Changes in Mekong River’s Water Level from Pak Beng Dam

Changes in Mekong River’s Water Level from Pak Beng Dam[1] The Pak Beng Dam project will build a hydropower dam that blocks the Mekong River in Laos. It is only 90 kilometers from Kaeng Pha Dai, Wiang Kaen district, Chiang Rai province. Currently, this project only anticipates its last step, the signing of the power … Continue reading Changes in Mekong River’s Water Level from Pak Beng Dam

จับเข่าคุย 6 ลูกแม่น้ำโขง

The Mekong Butterfly จับเข่าคุยสบาย ๆ ในเรื่องซีเรียส ด้วย 3 คำถามสำคัญ (ปัญหา สาเหตุของปัญหา และวิธีการตั้งรับปรับตัวในสถานการณ์ปัจจุบัน) กับ 6 ลูกน้ำโขง จาก 6 พื้นที่ริมโขง ซึ่งเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงผันผวนของแม่น้ำโขงมาตลอดในรอบทศวรรษที่ผ่านมา ทั้งภัยพิบัติอุทกภัย ระดับน้ำโขงขึ้นลงผิดปกติ อันมีต้นตอจากสิ่งที่เห็นตรงกันว่า เขื่อน บนแม่น้ำโขงสายหลักและลำน้ำสาขาคือคำตอบของปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นในขณะนี้ พร้อมเผยให้เห็น “ต้นทุนที่ถูกซุกซ่อน (hidden cost)” จากการทำงานของเขื่อนบนแม่น้ำโขง ที่ “คนข้างบน” ควบคุมได้แต่ “คนข้างล่าง” ไม่อาจควบคุม ส่งผลให้องค์ความรู้ที่มีอยู่ของลูกน้ำโขงเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม จากที่ศึกษาจากธรรมชาติของแม่น้ำโขง กลับกลายมาเป็นศึกษาจากการทำงานของเขื่อนเพื่อเข้าใจการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในขณะนี้ อันนำไปสู่การตั้งรับ/ปรับตัวในแง่มุมต่าง ๆ สอน จำปาดอก  บ้านสำโรง หมู่ 5 อำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี ปัญหา/ความผิดปกติของแม่น้ำโขงในขณะนี้ “สิ่งที่ผิดปกติในตอนนี้คือ น้ำโขงขึ้นลงผิดปกติ ช่วงนี้หน้าแล้ง แต่น้ำขึ้น ทำให้เกษตรริมโขงได้รับผลกระทบ พืชที่ได้รับผลกระทบก็พวกมันแกว ถั่วลิสง ถั่วดิน ข้าวโพด คนมีมากก็ปลูกมาก … Continue reading จับเข่าคุย 6 ลูกแม่น้ำโขง

การลงทุนข้ามพรมแดนนอกเงาความรับผิดชอบของรัฐ กรณีเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำปากแบง

โดย ชนาง อำภารักษ์ สืบเนื่องจากแผนในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศลาวคือการส่งออกไฟฟ้าจากเขื่อน โดยเฉพาะเขื่อนบนแม่น้ำโขง เพื่อส่งออกกระแสไฟฟ้าให้ได้มากขึ้น ซึ่งคู่ค้าหลักที่รับซื้อไฟฟ้าของประเทศลาวคือประเทศไทย ทำให้แม้กรณีพิพาทของเขื่อนที่สร้างไปแล้วคือ เขื่อนไซยะบุรี และเขื่อนดอนสะโฮง ยังดำเนินอยู่ไม่จบสิ้น แต่รัฐบาลลาวก็ยืนยันที่จะสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำแห่งต่อไป นั่นคือโครงการเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำปากแบง (Pak Bang Dam) โดยทางการลาวได้เซ็นบันทึกความเข้าใจกับ กลุ่มบริษัท ต้าถังโอเวอร์ซีส์อินเวสต์เม้นต์ (Datang Overseas Investment) ในเดือน สิงหาคม 2550 เพื่อให้เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างโครงการเขื่อนปากแบง และ เริ่มทำการศึกษาตั้งแต่นั้น ผลการสำรวจศึกษาเบื้องต้นได้รับอนุมัติจากรัฐบาลลาวในเดือน มกราคม 2557 อายุสัมปทาน 30 ปี รวมทั้งระยะเวลาของการก่อสร้างโครงการ และมีบริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หรือ เอ็กโก กรุ๊ป บริษัทลูกของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยร่วมลงทุนด้วย[1] โดยจากเวทีแถลงข่าวผลการดำเนินธุรกิจปี 2558 ของ เอ็กโก เมื่อวันที่ 8 มี.ค. 2559 ระบุถึงสัดส่วนการร่วมทุนว่า บริษัท ต้าถัง อินเตอร์เนชั่นแนล … Continue reading การลงทุนข้ามพรมแดนนอกเงาความรับผิดชอบของรัฐ กรณีเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำปากแบง