โครงการวิจัยและพัฒนาชุมชนต้นแบบด้านสุขภาวะ บนฐานความมั่นคงทรัพยากรทางอาหารและทรัพยากรธรรมชาติ ในลุ่มน้ำโขง และความสามารถในการปรับตัวจากปัจจัยเสี่ยงด้านภัยพิบัติ

โครงการวิจัยและพัฒนาชุมชนต้นแบบด้านสุขภาวะ บนฐานความมั่นคงทรัพยากรทางอาหารและทรัพยากรธรรมชาติ ในลุ่มน้าโขง และความสามารถในการปรับตัวจากปัจจัยเสี่ยงด้านภัยพิบัติ ได้ดำเนินงานมาตั้งแต่เดือนมกราคม 2562 และสิ้นสุดโครงการในเดือนธันวาคม 2563 โครงการนี้ดำเนินการร่วมกับชุมชนริมแม่น้ำโขงและแม่น้ำสงครามจำนวน 22 ชุมชน (และมีคณะที่ปรึกษาในระดับจังหวัดได้ให้การสนับสนุนในกระบวนการทางาน) ภายใต้งานวิจัยเชิงปฏิบัติการที่เป็นความร่วมมือร่วมใจของทีมวิจัยชุมชนในทุก ๆ พื้นที่ โดยมีสถานการณ์ใหญ่ที่ต้องเผชิญหน้าร่วมกันคือ การเปลี่ยนแปลงของแม่น้ำโขงที่ผิดธรรมชาติและความแปรปรวนของฤดูกาล งานวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้เป็นส่วนหนึ่งการค้นหาคาตอบของโดยชุมชนเอง ในการน้ำความรู้ของชุมชน และผสานความรู้และการสนับสนุนจากภาคีต่าง ๆ มากำหนดแนวทางการปรับตัวให้สอดคล้องกับศักยภาพที่เป็นจริงของชุมชนในเวลานั้น และได้ปรากฏเป็น “แผนปฏิบัติการชุมชนต้นแบบ” ที่มีความหลากหลายไปตามแต่ละพื้นที่ ซึ่งมีชุมชนที่มีเงื่อนไขพร้อมดำเนินการตามแผนปฏิบัติการชุมชนต้นแบบต่อเนื่องในปี 2563 รวม 17 ชุมชน  การดำเนินงานตลอดระยะเวลา 2 ปีนี้ โครงการฯ ขอขอบคุณหน่วยงานที่เป็นผู้สนับสนุนหลักคือ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และ มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน นอกจากนี้ยังมีภาคีเครือข่าย ที่ได้สนับสนุนการทำงานในโอกาสต่าง ๆ ได้แก่ สมาคมเครือข่ายสภาองค์กรชุมชนลุ่มน้าโขง 7 จังหวัดภาคอีสาน, สำนักบริหารนโยบายของนายกรัฐมนตรี (สบนร.), กรมประมง, องค์การบริหารส่วนตำบลพระกลางทุ่ง อ.ธาตุพนม จ.นครพนม, องค์การบริหารส่วนตาบลป่งขาม อ.หว้านใหญ่ จ.มุกดาหาร, … Continue reading โครงการวิจัยและพัฒนาชุมชนต้นแบบด้านสุขภาวะ บนฐานความมั่นคงทรัพยากรทางอาหารและทรัพยากรธรรมชาติ ในลุ่มน้ำโขง และความสามารถในการปรับตัวจากปัจจัยเสี่ยงด้านภัยพิบัติ

PPA รีดเลือดกับปู: หนึ่งร้อยปีแห่งความโดดเดี่ยวของปูที่ต้องจ่าย

ตลอดระยะเวลาของการลงนามซื้อไฟฟ้าของไทย จากเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำบนแม่น้ำโขงในสปป.ลาว ตั้งแต่ เขื่อนไซยะยุรี, เขื่อนหลวงพระบาง และเขื่อนปากลายนั้น เกิดขึ้นท่ามกลางคำถามถึงความจำเป็นด้านพลังงานไฟฟ้าของไทย และความสูญเสียต่อระบบนิเวศแม่น้ำโขงและชุมชนลุ่มน้ำโขง เพราะทุกครั้งของการลงนาม ไทยมีไฟฟ้าสำรองในระบบเกินมาตรฐาน 15% ไปมากถึง 40-50% ประกอบกับกระบวนการตัดสินใจคัดเลือก และการเจรจาเงื่อนไขการรับซื้อไฟฟ้า จนได้มาซึ่ง “สัญญาซื้อขายไฟฟ้า” นั้น (หรือ PPA: Power Purchase Agreement) ไม่ได้อิงกฏหมายจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ไม่ได้อิงกับระเบียบว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และไม่ได้อิงกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญหมวดสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทยและหน้าที่ของรัฐ  แม้กระทั่งกลไกถ่วงดุลตรวจสอบของรัฐสภา ยังไม่สามารถเข้าถึงและตรวจสอบกระบวนการตัดสินใจหรือข้อมูลในสัญญาซื้อขายไฟฟ้านี้ได้ จึงส่งผลให้การลงนาม PPA ทั้งสามครั้งที่ผ่านมา เป็นการตัดสินใจของภาครัฐเพียงฝ่ายเดียวโดยสมบูรณ์  แม้บริษัทต่าง ๆ ของไทย จะเป็นผู้ได้รับสัมปทานก่อสร้างเขื่อนและได้เงินกู้จากธนาคารของไทย จนสามารถลงนามขายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้นั้น แต่จุดเริ่มของกระบวนการนี้นั้น บริษัททั้งหลายของไทย ไม่สามารถยื่นข้อเสนอขายไฟฟ้าให้กับ กฟผ. ได้โดยตรง ต้องอาศัยรัฐบาลสปป.ลาว เป็นผู้เสนอขายไฟฟ้า ภายใต้กรอบบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding: MOU) เรื่องความร่วมมือในการพัฒนาไฟฟ้าในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (บันทึกความเข้าใจฯ) ซึ่งมีการลงนามเป็นลำดับดังนี้ 1.  ครั้งที่หนึ่ง วันที่ 6 มิถุนายน 2536 กำหนดจำหน่ายไฟฟ้าให้ไทยในปริมาณ 1,500เมกะวัตต์  2.  ครั้งที่สอง วันที่ 19 มิถุนายน 2539 กำหนดจำหน่ายไฟฟ้าให้ไทยในปริมาณ 3,000เมกะวัตต์  3.  ครั้งที่สาม วันที่ 18 ธันวาคม 2549 กำหนดจำหน่ายไฟฟ้าให้ไทยในปริมาณ 5,000เมกะวัตต์  4. ครั้งที่สี่ วันที่ 22 ธันวาคม 2550 กำหนดจำหน่ายไฟฟ้าให้ไทยในปริมาณ 7,000 เมกะวัตต์ ต่อมามีการลงนาม PPA ซื้อไฟฟ้าจากเขื่อนไซยะยุรี ในวันที่ 29 ตุลาคม 2554 และเริ่มจ่ายไฟฟ้าให้ไทยเป็นทางการเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2562 5.  ครั้งที่ห้า วันที่ 6 กันยายน 2559 กำหนดจำหน่ายไฟฟ้าให้ไทยในปริมาณ 9,000 เมกะวัตต์ 6.  ครั้งที่หก มติคณะรัฐมนตรี … Continue reading PPA รีดเลือดกับปู: หนึ่งร้อยปีแห่งความโดดเดี่ยวของปูที่ต้องจ่าย

หนังสือประมวลประสบการณ์ชุมชนน้ำโขง

หนังสือ "ประมวลประสบการณ์ กระบวนการฟื้นฟูตามธรรมชาติ การฟื้นฟูนิเวศและทรัพยากรประมง ของชุมชนลุ่มน้ำโขง" เกิดขึ้นได้ท่ามกลางวิกฤติปัญหาความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศแม่น้ำโขง หลายชุมชนได้นำเสนอปัญหาและเรียกร้องให้ทั้งหน่วยงานภายในประเทศและภูมิภาค เข้ามาแก้ไขปัญหาในเชิงนโยบาย เพื่อยุติการสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ และการเยียวยาผลกระทบที่เกิดขึ้นกับชุมชนและระบบนิเวศ อย่างไรก็ตามการแก้ปัญหาเชิงนโยบายระหว่างประเทศยังคงทำได้ยาก  เนื่องจากเป็นผลมาจากการบริหารจัดการน้ำในเขื่อนของจีน และสปป.ลาว ดังนั้นควบคู่กับวิกฤติการณ์นี้ ชุมชนจึงดำเนินการอย่างเต็มที่เท่าที่ศักยภาพจะเอื้ออำนวย เพื่อให้สามารถรักษาและฟื้นฟูระบบนิเวศแม่น้ำโขงไว้ให้ได้ และเพื่อเป็นต้นแบบในการดูแลและใช้ชีวิตร่วมไปกับความหลากหลายทางชีวภาพ ทั้งด้านพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ และด้านความมั่นคงทางอาหาร เพื่อให้คนในชุมชนได้ประโยชน์ร่วมกันดังที่เคยเป็นมา ด้วยภูมิปัญญา วิถีชีวิต และความใกล้ชิตกับแม่น้ำโขงทุกลมหายใจเข้าออก ชุมชนจึงสังเกตเห็นถึงรูปแบบเฉพาะตัวในการเกิดใหม่ของกล้าไม้ธรรมชาติ เช่น ต้นอ่อนไคร้น้ำ, ไคร้นุ่น เกิดบริเวณแนวตลิ่งในระดับต่ำ และบริเวณรอบบุ่ง ซึ่งเป็นผลจากการขยายพันธุ์ตามธรรมชาติของพันธุ์ไม้ต่าง ๆ ที่เมล็ดได้ลอยตามน้ำมาเกิดขึ้นในพื้นที่ที่เหมาะแก่การเจริญเติบโต ซึ่งขณะเดียวกับในห้วงเวลาที่ระบบนิเวศโดยรวมเกิดวิกฤต นิเวศของแม่น้ำโขงทั้งสายก็ได้มีกระบวนการฟื้นฟูตัวเองตามธรรมชาติอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ ปรากฏการณ์นี้เป็นจุดตั้งต้นให้ชุมชนเห็นร่วมกันว่า ชุมชนสามารถเป็นตัวแปรหนึ่งในนิเวศที่ช่วยคงกระบวนการเยียวยาตามธรรมชาตินี้ไว้ได้ เพื่อช่วยรักษาและเติมเต็มระบบนิเวศให้กลับมาสมบูรณ์เท่าที่จะทำได้อีกครั้ง การทำงานหนักของชุมชนดังกล่าวจึงเกิดขึ้นเป็นหนังสือประมวลประสบการณ์เล่มนี้ ที่ชุมชนได้ดำเนินกิจกรรมฟื้นฟูและรักษาระบบนิเวศมีทั้งชุมชนในแม่น้ำโขงสายหลักและลำน้ำสาขา แบ่งเป็น 2 กิจกรรมใหญ่ คือ  1. การฟื้นฟูระบบนิเวศ เช่น การปล่อยลูกปลา การปลูกกล้าไม้ท้องถิ่น ฯลฯ  ชุมชนย้ายกล้าไม้ธรรมชาติมาปลูกริมหนองขา พื้นที่บ้านสามผง จ.นครพนม สร้างและเติมแหล่งอาหารอาหารจากวัสดุธรรมชาติ เช่นแพลงตอน … Continue reading หนังสือประมวลประสบการณ์ชุมชนน้ำโขง

Photography book “The Mekong Harmony”

The Mekong Harmony began with our desire to show the beauty of the Mekong River, an international river covering a distance of thousands kilometres. It has been in our minds for a long time. Embraced by the river, mountains and cliffs, the spectacular landscape always left us in awe. And as we listened and observed … Continue reading Photography book “The Mekong Harmony”

รายงานการศึกษา ย้อนรอยโขงใส ไร้ตะกอน

“ตะกอนแขวนลอยในแม่น้ำโขงทั้งสายหายไปเฉย ๆ ได้อย่างไร ?” ทั้งที่เมื่อแม่น้ำโขงไหลเข้าสู่ประเทศไทยที่อำเภอเชียงแสนยังมีความขุ่นมากจากตะกอนแขวนลอย แต่หลังจากที่ไหลเข้าสู่ประเทศลาวที่แก่งผาได อำเภอเวียงแก่น และไหลกลับสู่ชายแดนไทย-ลาวอีกครั้ง ที่อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลยนั้น น้ำโขงกลับใส ไร้ตะกอนเกือบจะโดยสิ้นเชิง หน่วยงานทั้งในประเทศไทย และองค์กรระดับภูมิภาค ที่รับผิดชอบโดยตรง ดูจะไม่อินังขังขอบ กับปรากฏการณ์นี้และผลกระทบต่อระบบนิเวศและชุมชนเท่าใดนัก เพราะยังคงกล่าวอ้างผลการศึกษาว่าน้ำโขงมีคุณภาพตามเกณฑ์ในระดับดีมาก ดังนั้น “ตะกอนแขวนลอยในแม่น้ำโขงทั้งสายหายไปเฉย ๆ ได้อย่างไร” จึงเป็นคำถามตั้งต้นของการพิสูจน์ปรากฏการที่ไม่ธรรมชาติ ของภาวะน้ำโขงใสไร้ตะกอน ด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์ที่ตรงไปตรงมาโดยประชาชนในพื้นที่ริมแม่น้ำโขง ทั้งหมด 6 จุด ร่วมไปกับการประยุกต์ข้อมูลที่วิเคราะห์มาจากรายงานของกรมทรัพยากรน้ำ และสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ คือ “โครงการศึกษาและติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดนจากโครงการไฟฟ้าพลังน้ำในแม่น้ำโขงสายประธาน”  จากหลักฐานเชิงประจักษ์ก่อนหน้านี้ ทั้งจากภาพถ่าย การสังเกตอย่างต่อเนื่องของคนในพื้นที่ และปรากฏการณ์ที่ผิดปกติของแม่น้ำ จึงเป็นเรื่องที่ปฏิเสธไม่ได้ว่า การเปิดใช้งานเขื่อนไซยะบุรีอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2562 ที่ผ่านมา ซึ่งตั้งบนแม่น้ำโขงในแขวงไซยะบุรี ช่วงที่แม่น้ำโขงไหลเข้าสู่ประเทศลาว และห่างจากชายแดนไทยเหนืออำเภอเชียงคานประมาณ 200 กิโลเมตร ซึ่งเป็นช่วงเวลาของการเริ่มต้นฤดูหนาวของปี เป็นเหตุให้เกิดปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และเกิดขึ้นในทันทีหลังการเปิดใช้งานเขื่อนไซยะบุรี คือ ปรากฏการณ์น้ำโขงใสไร้ตะกอน และการแพร่ระบาดของสาหร่ายในแม่น้ำโขงตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2562 ซึ่งพบได้ตลอดแนวแม่น้ำโขงที่เป็นพรมแดนไทย-ลาว … Continue reading รายงานการศึกษา ย้อนรอยโขงใส ไร้ตะกอน

Situation Report on the Mekong River in 2020

“From the Beginning to the End of the Year:Sediment-starved Mekong and the Algae Bloom” On 29 October 2019, the Xayaburi dam began its operation. It was also the beginning of unprecedented changes in the Mekong river ecosystems: the sediment-starved Mekong. Between November 2019 and April 2020, the section of the Mekong, downstream of the dam, … Continue reading Situation Report on the Mekong River in 2020

27 ปีของเกมการเมืองแม่น้ำโขง

กับดักสงครามระหว่างจีนและอเมริกาในวันที่บาดแผลแม่น้ำโขงยังเรื้อรัง————————————————————————————— คงไม่มีช่วงเวลาไหนในประวัติศาสตร์อันยาวนานของสถานเอกอัครราชฑูตจีนประจำประเทศไทย ที่ต้องออกถ้อยแถลงผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อปฏิเสธข้อกล่าวหาในการเป็นต้นเหตุของการเปลี่ยนแปลงการไหลของน้ำโขงอย่างสุดขั้วในลักษณะ “ท่วมหน้าแล้ง แห้งหน้าฝน” ตั้งแต่ปี 2562 และต่อเนื่องจนถึงต้นปี 2563 จากสาเหตุที่เขื่อนจินหงลดการระบายน้ำ จนเกิดภาวะน้ำโขงแห้งมาตลอดหลายเดือนนี้ เป็นการออกถ้อยแถลงที่ “เรียกแขก” จนทำให้ “หัวบันไดไม่แห้ง” เลยทีเดียว เรียงตามช่วงวันเวลา คือ วันที่ 5 กรกฎาคม 2562, วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2563, วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2563, วันที่ 2 มีนาคม 2563 วันที่ 24, 25, 27 และ 28 เมษายน 2563 โดยสถานฑูตจีน พยายามหักล้างข้อวิจารณ์ โดยใช้วาทกรรมหลักเพื่อแก้ต่าง ดังนี้ ปริมาณน้ำจากจีนมีสัดส่วนเพียง 13.5%, การระบายน้ำเพิ่มในฤดูแล้งเพื่อการชลประทาน, การลดการระบายน้ำในหน้าฝน เพื่อลดความเสียหายจากการเกิดอุทกภัย รวมถึงการใช้วาทกรรม “เพื่อสร้างสรรค์สิ่งที่ดีงามแก่ประชาชนในภูมิภาค เพื่อความร่วมมืออันดีในอนุภูมิภาคฯ” … Continue reading 27 ปีของเกมการเมืองแม่น้ำโขง

Sound of the Wolf From the Headwaters of Lancang River

Sound of the Wolf From the Headwaters of Lancang River[1] The Chinese embassy spokespersons’s remarks on the “Mekong-related Media Report Targeting China” released on 5 July 2019 and the Mekong River Council (MRC)’s recent news release on the decreasing water flow from China’s Jinghong station on 3 July 2019 are not coincidental. They are, instead, … Continue reading Sound of the Wolf From the Headwaters of Lancang River

Mekong Birds’ Lives

Chanang Umparak Now is the end of the spawning season of the Small Pratincole (Glareola lactea) and the Little Ringed Plover (Charadrius dubius) birds migrated to live on the sand beach emerging from the water during the dry season. This will be the last round of hatching. When these chicks can toddle and learn to … Continue reading Mekong Birds’ Lives