Changes in Mekong River’s Water Level from Pak Beng Dam

Changes in Mekong River’s Water Level from Pak Beng Dam[1] The Pak Beng Dam project will build a hydropower dam that blocks the Mekong River in Laos. It is only 90 kilometers from Kaeng Pha Dai, Wiang Kaen district, Chiang Rai province. Currently, this project only anticipates its last step, the signing of the power … Continue reading Changes in Mekong River’s Water Level from Pak Beng Dam

เขื่อนจีนกับ 12 ปี แห่งการขโมยน้ำโขง: อาการหน้าไหว้หลังหลอก (两面三刀) ของคนเห็นแก่ตัว (自私自利) ของจีนต่อรัฐบาลประเทศลุ่มน้ำโขงตอนล่าง

แม่น้ำโขงต้องคำสาปทรัพยากร (Resource Curse) หรือไม่ ไม่มีใครสามารถบอกได้ แต่ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและระบบนิเวศของแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นหลักประกันความมั่นคงของสรรพชีวิตทั้งปวง และการดำรงอยู่ของชุมชนลุ่มน้ำโขงหลากหลายชาติพันธุ์มาอย่างยาวนานนั้น ได้ถูกใช้ไปในมิติใหม่ นั่นคือแปรผันความอุดมสมบูรณ์ทั้งปวงที่มีอยู่ให้กลายเป็นไฟฟ้า ผ่านสิ่งก่อสร้างที่เรียกว่า “เขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ” และทำลายหลักประกันความมั่นคงของสรรพชีวิตทั้งหลายออกไป ระยะเวลาเพียงผีเสื้อกระพือปีกของประวัติศาสตร์การกำเนิดเขื่อนบนแม่น้ำโขง ตั้งแต่ปี 2536 เป็นต้นมา ที่ประเทศจีนได้เริ่มสร้างและเดินเครื่องเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนแรกคือ เขื่อนม่านวาน ที่สร้างแรงกระชากต่อวัฏจักรน้ำโขงครั้งรุนแรง นั่นคือปรากฏการณ์น้ำโขงแห้ง วัดค่าได้ต่ำมากและจนถึงวัดค่าไม่ได้ ที่สถานีเชียงแสนใน 2 ช่วงเวลาคือ ระหว่างวันที่ 19-26 เมษายน ระดับน้ำโขงอยู่ระหว่าง 0.88-1.0 เมตร และ ระหว่างวันที่ 26-28 พฤษภาคม 2536 ระดับน้ำโขงอยู่ระหว่าง 0 – 0.23 เมตร ซึ่งปรากฏการณ์นี้ทั้งคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (Mekong River Commission) และประเทศลุ่มน้ำโขงตอนล่างพร้อมใจกันเรียกว่า “ภัยแล้ง” เหมือนว่าวิกฤตินี้เป็นเพียงปรากฏการณ์ทางธรรมชาติอันธรรมดาสามัญ จนถึงปัจจุบัน ประเทศจีนได้สร้างเขื่อนบนแม่น้ำโขงแล้วเสร็จจำนวน 11 เขื่อน โดยไม่เคยแสดงเจตจำนงที่จะปรึกษาหารือใด ๆ กับประเทศลุ่มน้ำโขงตอนล่าง … Continue reading เขื่อนจีนกับ 12 ปี แห่งการขโมยน้ำโขง: อาการหน้าไหว้หลังหลอก (两面三刀) ของคนเห็นแก่ตัว (自私自利) ของจีนต่อรัฐบาลประเทศลุ่มน้ำโขงตอนล่าง

เครือข่ายประชาชนลุ่มน้ำโขง ยื่นคำร้องคุ้มครองชั่วคราวต่อศาลปกครอง กรณีเขื่อนไซยะบุรี

วันที่ 26 กรกฎาคม 2562 ณ ศาลปกครองสูงสุด ถนนแจ้งวัฒนะ นางสาว ส.รัตนมณี พลกล้า นางสาวเฉลิมศรี ประเสิรฐศรี ทนายความจากมูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน ผู้รับมอบอำนาจผู้ฟ้องคดี และนายชาญณรงค์ วงศ์ลา ผู้ฟ้องคดี ตัวแทนเครือข่ายประชาชนไทย 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขง ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งกำหนดมาตรการบรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษา โดยขอให้ดำเนินการระงับ หรือชะลอการรับซื้อไฟฟ้าอันเป็นการดำเนินการตามขั้นตอนโครงการซื้อไฟฟ้าจากเขื่อนไซยะบุรี ที่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้ลงนามทำสัญญาซื้อไฟฟ้า กับบริษัทไซยะบุรี พาวเวอร์ นส.เฉลิมศรี ทนายความ กล่าวว่าคดีนี้ เกิดจากวิกฤติน้ำโขงเหือดแห้งกระทันหันในช่วงเดือนนี้ โดยเฉพาะในเขตพรมแดนไทยลาว ท้ายน้ำจากโครงการเขื่อนไซยะบุรี ทำให้ประชาชนไทยที่อาศัยในชุมชนริมโขง ในจ.เลย หนองคาย และจังหวัดภาคอีสานอื่นๆ ที่ติดลำน้ำโขงได้รับผลกระทบ โดยในคำฟ้องระบุว่า เมื่อโครงการเขื่อนไซยะบุรีสร้างเสร็จแล้วจะปล่อยน้ำไหลผ่านในแต่ละวันเท่ากับปริมาณน้ำที่ไหลเข้า โดยไม่มีการกักเก็บน้ำไว้ ดังนั้นน้ำในลุ่มน้ำโขงจะเป็นปติตลอดทั้งปี แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกลับตรงกันข้าม พบว่าืระดับน้ำท้ายน้ำจากเขื่อนลดลงอย่างกระทันทัน และส่งผลกระทบต่อ ปลา สัตว์น้ำ ระบบนิเวศ พืช และระบบประปาที่สูบน้ำโดยตรงจากแม่น้ำโขง พบว่าเมื่อมีประกาศว่ามีการดำเนินการทดลองผลิตไฟฟ้า ก็เกิดเหตุการณ์ปลาแห้งตายตามแก่ง แพสูน้ำประปาค้างริมตลิ่ง … Continue reading เครือข่ายประชาชนลุ่มน้ำโขง ยื่นคำร้องคุ้มครองชั่วคราวต่อศาลปกครอง กรณีเขื่อนไซยะบุรี

การลงทุนข้ามพรมแดนนอกเงาความรับผิดชอบของรัฐ กรณีเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำปากแบง

โดย ชนาง อำภารักษ์ สืบเนื่องจากแผนในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศลาวคือการส่งออกไฟฟ้าจากเขื่อน โดยเฉพาะเขื่อนบนแม่น้ำโขง เพื่อส่งออกกระแสไฟฟ้าให้ได้มากขึ้น ซึ่งคู่ค้าหลักที่รับซื้อไฟฟ้าของประเทศลาวคือประเทศไทย ทำให้แม้กรณีพิพาทของเขื่อนที่สร้างไปแล้วคือ เขื่อนไซยะบุรี และเขื่อนดอนสะโฮง ยังดำเนินอยู่ไม่จบสิ้น แต่รัฐบาลลาวก็ยืนยันที่จะสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำแห่งต่อไป นั่นคือโครงการเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำปากแบง (Pak Bang Dam) โดยทางการลาวได้เซ็นบันทึกความเข้าใจกับ กลุ่มบริษัท ต้าถังโอเวอร์ซีส์อินเวสต์เม้นต์ (Datang Overseas Investment) ในเดือน สิงหาคม 2550 เพื่อให้เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างโครงการเขื่อนปากแบง และ เริ่มทำการศึกษาตั้งแต่นั้น ผลการสำรวจศึกษาเบื้องต้นได้รับอนุมัติจากรัฐบาลลาวในเดือน มกราคม 2557 อายุสัมปทาน 30 ปี รวมทั้งระยะเวลาของการก่อสร้างโครงการ และมีบริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หรือ เอ็กโก กรุ๊ป บริษัทลูกของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยร่วมลงทุนด้วย[1] โดยจากเวทีแถลงข่าวผลการดำเนินธุรกิจปี 2558 ของ เอ็กโก เมื่อวันที่ 8 มี.ค. 2559 ระบุถึงสัดส่วนการร่วมทุนว่า บริษัท ต้าถัง อินเตอร์เนชั่นแนล … Continue reading การลงทุนข้ามพรมแดนนอกเงาความรับผิดชอบของรัฐ กรณีเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำปากแบง