โครงการวิจัยและพัฒนาชุมชนต้นแบบด้านสุขภาวะ บนฐานความมั่นคงทรัพยากรทางอาหารและทรัพยากรธรรมชาติ ในลุ่มน้ำโขง และความสามารถในการปรับตัวจากปัจจัยเสี่ยงด้านภัยพิบัติ

โครงการวิจัยและพัฒนาชุมชนต้นแบบด้านสุขภาวะ บนฐานความมั่นคงทรัพยากรทางอาหารและทรัพยากรธรรมชาติ ในลุ่มน้าโขง และความสามารถในการปรับตัวจากปัจจัยเสี่ยงด้านภัยพิบัติ ได้ดำเนินงานมาตั้งแต่เดือนมกราคม 2562 และสิ้นสุดโครงการในเดือนธันวาคม 2563 โครงการนี้ดำเนินการร่วมกับชุมชนริมแม่น้ำโขงและแม่น้ำสงครามจำนวน 22 ชุมชน (และมีคณะที่ปรึกษาในระดับจังหวัดได้ให้การสนับสนุนในกระบวนการทางาน) ภายใต้งานวิจัยเชิงปฏิบัติการที่เป็นความร่วมมือร่วมใจของทีมวิจัยชุมชนในทุก ๆ พื้นที่ โดยมีสถานการณ์ใหญ่ที่ต้องเผชิญหน้าร่วมกันคือ การเปลี่ยนแปลงของแม่น้ำโขงที่ผิดธรรมชาติและความแปรปรวนของฤดูกาล งานวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้เป็นส่วนหนึ่งการค้นหาคาตอบของโดยชุมชนเอง ในการน้ำความรู้ของชุมชน และผสานความรู้และการสนับสนุนจากภาคีต่าง ๆ มากำหนดแนวทางการปรับตัวให้สอดคล้องกับศักยภาพที่เป็นจริงของชุมชนในเวลานั้น และได้ปรากฏเป็น “แผนปฏิบัติการชุมชนต้นแบบ” ที่มีความหลากหลายไปตามแต่ละพื้นที่ ซึ่งมีชุมชนที่มีเงื่อนไขพร้อมดำเนินการตามแผนปฏิบัติการชุมชนต้นแบบต่อเนื่องในปี 2563 รวม 17 ชุมชน  การดำเนินงานตลอดระยะเวลา 2 ปีนี้ โครงการฯ ขอขอบคุณหน่วยงานที่เป็นผู้สนับสนุนหลักคือ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และ มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน นอกจากนี้ยังมีภาคีเครือข่าย ที่ได้สนับสนุนการทำงานในโอกาสต่าง ๆ ได้แก่ สมาคมเครือข่ายสภาองค์กรชุมชนลุ่มน้าโขง 7 จังหวัดภาคอีสาน, สำนักบริหารนโยบายของนายกรัฐมนตรี (สบนร.), กรมประมง, องค์การบริหารส่วนตำบลพระกลางทุ่ง อ.ธาตุพนม จ.นครพนม, องค์การบริหารส่วนตาบลป่งขาม อ.หว้านใหญ่ จ.มุกดาหาร, … Continue reading โครงการวิจัยและพัฒนาชุมชนต้นแบบด้านสุขภาวะ บนฐานความมั่นคงทรัพยากรทางอาหารและทรัพยากรธรรมชาติ ในลุ่มน้ำโขง และความสามารถในการปรับตัวจากปัจจัยเสี่ยงด้านภัยพิบัติ

PPA รีดเลือดกับปู: หนึ่งร้อยปีแห่งความโดดเดี่ยวของปูที่ต้องจ่าย

ตลอดระยะเวลาของการลงนามซื้อไฟฟ้าของไทย จากเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำบนแม่น้ำโขงในสปป.ลาว ตั้งแต่ เขื่อนไซยะยุรี, เขื่อนหลวงพระบาง และเขื่อนปากลายนั้น เกิดขึ้นท่ามกลางคำถามถึงความจำเป็นด้านพลังงานไฟฟ้าของไทย และความสูญเสียต่อระบบนิเวศแม่น้ำโขงและชุมชนลุ่มน้ำโขง เพราะทุกครั้งของการลงนาม ไทยมีไฟฟ้าสำรองในระบบเกินมาตรฐาน 15% ไปมากถึง 40-50% ประกอบกับกระบวนการตัดสินใจคัดเลือก และการเจรจาเงื่อนไขการรับซื้อไฟฟ้า จนได้มาซึ่ง “สัญญาซื้อขายไฟฟ้า” นั้น (หรือ PPA: Power Purchase Agreement) ไม่ได้อิงกฏหมายจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ไม่ได้อิงกับระเบียบว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และไม่ได้อิงกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญหมวดสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทยและหน้าที่ของรัฐ  แม้กระทั่งกลไกถ่วงดุลตรวจสอบของรัฐสภา ยังไม่สามารถเข้าถึงและตรวจสอบกระบวนการตัดสินใจหรือข้อมูลในสัญญาซื้อขายไฟฟ้านี้ได้ จึงส่งผลให้การลงนาม PPA ทั้งสามครั้งที่ผ่านมา เป็นการตัดสินใจของภาครัฐเพียงฝ่ายเดียวโดยสมบูรณ์  แม้บริษัทต่าง ๆ ของไทย จะเป็นผู้ได้รับสัมปทานก่อสร้างเขื่อนและได้เงินกู้จากธนาคารของไทย จนสามารถลงนามขายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้นั้น แต่จุดเริ่มของกระบวนการนี้นั้น บริษัททั้งหลายของไทย ไม่สามารถยื่นข้อเสนอขายไฟฟ้าให้กับ กฟผ. ได้โดยตรง ต้องอาศัยรัฐบาลสปป.ลาว เป็นผู้เสนอขายไฟฟ้า ภายใต้กรอบบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding: MOU) เรื่องความร่วมมือในการพัฒนาไฟฟ้าในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (บันทึกความเข้าใจฯ) ซึ่งมีการลงนามเป็นลำดับดังนี้ 1.  ครั้งที่หนึ่ง วันที่ 6 มิถุนายน 2536 กำหนดจำหน่ายไฟฟ้าให้ไทยในปริมาณ 1,500เมกะวัตต์  2.  ครั้งที่สอง วันที่ 19 มิถุนายน 2539 กำหนดจำหน่ายไฟฟ้าให้ไทยในปริมาณ 3,000เมกะวัตต์  3.  ครั้งที่สาม วันที่ 18 ธันวาคม 2549 กำหนดจำหน่ายไฟฟ้าให้ไทยในปริมาณ 5,000เมกะวัตต์  4. ครั้งที่สี่ วันที่ 22 ธันวาคม 2550 กำหนดจำหน่ายไฟฟ้าให้ไทยในปริมาณ 7,000 เมกะวัตต์ ต่อมามีการลงนาม PPA ซื้อไฟฟ้าจากเขื่อนไซยะยุรี ในวันที่ 29 ตุลาคม 2554 และเริ่มจ่ายไฟฟ้าให้ไทยเป็นทางการเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2562 5.  ครั้งที่ห้า วันที่ 6 กันยายน 2559 กำหนดจำหน่ายไฟฟ้าให้ไทยในปริมาณ 9,000 เมกะวัตต์ 6.  ครั้งที่หก มติคณะรัฐมนตรี … Continue reading PPA รีดเลือดกับปู: หนึ่งร้อยปีแห่งความโดดเดี่ยวของปูที่ต้องจ่าย

Photography book “The Mekong Harmony”

The Mekong Harmony began with our desire to show the beauty of the Mekong River, an international river covering a distance of thousands kilometres. It has been in our minds for a long time. Embraced by the river, mountains and cliffs, the spectacular landscape always left us in awe. And as we listened and observed … Continue reading Photography book “The Mekong Harmony”

Sound of the Wolf From the Headwaters of Lancang River

Sound of the Wolf From the Headwaters of Lancang River[1] The Chinese embassy spokespersons’s remarks on the “Mekong-related Media Report Targeting China” released on 5 July 2019 and the Mekong River Council (MRC)’s recent news release on the decreasing water flow from China’s Jinghong station on 3 July 2019 are not coincidental. They are, instead, … Continue reading Sound of the Wolf From the Headwaters of Lancang River

Infographic: Coal-fired Power Plant Project Proposal in Ye Township, Mon State, Myanmar

Introduction At present, Investors find the country attractive and opportunistic for their businesses. The energy and electricity sector is among many investors. As electricity is an important infrastructure for economic development, TTCL Public Company Limited (TTCL)[1] exemplifies an example of a foreign enterprise interested in investing in a business in Myanmar’s energy and electricity sector. … Continue reading Infographic: Coal-fired Power Plant Project Proposal in Ye Township, Mon State, Myanmar

โครงการสัมปทานที่ดินทางเศรษฐกิจเกาะกง: กรณีไร่อ้อยและโรงงานน้ำตาล บริษัทน้ำตาลขอนแก่น จำกัด (มหาชน)

โดย ชนาง อำภารักษ์ บริษัทน้ำตาลขอนแก่น จำกัด (มหาชน) ก่อตั้งปี 2519 เพื่อดำเนินธุรกิจโรงงานน้ำตาลและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับน้ำตาล โดยปี 2548 ออกหุ้นระดมทุนขายให้ประชาชนทั่วไป และจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ใช้ชื่อ KSL โดยหันมาผลิตพลังงานทดแทน เช่นพลังงานไฟฟ้าชีวมวล และขยายฐานการผลิตไปยังต่างประเทศ คือ ลาว และกัมพูชา จุดเริ่มต้นของโครงการนี้นับมาจากบริษัทน้ำตาลขอนแก่น จำกัด (มหาชน) (KSL) โดยนายจำรูญ ชินธรรมมิตร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท น้ำตาลขอนแก่นฯ ทำหนังสือชี้แจงต่อกรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2549 เรื่องการลงทุนโครงการเพาะปลูกอ้อยและจัดตั้งโรงงานน้ำตาลในประเทศกัมพูชา ว่าบริษัทน้ำตาลขอนแก่นฯ และบริษัทย่อยจะจัดตั้งบริษัทร่วมทุนในกัมพูชาเพื่อขอใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานน้ำตาล และขอพื้นที่สัมปทานเพาะปลูกอ้อย จำนวน 20,000 เฮกแตร์ (125,000 ไร่) ที่จังหวัดเกาะกง ประเทศกัมพูชา โดยเงินลงทุนประมาณ 2,000 ล้านบาท น้ำตาลที่ผลิตได้ จะเป็นโควตาพิเศษ EBA (Every Things but … Continue reading โครงการสัมปทานที่ดินทางเศรษฐกิจเกาะกง: กรณีไร่อ้อยและโรงงานน้ำตาล บริษัทน้ำตาลขอนแก่น จำกัด (มหาชน)

การลงทุนข้ามพรมแดนนอกเงาความรับผิดชอบของรัฐ กรณีเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำปากแบง

โดย ชนาง อำภารักษ์ สืบเนื่องจากแผนในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศลาวคือการส่งออกไฟฟ้าจากเขื่อน โดยเฉพาะเขื่อนบนแม่น้ำโขง เพื่อส่งออกกระแสไฟฟ้าให้ได้มากขึ้น ซึ่งคู่ค้าหลักที่รับซื้อไฟฟ้าของประเทศลาวคือประเทศไทย ทำให้แม้กรณีพิพาทของเขื่อนที่สร้างไปแล้วคือ เขื่อนไซยะบุรี และเขื่อนดอนสะโฮง ยังดำเนินอยู่ไม่จบสิ้น แต่รัฐบาลลาวก็ยืนยันที่จะสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำแห่งต่อไป นั่นคือโครงการเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำปากแบง (Pak Bang Dam) โดยทางการลาวได้เซ็นบันทึกความเข้าใจกับ กลุ่มบริษัท ต้าถังโอเวอร์ซีส์อินเวสต์เม้นต์ (Datang Overseas Investment) ในเดือน สิงหาคม 2550 เพื่อให้เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างโครงการเขื่อนปากแบง และ เริ่มทำการศึกษาตั้งแต่นั้น ผลการสำรวจศึกษาเบื้องต้นได้รับอนุมัติจากรัฐบาลลาวในเดือน มกราคม 2557 อายุสัมปทาน 30 ปี รวมทั้งระยะเวลาของการก่อสร้างโครงการ และมีบริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หรือ เอ็กโก กรุ๊ป บริษัทลูกของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยร่วมลงทุนด้วย[1] โดยจากเวทีแถลงข่าวผลการดำเนินธุรกิจปี 2558 ของ เอ็กโก เมื่อวันที่ 8 มี.ค. 2559 ระบุถึงสัดส่วนการร่วมทุนว่า บริษัท ต้าถัง อินเตอร์เนชั่นแนล … Continue reading การลงทุนข้ามพรมแดนนอกเงาความรับผิดชอบของรัฐ กรณีเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำปากแบง

เหมืองแร่ดีบุกเฮงดา: เหมืองดีบุกขนาดใหญ่ใต้เงาการลงทุนของนักธุรกิจไทย

ธีระชัย ศาลเจริญกิจถาวร           เหมืองเฮงดา (Heinda Mine) เป็นเหมืองแร่ดีบุกขนาดใหญ่และมีอายุเก่าแก่ ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองทวายราว 45 กิโลเมตร มีพื้นที่สัมปทานประมาณ 5000 ไร่ หรือราว 2097 เอเคอร์ ตั้งอยู่ในเขตลุ่มน้ำตะนาว-ศรีตอนบน ในเมืองมยิตตา (Myitta) แคว้นตะนาวศรี ทางภาคใต้ของประเทศเมียนมา อยู่ห่างจากหมู่บ้านเมียวพิว (Myaung Pyo) ไปประมาณ 2 กิโลเมตร โดยหมู่บ้านดังกล่าวเป็นหมู่บ้านที่อยู่ใกล้เหมืองและได้รับผลกระทบจากเหมืองมากที่สุด        หมู่บ้านเมียวพิว ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่อยู่ใกล้เหมืองเฮงดามากที่สุดนั้น มีประชากรราว 500 คน มีจำนวนครัวเรือนราว 100 ครัวเรือน ชาวบ้านที่นี่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ทวายที่มีอัตลักษณ์ทางภาษาและวัฒนธรรมเป็นของตนเอง ซึ่งชาวบ้านที่นี่ไม่ได้จัดให้ตนเองเป็นคนกลุ่มย่อยของชาวพม่าดังที่ทางการเมียนมาจัดกลุ่มไว้         ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรเป็นหลัก เช่น ทำสวนทุเรียน หมาก มะพร้าว มะม่วงหิมพานต์ … Continue reading เหมืองแร่ดีบุกเฮงดา: เหมืองดีบุกขนาดใหญ่ใต้เงาการลงทุนของนักธุรกิจไทย

รายงานสรุปการประชุมการติดตามผลการดำเนินงาน ตามมติคณะรัฐมนตรีว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนจากการลงทุนข้ามพรมแดนของไทย อันเกี่ยวเนื่องจากข้อเสนอแนะของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

วันที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๖๐ ระหว่างเวลา ๐๘.๓๐ – ๑๒.๓๐ น. ณ ห้องประชุม ๗๐๙ ชั้น ๗ สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ[1] เริ่มประชุมเวลา ๐๙.๐๐ น. เตือนใจ ดีเทศน์ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และประธานอนุกรรมการด้านสิทธิชุมชน และฐานทรัพยากร คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ในฐานประธานการประชุม กล่าวเปิดและแนะนำการประชุม โดยมีความเป็นมาจากการติดตามผลการดำเนินงานตามมติคณะรัฐมนตรีว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนจากการลงทุนข้ามพรมแดนของไทย อันเกี่ยวเนื่องจากข้อเสนอแนะของ กสม. ซึ่งเป็นการร่วมกันจัดระหว่างคณะอนุกรรมการด้านสิทธิชุมชน และฐานทรัพยากร และคณะผู้ร่วมจัด ประกอบด้วย เสมสิกขาลัย กลุ่มเสรีภาพแม่น้ำโขง และสมาคมพัฒนาทวาย และมีคณะผู้เชี่ยวชาญที่เข้าร่วม ได้แก่ สุนี ไชยรส และ สฤณี อาชวะนันทกุล และมีคณะผู้แทนหน่วยงานที่เข้าร่วมต่างๆ หลังจากนั้นประธานฯ มอบสุนี ไชยรส ดำเนินรายการ สุนี ไชยรส กสม. ชุดที่หนึ่ง (2544-2552) ผู้ดำเนินรายการ … Continue reading รายงานสรุปการประชุมการติดตามผลการดำเนินงาน ตามมติคณะรัฐมนตรีว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนจากการลงทุนข้ามพรมแดนของไทย อันเกี่ยวเนื่องจากข้อเสนอแนะของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ