณ์ตรงนั้น แต่สิ่งเหล่านี้ก็เกิดขึ้นอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันเป็นปกติธรรมดา ผันเปลี่ยนและเวียนซ้ำตามฤดูกาลเหมือนที่ได้ดำเนินมาตลอดก่อนหน้านี้เนิ่นนาน เป็นข่ายใยชีวิตที่ล้วนประสานสอดคล้องโดยไม่อาจแยกขาดจากกันได้ คงเป็นธรรมชาติของสรรพสิ่งที่ต้องหมุนไปด้วยการพึ่งพาและเกื้อกูล เพราะสมดุลของธรรมชาตินั้นเกิดขึ้นไม่ได้จากการครอบครองกันและกัน ไม่มีสิ่งใดถือตนเป็นเจ้าของสิ่งอื่นได้ หนังสือภาพเล่มนี้จึงหวังพาผู้อ่านไปเฝ้ามองการสนทนาของธรรมชาติร่วมกับเรา ผ่านภาพถ่ายทั้งสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต ซึ่งมีวิถีของตัวเองต่างกันไปในแต่ละฤดูกาล ทั้งฤดูแล้ง ฤดูน้ำหลาก และช่วงเวลาเปลี่ยนผ่าน คัดเลือกและร้อยเรียงจากภาพถ่ายที่สะสมไว้ปีแล้วปีเล่า และการย้อนดูภาพถ่ายเหล่านี้เองที่สร้างความรู้สึกอันหนักหน่วงหลากหลายอยู่ภายใน จากทั้งภาพที่สร้างแรงบันดาลใจแก่เราเพื่อศึกษาสิ่งนั้นเพิ่มเติม ทั้งภาพที่พาเราอิ่มเอมเมื่อนึกถึงช่วงเวลาอันสวยงาม และหลายภาพที่พาเราจมกับความรู้สึกเศร้าอย่างอธิบายได้ยาก เมื่อสิ่งที่อยู่ในภาพนั้นได้สูญหาย ถูกทำลาย และเปลี่ยนแปลงไปแล้วอย่างถาวร เราคงทำใจได้ง่ายขึ้นหากการสาบสูญนั้นมาจากผลพวงของเหตุการณ์ทางธรรมชาติ แต่ที่เกิดขึ้นคือ ทั้งเกาะแก่ง นก ปลา ชุมชน วิถีชีวิตของผู้คน ฯลฯ … Continue reading หนังสือภาพ “The Mekong Harmony”

Photography book “The Mekong Harmony”

The Mekong Harmony began with our desire to show the beauty of the Mekong River, an international river covering a distance of thousands kilometres. It has been in our minds for a long time. Embraced by the river, mountains and cliffs, the spectacular landscape always left us in awe. And as we listened and observed … Continue reading Photography book “The Mekong Harmony”

Tracing Sediment Starved Aquamarine Mekong with Scientific Evidences and Citizen Science

It has been two years, starting from the end of 2019 to early 2021, since we noticed the unusual aquamarine hue of the Mekong River, the freshwater algae bloom[1] and their adverse impacts on the Mekong ecosystems and fishing livelihoods of the Isan people in northeastern Thailand. Yet, we have not seen any formal statements … Continue reading Tracing Sediment Starved Aquamarine Mekong with Scientific Evidences and Citizen Science